เด็กติดเกม เพิ่มความเสี่ยงเป็นคนอารมณ์ร้ายขั้นรุนแรง จริงหรือ?
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเป็นกังวลว่า หากให้ลูกเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้ลูกหมกมุ่น เก็บตัว เสียการเรียน และมีพฤติกรรมก้าวร้าวนอกจากนั้น ข้อมูลข่าวสารมากมายเกี่ยวกับ เด็กติดเกม ยังทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าการเล่นเกมจะส่งผลต่อลักษณะนิสัย ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กโมโหร้ายชอบใช้ความรุนแรง หรือนำพฤติกรรมในเกมออกมาใช้ในชีวิตจริงได้เพื่อไม่ให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวล หรือรับรู้แต่ข้อมูลด้านลบของ เด็กติดเกม มากเกินไป เราชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กกับการเล่นเกม เพื่อหาทางป้องกันและเตรียมตัวรับมือได้อย่างเหมาะสมเด็กเล็กเล่นเกมต่อสู้ ยิงกัน ฟาดฟัน อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่รุนแรงได้
งานวิจัยของ Jeanne Funk Brockmyer Ph.D., ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโทเลโด พบว่า การให้เด็กเล่นเกมที่มีเนื้อหาเชิงรุนแรง รวมถึงการรับรู้ความรุนแรงผ่านสื่อต่างๆ มีความเสี่ยงที่จะให้เด็กก้าวร้าวมากขึ้น และเคยชินกับการใช้ความรุนแรงได้ แต่จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ระยะเวลาของการเล่น ประเภทของเกม บริบทความรุนแรงจากเกม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวในขณะที่สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) แนะนำให้ผู้ปกครอง กำหนดการเล่นเกม หรือการเข้าถึงสื่อที่รุนแรงของเด็กๆ อย่างเข้มงวด และต้องเลือกเกมที่เหมาะสมตามวัย หรือเกมที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงบวกให้กับลูก หากลูกเห็นเนื้อหาจากข่าวที่มีความรุนแรง อาทิ ข่าวฆาตกรรม คุณพ่อคุณแม่จะต้องอธิบายด้วยการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูกเกมอย่างเดียว ไม่ใช่สาเหตุของทุกอย่าง
Sandra L. Shullman, PhD. ประธานสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA: American Psychological Association) ระบุว่า ความรุนแรงเป็นปัญหาสังคมที่ซับซ้อน อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย แม้จะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างการเล่นเกมและพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เช่น การตะโกนด่าแต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่า การเล่นเกมเพียงอย่างเดียวจะนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการกราดยิงหรือการฆาตกรรมก็ตามปัญหาความรุนแรงจากสภาพแวดล้อมอื่นอาจเป็นสาเหตุหลัก
สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA ระบุว่า การเล่นเกมอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่ยังมีความรุนแรงอื่นๆ ที่กัดกินได้ลึกและส่งผลในระยะยาว อาทิ การกลั่นแกล้งในรูปแบบต่างๆ การข่มขู่ ตี ผลัก ดึงผม กัด คำพูดที่ดูหมิ่น ถากถาง ด้อยค่า และการทำร้ายร่างกายทางด้าน Stacey Hust และ Kathleen Rodgers จาก WSU อธิบายว่า จริงๆ ไม่จำเป็นต้องหาข้อพิสูจน์ว่า เกมคือตัวการที่ทำให้เด็กใช้ความรุนแรง และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าเศร้า เพราะทุกวันนี้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น มักเกิดจากบุคคลที่ใกล้ชิด ไม่ว่าเป็นเพื่อนในโรงเรียน คนใกล้ตัว หรือการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และสิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไปเป็นไปได้หรือไม่ว่า การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ความรู้สึกแหลกสลายจากการถูกกระทำ ครอบครัวแตกแยก การถูกปล่อยปละละเลยตั้งแต่ยังเล็ก อาจเป็นตัวการที่อยู่เบื้องหลังของความสูญเสียทั้งหมดมากกว่าเกมเสียอีกแค่ไหนถึงเรียกได้ว่า ลูกติดเกม
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เพิ่มอาการ gaming disorder หรือโรคติดเกม ลงในหนังสืออ้างอิงทางการแพทย์ฉบับปี 2018 ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยในเชิงจิตเวช ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับการใช้สารเสพติดและเสพติดการพนัน ยิ่งเล่นยิ่งหมกมุ่น นานวันเข้าก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแต่การจะตัดสินว่าลูกมีอาการของโรคติดเกมหรือไม่ จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์อาการตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น คิดถึงการเล่นเกมตลอดเวลา หมกหมุ่น รู้สึกแย่เมื่อไม่ได้เล่น ใช้เวลาเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ เลิกเล่นไม่ได้หรือเลิกยาก ไม่อยากทำที่เคยชอบ มีปัญหากับเพื่อน โรงเรียน ที่บ้าน จากการเล่นเกม เช่น ขโมยเงิน โกหก และเมื่อถูกบังคับให้เลิกเล่นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างรุนแรง ทำร้ายพ่อแม่ ทำลายข้าวของ หรือทำร้ายตัวเอง ต่างจากเด็กเล่นเกมเพื่อความผ่อนคลายทั่วไป หรือเล่นเพื่อหารายได้เป็นอาชีพ เพราะคนกลุ่มนี้ ยังคงใช้ชีวิตปกติได้ หากเป็นเด็ก ก็ยังคงมีเวลาออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ได้อ่านบทความ: 4 กฎดีๆ ที่จะช่วยให้ลูกไม่ติดเกมได้โดยไม่ต้องเอ่ยปากห้ามอ้างอิง929nin.compubmedcommonsensemedia.orgmagazine.wsu.edupsychiatry.org