ทำไม โดนัลด์ ทรัมป์ ถึงกลัวกลุ่ม BRICS ชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจเกิดใหม่
ภารกิจหลักของกลุ่ม ประเทศBRICS เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึง ปฏิรูประบบการเงินและการเมืองระหว่างประเทศให้สะท้อนผลประโยชน์ของเศรษฐกิจเกิดใหม่ได้ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางกำแพงภาษีสหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราของแต่ละประเทศทั่วโลก
ขณะเดียวกัน โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ขู่ว่าใครเข้าร่วมกลุ่มBRICSจะปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ขึ้นอีกประเทศละ 10%และปัจจุบันไทยหนึ่งในชาติสมาชิกร่วมการประชุมครั้งนี้ ด้วย ขณะกำแพงภาษีที่ไทยต้องเผชิญที่36% อย่างไรก็ตามตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทรัมป์จึงกลัว กลุ่มBRICS คำตอบคือหากมีการรวมกลุ่มและ ใช้เงินของตนเองเฉพาะกลุ่ม แทนดอลลาร์ จะทำให้สกลุเงินดอลลาร์เสื่อมค่าลง
ความน่าสนใจของกลุ่มกลุ่มBRICS จากการรายงานข่าวBBC ว่า เป็นการรวมกลุ่มสมาชิกที่เป็นชาติมหาอำนาจอย่าง จีนและรัสเซีย รวมทั้งอีกหลายประเทศที่ทรงอิทธิพลในแต่ละทวีป เช่น แอฟริกาใต้และบราซิล ที่น่าจับตาอินเดียที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ กลุ่มBRICSโดยไม่กลัวกำแพงภาษีสหรัฐฯ และไม่ใช้ดอลลาร์
ขณะเดียวกัน เมื่อกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งนี้มีจำนวนสมาชิกมากขึ้น จะทำให้ครอบคลุมประชากรราว 3.5 พันล้านคน หรือราว 45% ของประชากรโลกหากพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มBRICSมีมูลค่ากว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 28% ของมูลค่ารวมของเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ คือ ประเทศสมาชิกกลุ่มBRICSยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบป้อนตลาดโลกราว 44% อีกด้วย
อย่างไรก็ตามกลุ่มกลุ่มBRICS ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, แอฟริกาใต้, อียิปต์, เอธิโอเปีย, อิหร่าน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และล่าสุดคือ ซาอุดีอาระเบีย ที่มาที่ไปของสมาชิกเดิมที BRICS ย่อมาจาก 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, และจีน (BRIC) ต่อมาในปี 2010 แอฟริกาใต้เข้าร่วม ทำให้กลายเป็น BRICS
ภารกิจและเป้าหมายสำคัญของ BRICS
- การบูรณาการทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์
BRICS มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในด้านการลงทุน การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี
- การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
BRICS มีความพยายามในการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น IMF และธนาคารโลก รวมถึงการส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างระบบการเงินที่พึ่งพาตนเองมากขึ้น
- การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
การเข้าร่วม BRICS เปิดโอกาสให้ไทยขยายโอกาสในการส่งออกสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และแสวงหาโอกาสทางการลงทุนใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิก
- การสร้างระเบียบโลกใหม่
BRICS มีบทบาทในการผลักดันการสร้างระเบียบโลกใหม่ที่ให้ความสำคัญกับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น โดยครอบคลุมในหลากหลายมิติ เช่น ความมั่นคง การค้า การเงิน และการพัฒนาที่ยั่งยืน.
- การรับมือกับความท้าทายระดับโลก
BRICS มีเป้าหมายในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และการพัฒนาสังคม
สถานะล่าสุดของไทยกับ BRICS
- ประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS แล้ว และได้เข้าร่วมเป็น ประเทศหุ้นส่วน อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
- การเข้าร่วมนี้คาดว่าจะช่วยยกระดับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ กระชับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว.
ข้อควรพิจารณา
- การเข้าร่วม BRICS มีทั้ง ข้อดีและข้อท้าทาย ที่ไทยต้องเตรียมการและวางแผนกลยุทธ์เชิงรุก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วม
- การเปลี่ยนแปลงในกลุ่ม BRICS และการแบ่งขั้วอำนาจในโลกเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด