โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลาไปดูแลหมาแมวป่วย สวัสดิการที่ควรมี หรือ‘ขอมากเกินไป’?

TODAY

อัพเดต 28 นาทีที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • workpointTODAY

ไม่ได้มีแค่ลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ลาคลอด หรือลาบวชเท่านั้น แต่ปัจจุบันหลายบริษัทยังเพิ่มวันลาพักใจกรณีคนในครอบครัวเสียชีวิต และมากไปกว่านั้นยังมีการพิจารณา ‘ลาไปดูแลสัตว์เลี้ยง’ ที่ถูกยกขึ้นมาพูดคุยท่ามกลางข้อถกเถียงที่ว่า ภาระในการดูแลสัตว์เลี้ยงที่กำลังเจ็บป่วยควรถูกนับเป็นวันหยุดด้วยหรือไม่

สังคมการทำงานอย่างในสหรัฐ ‘การลาไปดูแลสัตว์เลี้ยง’ หรือ ‘Pawternity Leave’ ยังเป็นสวัสดิการเฉพาะกลุ่ม มีผู้คนที่ร่วมกันสนับสนุน-ผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภานครนิวยอร์ก

กฎหมายนี้มีใจความสำคัญ คือ การอนุญาตให้พนักงานเอกชนในเมืองใช้วันลาเพื่อไปดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าข้อเสนอดังกล่าวผ่านมติจะถูกนำไปใช้กับคนทำงานอีกหลายล้านคน จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้างเกี่ยวกับสวัสดิการและประเภทการลาที่นายจ้างคาดว่าจะให้

ย้อนกลับไปในช่วงวิกฤติโควิด-19 การแพร่ระบาดใหญ่มีส่วนสำคัญทำให้ความนิยมในการเลี้ยงหมาแมวเพิ่มขึ้น บริษัทประกันหลายแห่งผุดไอเดียให้บริการ “ประกันสัตว์เลี้ยง” ในราคาลดพิเศษ รวมถึงยังมีบริการโทรปรึกษาสัตวแพทย์ออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ

‘The Wall Street Journal’ ให้ข้อมูลว่า ความนิยมในการเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้นทำให้หลายบริษัทในตอนนั้นเพิ่มสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสนับสนุนพนักงานที่มีสัตว์เลี้ยง แต่เมื่อทุกอย่างกลับสู่ความปกติ หลายแห่งเริ่มปรับลดสวัสดิการต่างๆ ลง รวมไปถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงด้วย

‘MetLife’ บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ในอเมริกาทำการสำรวจบริษัทกว่า 2,500 แห่ง พบว่า จำนวนนายจ้างที่เสนอประกันสัตว์เลี้ยงให้กับพนักงานลดลงจาก 16% เหลือ 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เหตุผลเพราะบริษัทกำลังหาทางลดต้นทุนด้วยวิธีการต่างๆ สวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงถือเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่นายจ้างเลือกหั่นทิ้ง

บริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในอเมริกาให้ความเห็นในประเด็นนี้ไว้ว่า ในฐานะนายจ้างมองว่า สำคัญที่สุดคือการดูแลพนักงานให้ดี หลายที่ยังไม่มีสวัสดิการครอบคลุมคนทำงานด้วยซ้ำไป บางแห่งลาป่วยยังหักค่าจ้างก็มี การผลักดันร่างกฎหมายนี้จึงต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะมีส่วนทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการของบริษัทสูงขึ้นแน่นอน

ผลสำรวจจาก ‘Pew Research Center’ บอกว่า เกือบ 2 ใน 3 ของชาวอเมริกันมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเอง และเจ้าของสัตว์เลี้ยงกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่า หมาแมวก็เป็นเหมือนคนในครอบครัว สำคัญพอๆ กับสมาชิกที่เป็นมนุษย์ สอดคล้องกับสัดส่วนเด็กเกิดใหม่และจำนวนเด็กเล็กในครัวเรือนที่ลดลงเรื่อยๆ จาก 48% ในปี 2543 เหลือเพียง 39% ในปี 2566

จริงๆ ก่อนจะมีร่างกฎหมายนี้ บางบริษัทที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยงของพนักงานได้เริ่มออกนโยบายสนับสนุนไปบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ‘9Sail’ บริษัทด้านการตลาดในนิวยอร์กมีวันหยุด 2 วัน เพื่อให้พนักงานได้ดูแลสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ให้เวลาหมาแมวปรับตัวกับที่อยู่อาศัยได้ดีขึ้น ซึ่งเร็วๆ นี้กำลังพิจารณาเพิ่มเป็น 3 วันด้วย

เรื่องนี้ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป ส่วนในไทยพบว่า มี ‘บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด’ มีสวัสดิการลาไปดูแลครอบครัว คนรัก หรือสัตว์เลี้ยงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสูงสุดมากถึง 10 วันต่อปี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TODAY

10 ปี คืนชีวิต ‘คลองขนมจีน’ จ.อยุธยา ผ่านโครงการยั่งยืน ‘เนสท์เล่ น้ำรักษ์น้ำ’

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วีซ่า ชวนแฟนเกมชาวไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลุกประสบการณ์เกมมิ่งสุดยิ่งใหญ่ที่งาน HoYo FEST 2025

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

พาส่อง 9 กล้องสุดร้อนแรงเปิดตัวใหม่กระแสแรงในปี 2024

Ladyissue Magazine

เปิดรายงาน Google ปีที่ 10 ทุ่มซื้อพลังงานสะอาดทุบสถิติ เร่งใช้ AI ลดคาร์บอน

กรุงเทพธุรกิจ

ATLAS คัมแบ็กด้วยซิงเกิลใหม่ ตลกร้าย (Bad Comedy) ที่มีอ๊ะอาย 4EVE มาร่วมแสดงใน MV

THE STANDARD

‘นมข้นหวาน’ การต่อสู้กับเชื้อโรค วิกฤตนมปลอม และพลังใจในสงครามกลางเมือง

Capital

เพราะเส้นชัยคือไป Formula 1 คุยกับ ‘เติ้น ทัศนพล’ ถึงชีวิตหลังพวงมาลัย ใต้หมวกกันน็อก

The MATTER

‘อร่อยฉลองเทศกาลไหว้จันทร์ ที่ สินธร เคมปินสกี้’

GM Live

ข่าวและบทความยอดนิยม

แฉบริษัท 40% สร้าง ‘งานผี’ เปิดรับสมัครงานปลอม แต่รับไม่จริง

TODAY

บอกให้วิ่งไล่ตาม ‘ความฝัน’ คือคำแนะนำในการทำงานที่เลวร้ายที่สุด

TODAY

หนึ่งใน ‘กฎทอง’ หัวหน้าที่ดี จากหนังสือ Eat Sleep Work Repeat คือ “อย่าเข้าไปยุ่งมาก”

TODAY
ดูเพิ่ม
Loading...