กต.ส่งหนังสือประท้วงกัมพูชาแล้ววันนี้ จี้ให้ทำตามอนุสัญญาออตตาวา
(23ก.ค.68) กระทรวงการต่างประเทศเชิญคณะทูตต่างประเทศ รับฟังสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา หลังเกิดเหตุทหารไทยเหยียบทุ่นระเบิดที่เนิน 481 ช่องบก จ.อุบลราชธานี โดยมี นางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ , พลเรือตรีสุรสันต์ คงสิริ โฆษก ศบ.ทก. (ด้านความมั่นคง) , พลเอกศักดิ์สิทธิ์ แสงชนินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) และนางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นผู้บรรยาย
นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่าการเชิญมาครั้งนี้เพื่อรับฟังสถานการณ์ปัญหาการเหยียบทุ่นระเบิดของทหาร 3 นาย และย้ำจุดยืนของไทยที่เน้นเรื่องสันติวิธี ผ่านกลไกทวิภาคี โดยยืนยันว่า ทุ่นรด่วน! มทภ.2 ยืนยัน ทหารชุดลาดตระเวน เหยียบกับระเบิด ขาขวาขาด 1 นาย ที่ช่องอานม้า จ.อุบลราชธานี โต้ทันที! ปิด 4 ด่าน ปิดปราสาทตาเมือนธม-ตาควายะเบิดใหม่ที่พบอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย พร้อมเรียกร้องให้กัมพูชาให้ความร่วมมือระดับทวิภาคี และเก็บกู้ทุ่นระเบิด โดยประเทศไทยในฐานะรัฐภาคอนุสัญญาออตจาวาได้ทำการประท้วงด้วยการอาศัยหลักฐานจากหน่วยความมั่นคงในพื้นที่
นายนิกรเดช ได้สรุปประเด็นจากการบรรยายให้ตัวแทนทูตแต่ละประเทศ มี 5 ข้อ ดังนี้
1.ยืนยันผลการตรวจสอบทุ่นระเบิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าทุ่นระเบิดที่พบไม่มีการใช้และในคลังอาวุธของประเทศไทย เป็นทุ่นระเบิดที่วางใหม่ เมื่อประมวลจากสถานที่แวดล้อม และหลักฐานพบว่าเป็นระเบิดที่ใช้สังหารบุคคลที่วางใหม่ของกัมพูชา ถือเป็นการละเมิดกฎหมายและอนุสัญญาอย่างร้ายแรง
2.รัฐบาลไทยได้แถลงการณ์ประนามอย่างรุนแรง ที่มีการใช้ทุ่นระเบิดเป็นละเมิดอธิปไตย และบูรณาภาพของประเทศไทย เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายพื้นฐานระหว่างประเทศ ที่ระบุไว้ในกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ และละเมิดพันธะอนุสัญญาออตตาวาอย่างชัดเจน
3.ด้วยหลักฐานทั้งหมดที่ได้ประมวลอย่างรัดกุมและรอบคอบจากหน่วยงานฝ่ายความมั่นคง วันนี้ทางกระทรวงต่างประเทศได้มอบหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการให้ผู่แทนเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เพื่อประท้วงว่ากัมพูชาได้ทำกาาละเมิดอธิปไตยของไทย ไม้ปฏิบัติตามอนุสัญญาออตตาวา และขอให้กัมพูชาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รับผิดชอบเยียวยาผู้เสียหาย รวมทั้งต้องเก็บกู้วัตถุระเบิดตามที่ให้อนุสัญญาไว้
4.กระทรวงต่างแระเทศ โดยผู้แทนประจำนครเจนนีวา ได้มีหนังสือถึงผู้แทนถาวรญี่ปุ่นประจำการประชุมว่าด้วนการลดอาวุธในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีวาระปัจจุบัน หรือประธานรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา โดยมีหนังสือส่งไปแล้วเมื่อเช้วันนี้ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเจนนีวา โดยมีเนื้อหาส อดคล้องกับหนังสือประท้วงของไทย เพราะไทยเป็นรัฐภาคีจึงต้องรายงานการละเมิดพันผะกนณีของกัมพูชาตามมาตรา1 ของอนุสัญญา และย้ำว่าว่าไทยต้องการใช้ไตรภาคีเพื่อดำรงไว้ตามอนุสัญญา
5.ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำจุดยืนไทย ว่าไทยยึดหลักกฎหมายการสากล ตามกฎบัตรของสหประชาชาติ ไทยพร้อมเจรจาหาทางออกกับกัมพูชาตามกระบวนการไตรภาคีที่มีอยู่
นอกจากนี้ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้เดินทางเข้าร่วมประชุมการหารือพัฒนาทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นครนิวยอร์ค ซึ่งจะได้พบผู้บริหารประเทศระดับสูง ซึ่งจะใช้โอกาสนี้ยืนยันถึงหลักการของไทยแก้ไขปัญหาสันติวิธีในระดับทวิภาคี
นอกจากนี้ นายมาริษ ยังได้พบกับรองนายกรัฐมนตรี และรัมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถานในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ หรือUNHC และพบกับรัฐมนตรีของประเทศปานามา ที่จะเป็นประธานคนต่อไป ถึงทั้ง 2 รัฐมนตรีได้เห็นพ้องกับไทยที่จะใช้กลไกทวิภาคีแก้ปัญหา หากมีการละเมิดอนุสัญญาตตาวา จำเป็นต้องแก้ไข
ในช่วงถามตอบ นายนิกรเดช ได้ตอบคำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติ หรือ T-Mac ว่ามากน้อยแค่ไหน นายนิกรเดช ยืนยันว่าไม่กระทบ เพราะยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปฏิบัติต่อเนื่องบริเวณชายแดนฝั่งไทยมาโดยตลอด เนื่องจากเราไม่เคยมีกลไกที่มีความร่วมมือกับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ อย่างเช่น เรื่องทุ่นระเบิดเป็นโปรเจ็คโมเดลที่ได้ทดลอง ดังนั้นตนเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมทำให้เกิดความตื่นตัวในฝั่งไทย
ส่วนประเด็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของไทยที่มีต่ออนุสัญญาออตตาว่านั้นมีคสามสำคัญ มากน้อยเพียงใดและหากกัมพูชาละเมิดจะมีผลอย่างไร นายนิกรเดช บอกว่า ไทยเป็นประเทศที่เป็นรัฐภาคีทำหน้าที่อย่างถี่ถ้วนสมบูรณ์มาโดยตลอดเช่นกัน และสิ่งที่เราทำวันนี้ คือ การยื่นจดหมายก็เป็นไปตาม artical หรือ มาตราที่ 1 ของอนุสัญญา ที่รัฐภาคีจำเป็นต้องรายงานหากพบเจอทุ่นระเบิดก็ต้องรายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ประเทศไทยได้ยื่นสถิติของการมีทุ่นระเบิดในครอบครองทั้งหมด ยืนยันให้เห็นการเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบ ในฐานะรัฐภาคีแล้ว ยังมีความรับผิดชอบต่อประชาคมระหว่างประเทศอย่างสูงสุด
ส่วนสถานการณ์ทางแนวชายแดนดูรุนแรง และเกิดการยั่วยุบ่อยครั้งสถานการณ์แบบนี้ จะทำให้กระทรวงการต่างประเทศ ต้องพิจารณามาตรการตอบโต้เข้มข้นกว่าการประท้วงเป็นเอกสารหรือไม่ อาทิ เรียกทูตกลับมา หรือส่งทูตกัมพูชากลับไป นายนิกรเดช ยืนยันว่า ยังไม่ถึงขั้นนั้น ในขั้นตอนนี้ได้มีการถาม-ตอบในที่บรรยายเช่นกัน เนื่องจากเราย้ำตลอดว่าเราต้องการแก้ไขปัญหาผ่านช่องทางทวิภาคี และเอกอัครราชทูต เป็นกลไกสำคัญ ที่จะเปิดช่องให้มีการหารือทวิภาคี ดังนั้นฝ่ายไทยยังไม่ได้มีการพิจารณาไปถึงจุดนั้น
สำหรับการบรรยายมีเอกอัครราชทูต อุปทูต และผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศ ประเทศ 93 ราย จาก 68 ประเทศเข้าร่วมฟัง โดยมีตัวแทนทูตที่เข้าร่วม ดังนี้ จีน รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน โคลอมเบีย ชิลี แคนาดา เยอรมัน และฝรั่งเศส
ข่าวเวิร์คพอยท์23