โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บีโอไอ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “พันธมิตรห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ” ฝ่าวิกฤตภาษีทรัมป์

Khaosod

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บีโอไอ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “พันธมิตรห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ” ฝ่าวิกฤตภาษีทรัมป์

14 ก.ค. 68 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผย ถึงแนวทางรับมือมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่อาจกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในไทย ที่งานเสวนาโต๊ะกลม “กรุงเทพธุรกิจ Roundtable: The Art of (Re)Deal” ว่า แม้ประเทศไทยจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯกำหนดเพดานภาษีสูงถึง 36% ภายใต้แนวทาง “Reciprocal Tariffs” ตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา แต่ยังมีแนวทางรองรับและผลักดันให้ไทยเป็นพันธมิตรห่วงโซ่อุปทานกับสหรัฐได้อย่างแข็งแกร่ง

มาตรการภาษีของสหรัฐไม่เพียงเพิ่มต้นทุนสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ แต่ยังส่งผลให้บริษัทต่างชาติเริ่มลังเลในการลงทุน เพราะนอกจากภาษีตอบโต้ ยังมีภาษีตามมาตรา 232 ซึ่งใช้กับสินค้าที่สหรัฐเห็นว่ากระทบต่อความมั่นคง เช่น อลูมิเนียม ทองแดง รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

โดยปัจจุบัน ไทยยังได้รับการยกเว้นในบางรายการ เช่น คอมพิวเตอร์ แต่ในอนาคตไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มาตรา 232 แม้จะมีผลเท่ากันทุกประเทศ ไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบโดยตรง แต่เป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นชัดเจนสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้บางบริษัทหันไปพิจารณาตั้งฐานผลิตในสหรัฐแทน เพราะไม่ต้องเสียภาษี

นายนฤตม์ กล่าวว่า ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการส่งออกชิป AI ของสหรัฐฯ แต่ย้ำว่า “ภาษีไม่ใช่ปัจจัยเดียว” ในการตัดสินใจลงทุน เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่ไทยยังได้เปรียบในระดับภูมิภาค ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แรงงานฝีมือ และสิทธิประโยชน์จากรัฐ

อีกปัจจัยสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อการลงทุนคือ Global Minimum Tax ที่กำหนดให้เก็บภาษีขั้นต่ำทั่วโลก 15% ซึ่งไทยเตรียมออกกฎหมายรองรับในรูปแบบ “พ.ร.บ.ภาษีส่วนเพิ่ม” พร้อมแก้กฎหมายบีโอไอเพื่อเพิ่มเครดิตภาษี ลดภาระผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ

นายนฤตม์ กล่าวว่า จากนี้บีโอไอจึงต้องกำหนดทิศทางใหม่ให้ไทยเป็น “พันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ” มากขึ้น ทั้งดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐ และสนับสนุนให้ไทยไปลงทุนในสหรัฐ เป้าหมายคือทำให้ไทยกลายเป็นฐานผลิตและวิจัยของบริษัทสหรัฐในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

1.เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ไทยมีศักยภาพด้านการประกอบและทดสอบ รวมถึงการผลิตฮาร์ดดิสก์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ 2.ดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มุ่งสู่การเป็นศูนย์ข้อมูล ระดับ ไฮเปอร์สเกล (Hyperscale)และบริการคราวน์ (Cloud)มาตรฐานสากล 3.ยานยนต์ ทั้งรถยนต์ของสหรัฐฯ (Ford) และ Big Bike อย่าง Harley-Davidson ซึ่งมีการลงทุนในไทยอยู่แล้วและมีแผนอัปเกรดไปสู่ EV รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ 4.ไบโอเทคโนโลยี ผสานเทคโนโลยีจากสหรัฐกับวัตถุดิบเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของไทย 5.การเป็นศูนย์ธุรกิจระดับภูมิภาค ดึงดูดให้บริษัทสหรัฐมาตั้งสำนักงานใหญ่หรือศูนย์วิจัยในไทย

นายนฤตม์ กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของสหรัฐฯในไทยมีถึง 135 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 150,000 ล้านบาท และหากรวมบริษัทสหรัฐที่ลงทุนผ่านสิงคโปร์ผ่านสิงคโปร์ จะมากกว่า 200,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ยานยนต์ และอาหาร

นายนฤตม์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญ 5 ประการที่ไทยได้เปรียบประเทศอื่นในภูมิภาค และควรใช้เป็นจุดขายในการเจรจา คือ

1. โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งน้ำ ไฟ นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ และสนามบิน

2. Supply Chain โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า 3. บุคลากร ทั้งแรงงานฝีมือ วิศวกร ช่างเทคนิค รวมถึงมาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติผ่าน Smart Visa และ Residence 4. สิทธิประโยชน์และมาตรการจากภาครัฐ ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ 5. การเข้าถึงตลาด (Market Access) ไทยมีตลาดในประเทศขนาดใหญ่เกือบ 70 ล้านคน มี FTA 17 ฉบับ ครอบคลุม 24 ประเทศ และกำลังเจรจากับ EU เกาหลี และแคนาดา

“หากไทยสามารถเจรจาให้สหรัฐใช้อัตราภาษีที่ใกล้เคียงประเทศอื่นในภูมิภาค เราก็จะยิ่งมีความได้เปรียบ เพราะ 5 ปัจจัยนี้จะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ไทยโดดเด่นในการดึงดูดการลงทุนมากที่สุดในอาเซียน” นายนฤตม์

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : บีโอไอ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “พันธมิตรห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ” ฝ่าวิกฤตภาษีทรัมป์

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
- Website : https://www.khaosod.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Khaosod

นักโภชนาการ เผย 4 ประเภทอาหาร ทานแล้วก่อให้เกิด ‘กลิ่นตัว‘ ไม่ใช่แค่กระเทียม

18 นาทีที่แล้ว

แจ็คกี้ ชาเคอลีน รอปี70 หมอดูทักแต่งแน่ พูดครั้งแรก ถูกผู้ชายมีครอบครัวมาหลอกถึง 2คน

19 นาทีที่แล้ว

อิ๊งค์ ถกภาคเอกชน ดันซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนต์ ชูมาตรการภาษี-เงินคืน จูงใจผู้ผลิต

19 นาทีที่แล้ว

วัยรุ่นสายไหมไม่จบ! ท้า 'ฟลุ๊ค ไฟต์คลับ' อีกรอบได้นะนักมวย แม้เพิ่งโดนซัดกองกับพื้น

32 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

สรุปราคาทองคำ 14 ก.ค.2568 ปิดตลาด ผันผวน 8 ครั้ง บวก 200 บาท

Thai PBS

KKP มองสงครามการค้าทรัมป์ ตั้งเก็บภาษีในอัตราสูงกับไทย มีเป้าหมายเพื่อดิสรัปซัพพลายเชนทั้งภูมิภาค จี้จุดที่จีน ห่วงลงทุนชะงัก

BTimes

20 ก.ค.นี้ K PLUS ปิดระบบ 3 ชั่วโมง

AEC10NEWs

‘วิทัย รัตนากร’ ผู้ผลิกบทบาทธนาคารออมสิน กับความสำเร็จ5ปีในการสร้าง Social Impact ช่วยคนไทย 13 ล้านชีวิตได้ไปต่อ

ไทยโพสต์

ไม่พลิกล็อก! “วิทัย” ผงาด นั่งเก้าอี้ผู้ว่า แบงก์ชาติ

อีจัน

ททท. ปรับกลยุทธ์ตลาด โฟกัส “รายได้” พุ่งเป้า 3 ล้านล้านบาท

อีจัน

BAM ร่วมปลุกพลังเสริมแกร่งธุรกิจ ด้วยแนวทาง “Resilience with Transformation”

การเงินธนาคาร

ลัคกี้ สุกี้ ย้ำจุดยืน “คุ้มค่า ไม่ตามกระแสสงครามราคา” เสิร์ฟเป็ดย่างล้วนๆ ในชื่อ “เป็ดย่างโชคดี” ไม่อั้นฟรีทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 16 – 27 กรกฎาคมนี้เท่านั้น!

Positioningmag

ข่าวและบทความยอดนิยม

อิ๊งค์ เข้าบ้านพิษณุโลก ถกความคืบหน้างานซอฟต์พาวเวอร์ ลุยยกระดับ 5 ด้าน

Khaosod

ดูดวง เปิดอันดับ ราศีครึ่งปีหลัง ชะตาขาขึ้น ได้เงินก้อน เปิดทางคนรวย พ้นเคราะห์เก่าๆ

Khaosod

บีโอไอ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “พันธมิตรห่วงโซ่อุปทานสหรัฐ” ฝ่าวิกฤตภาษีทรัมป์

Khaosod
ดูเพิ่ม
Loading...