โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

'ม.โคลัมเบีย' ลงโทษนศ.หนุนปาเลสไตน์เกือบ 80 คน 'ไล่ออก-พักการเรียน-ถอนปริญญา'

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐได้ออกบทลงโทษรุนแรงต่อนักศึกษาหลายสิบคนที่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการทำสงครามในกาซาของอิสราเอล ซึ่งมีทั้งการไล่ออก การพักการเรียน และการเพิกถอนปริญญา

Columbia University Apartheid Divest (CUAD) กลุ่มนักเคลื่อนไหวนักศึกษา ที่เรียกร้องให้สถาบันตัดสัมพันธ์ทางการเงินกับอิสราเอลทั้งหมด ระบุในแถลงว่า มีนักเรียนนักศึกษาเกือบ 80 คน ที่ถูกไล่ออกและพักการเรียนสูงสุด 3 ปี เนื่องจากพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อต้านสงคราม

เมื่อวันอังคาร (22 ก.ค.) โคลัมเบียระบุในแถลงว่า บทลงโทษล่าสุดมีผลต่อนักศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับการประท้วงในห้องมสมุดบัตเลอร์ของสถาบัน เมื่อเดือน พ.ค. และการตั้งค่ายประท้วงในช่วงงานรวมศิษย์เก่าในฤดูใบไม้ผลิปี 2567

“การประท้วงที่ทำให้กิจกรรมทางวิชาการหยุดชะงัก ละเมิดต่อนโยบายมหาวิทยาลัยและกฎระเบียบ และการละเมิดดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดผลตามมาอย่างแน่นอน” สถาบันระบุในแถลง

ด้านกลุ่ม CUAD กล่าวว่า บทลงโทษที่มหาวิทยาลัยกำหนดต่อนักศึกษาล่าสุดนั้นแรงกว่าที่สถาบันเคยลงโทษนักศึกษาที่จัดการประท้วงแบบ teach-ins หรือการยึดอาคาร ในกรณีประท้วงเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับปาเลสไตน์

“เราจะไม่ย่อท้อ เรามุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์” กลุ่มกล่าวเสริม

ทั้งนี้ คณะกรรมการตุลาการของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ยืนยัน ได้ออกบทลงโทษไล่ออก พักการเรียน และเพิกถอนปริญญา หลังจากเกิดสถานการณ์ที่สถาบันเรียกว่า การหยุดชะงักระหว่าง “ช่วงอ่านหนังสือ” อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดเผยว่ามีนักศึกษาถูกไล่ออกกี่คน แต่บอกว่านี่คือบทลงโทษชุดสุดท้ายสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

กลุ่มนักศึกษาสนับสนุนปาเลสไตน์ที่ตั้งแคมป์ประท้วงในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียปี 2567 ได้ปลุกกระแสเคลื่อนไหวต่อต้านการทำสงครามของอิสราเอลต่อปาเลสไตน์ในกาซาไปทั่วโลก

ต่อมาจุดประท้วงดังกล่าวก็สลายไปเมื่อสถาบันเปิดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กหลายร้อยคนเข้าไปในมหาวิทยาลัย และจับกุมผู้ชุมนุมหลายสิบคน

ท่ามกลางการปราบปรามการอย่างรุนแรงของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นักศึกษาผู้ประท้วงได้เข้ายึดห้องสมุดบัตเลอร์ของสถาบันในช่วงสอบปลายภาคในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาด้วย และเรียกร้องให้สถาบันถอนการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพอิสราเอล และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา

ขณะนี้มหาวิทยาลัยไอวีลีกอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อรักษาเงินทุนจากรัฐบาลกลาง 400 ล้านดอลลาร์ไว้ เนื่องจากรัฐบาลทรัมป์ยกเลิกให้เงินทุนแก่มหาวิทยาลัยในนิวยอร์กแห่งนี้ โดยอ้างว่าสถาบันไม่สามารถปกป้องนักศึกษาชาวยิวจากความรุนแรงและการคุกคามในวงกว้างได้

มหาวิทยาลัยไอวีลีกอีกแห่งอย่างฮาร์วาร์ด ที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาล และถูกตัดเงินทุนพันล้านดอลลาร์ ได้ต่อต้านแรงกดดันจากรัฐบาลที่ให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงนโยบายบางส่วน เช่น การรับนักศึกษาต่างชาติ ด้วยการฟ้องร้องรัฐบาลทรัมป์กลับ

อ้างอิง: Al Jazeera

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'สุรเดช' ยกคำ 'บิ๊กป้อม'ตอบโต้ กัมพูชา สมน้ำสมเนื้อ ทหารไทย เหยียบกับระเบิด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'ยุโรป' ตามรอยสหรัฐ ขึ้นค่าธรรมเนียมเข้าเมือง 3 เท่า! ในระบบ ETIAS

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“พาณิชย์”แจงข่าวราคามังคุด ยันมาตรการเชิงรุก ดันราคาดีดตัวสูงทะลุโลละ 100 บาทจริง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘อภิสิทธิ์’ กางสูตรผ่าทางตัน ทำ กม.ศักดิ์สิทธิ์-ฉันทามติแก้ รธน.

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

เปิดประวัติ "ฮุน ซาเรือน" ทูตกัมพูชาผู้ถูกส่งกลับบ้าน

Thai PBS

น้ำท่วมจากพายุวิภาทำให้ผู้คนหลายร้อยในเวียดนามต้องอพยพ

ไทยโพสต์

ข่าวช็อก เจ้าชายวิลเลียม-แฮร์รี สูญเสีย ลูกพี่ลูกน้อง แม่พบศพพร้อมปืน

Thaiger

อินเดียไฟเขียววีซ่าท่องเที่ยว เตรียมเปิดประตูรับชาวจีน หลังจากหยุดไปตั้งแต่ช่วงโควิด-19 และปมขัดแย้งชายแดน

THE STATES TIMES

ตำรวจจับหนุ่มส่งขึ้นศาลหลังฆ่าโหดลูกสุนัข จับฟาดกับรถจนตาย

เดลินิวส์

"ทูตกัมพูชา" สวนเดือด โพสต์แซะผู้มีอำนาจไทย 'บริหารแบบใช้อารมณ์เช่นนี้ ไม่รู้ได้กี่น้ำ'

THE ROOM 44 CHANNEL

กต.ยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา

Thai PBS

ไทยเรียกทูตกลับ สื่อกัมพูชาคาด จบความหวังการค้า 15,000 ล้านเหรียญ

Amarin TV

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...