โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘ผัก-ผลไม้ ฟรีซดราย” มีคุณประโยชน์เหมือนเดิมไหม?

เดลินิวส์

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • เดลินิวส์
แต่ก็มีข้อควรระวังที่นักกำหนดอาหารเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน แนะกิน ‘ผัก-ผลไม้ ฟรีซดราย” อย่างไรถึงปลอดภัยไร้กังวล

วันนี้ “เดลินิวส์” นำบทความจาก โรงพยาบาลวิมุต-เทพธารินทร์ โดย “วีณา หัตถากรวิริยะ” นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร กล่าวถึง กระแสผักผลไม้กรอบที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งอร่อย รับประทานเพลิน มีคำเคลม เรื่องคุณประโยชน์มากมาย ทำให้หลายคนต่างตั้งคำถามกันว่า ผักผลไม้กรอบ มีคุณประโยชน์อยู่ครบ จริงหรือไม่ ?

โดยก่อนอื่นอยากให้ทุกคนรู้จักผักกรอบกันก่อน ผักกรอบหรือผลไม้กรอบ คือผักผลไม้ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่เรียกว่า “ฟรีซดราย” (Freeze-Dry) โดยกระบวนการถนอมอาหารรูปแบบนี้เป็นการกำจัดความชื้นออกจากอาหาร โดยมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน คือ
1. การแช่เยือกแข็ง (freezing) เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) เพื่อให้เกิดผลึกน้ำแข็ง
2. การทำให้แห้งขั้นต้น (Primary Drying) ด้วยวิธีการระเหิด ผลึกน้ำแข็งในอาหารให้กลายเป็นไอน้ำโดยไม่ผ่านความร้อน
3. การทำให้แห้งขั้นที่สอง (Secondary Drying) เมื่อการทำแห้งขั้นต้นเสร็จสมบูรณ์ น้ำแข็งจะละลายไปหมด จะมีความชื้นที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องมีการทำแห้งด้วยการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อดึงเอาความชื้นที่เหลืออยู่ออกถึงระดับความชื้นที่ปลอดภัย

โดยกระบวนการฟรีซดรายที่กล่าวไปข้างต้น ได้มีงานวิจัยที่กล่าวถึง กระบวนการ“ฟรีซดราย”กับคุณประโยชน์ของอาหารที่นำมาทำไว้ว่า กระบวนการถนอมอาหารด้วยวิธีการนี้เป็นการรักษารสชาติ กลิ่นและคุณค่าสารอาหารไว้อย่างดี เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการที่อุณหภูมิสูงเกินไป

แล้วหลายคนสงสัยว่า เราสามารถรับประทานผักผลไม้กรอบได้แทนขนมกรุบกรอบเลยได้หรือเปล่า? ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น “กระบวนการฟรีซดราย” เป็นกระบวนการที่สามารถรักษาคุณประโยชน์ได้เหมือนกับเรารับประทานผักผลไม้สด แต่หากเราตัดสินใจที่จะรับประทานก็มีข้อควรระวังที่นักกำหนดอาหารเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน

ประการที่ 1 : เลือกร้านที่ใช้กระบวนการฟรีซดราย ไม่ใช่การนำผักผลไม้ไปทอดแล้วมาอบให้กรอบ เพราะกระบวนการนี้ผ่านความร้อนปริมาณสูงทำให้ไม่เหลือคุณประโยชน์ของผักผลไม้ และยังได้ไขมันเพิ่มมาอีกด้วย
ประการที่ 2 : ปริมาณที่รับประทาน โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ในแต่ละวันควรบริโภคผักและผลไม้สด ปริมาณ 400 กรัม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ หากเทียบง่ายๆ จะเท่ากับปริมาณผักผลไม้สด 4-6 ทัพพี แต่หากนำมาแปรรูปเป็นผักผลไม้กรอบ แต่ละร้านจะมีกระบวนการผลิตทำให้แห้งและน้ำหนักเบาลงไม่เท่ากัน ควรรับประทานวันละประมาณ 40 กรัม* และดื่มน้ำให้เพียงพอ
ประการที่ 3 : เลือกผักผลไม้ที่รับประทาน ควรรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลายชนิด ถ้าเป็นผักควรเลือกเป็นผักที่ไม่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก โดยผักที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ฟักทอง มันฝรั่ง มันม่วง มันเทศ ประการสุดท้าย : เลือกผักผลไม้อบกรอบที่ไม่ใส่น้ำตาลหรือปรุงรสชาติเพิ่มเติม เพราะจะทำให้เราบริโภค น้ำตาล โซเดียมในปริมาณมากเกินไป ทางที่ดีควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากโภชนาการ เพื่อให้เราได้ทราบถึงส่วนประกอบและปริมาณที่ควรบริโภคต่อ 1 ครั้ง *คิดจากการนำผักผลไม้สด 400 กรัมมาฟรีซดรายแบบสมบูรณ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

อพยพคนออกจากอ.กันทรลักษ์ ด่วน! เหตุไม่ปลอดภัย EOD ยุติภารกิจ ถอนกำลัง

13 นาทีที่แล้ว

ส่อง 7 ผู้ว่าการสายเลือดแบงก์ชาติ รอพิสูจน์ฝีมือคนนอก ‘วิทัย รัตนากร’

15 นาทีที่แล้ว

คิวเตะสุดมัน แถมมีคู่บิ๊กแมตช์!! ศึกฟุตบอล “กรมพลศึกษา เดลินิวส์ คัพ 2025”

16 นาทีที่แล้ว

ราคาทองวันนี้ 25 ก.ค. ไม่เปลี่ยนแปลง

17 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

กัมพูชาเรียกร้องสันติ เตือนไทยหยุดละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

News In Thailand

พลังแผ่นดินพร้อมพรัก นัดใหญ่!! 27 ก.ค. เก้าโมงเช้า รวมพลอนุสาวรีย์ชัยฯ ปกป้องอธิปไตย-ไล่รัฐบาล

สยามรัฐ

“สส.สะถิระ”ห่วงสถานการณ์ชายแดนส่งกำลังใจถึงทหารแนวหน้า

INN News

เปิดโฉมทูตไทยประจำสหประชาชาติ ทัพหน้าสู้ปมขัดแย้งกัมพูชาในเวทีคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น

ฐานเศรษฐกิจ

รบ.สั่งผู้ว่าฯ ชายแดน รวบรวมรายชื่อผู้เสียชีวิต-บาดเจ็บ

INN News

“กกพ.”สั่ง ดูแลไฟฟ้าในพื้นที่พิพาทไทย-กัมพูชาเต็มกำลัง

INN News

ข่าวและบทความยอดนิยม

5 จังหวัดภาคเหนือ-กลางระวังฝนตกหนัก ‘กทม.’ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่

เดลินิวส์

วิกฤติ! น้ำทะลักเข้าท่วมรพ.น่าน เร่งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักไปพื้นที่ปลอดภัย

เดลินิวส์

จาก ‘กากกาแฟ’ สู่ ‘อิฐยั่งยืน’ตามเทรนด์ Second Life ตอบโจทย์ SDG

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม