โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ภูมิภาค

ยูเนสโกลงพื้นที่สตูล ประเมินซ้ำ “อุทยานธรณีโลก” เจาะลึกความยั่งยืนชุมชน – การศึกษา – อัตลักษณ์ท้องถิ่น

สยามรัฐ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สตูล//ยูเนสโกลงพื้นที่สตูล ประเมินซ้ำ “อุทยานธรณีโลก” เจาะลึกความยั่งยืนชุมชน – การศึกษา – อัตลักษณ์ท้องถิ่น

จังหวัดสตูล – วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 คณะผู้ประเมินจากองค์การยูเนสโก (UNESCO Global Geopark Revalidation Mission) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.เมก้า ฟาตีมะห์ โรซานา จากอินโดนีเซีย และมิสเตอร์ เฟอร์รัน คลีเมนต์ คอสตา จากสเปน ลงพื้นที่จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินภารกิจการประเมินซ้ำ “อุทยานธรณีโลกสตูล” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15–19 กรกฎาคม 2568 ท่ามกลางความร่วมมือของชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เดินหน้าสร้างพลังขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน

หนึ่งในจุดเน้นสำคัญที่สร้างความประทับใจแก่คณะผู้ประเมินคือ วิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติก อำเภอละงู ซึ่งเป็นตัวอย่างของ “Geopark Product” ที่เติบโตจากร้านค้าท้องถิ่นเล็ก ๆ สู่ศูนย์เรียนรู้ระดับประเทศ ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และการสนับสนุนจากกระทรวง อว. วิสาหกิจแห่งนี้ได้ผลิตผ้าบาติกเชิงสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับเรื่องเล่าทางธรณีวิทยา นำลวดลายของแหล่งหิน ฟอสซิล และอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาออกแบบเป็นลายผ้า ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เพียงมีคุณค่าด้านเศรษฐกิจ แต่ยังกลายเป็นเครื่องมือเล่าเรื่องราวทางภูมิศาสตร์อย่างร่วมสมัย

ขณะที่ด้าน “การศึกษา” เป็นอีกมิติที่ยูเนสโกให้ความสนใจ โดยเฉพาะ “โรงเรียนกำแพงวิทยา” ซึ่งนำเสนอหลักสูตรอุทยานธรณีแบบบูรณาการ ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Interdisciplinary Learning) นักเรียนได้ฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กับทักษะการเป็นมัคคุเทศก์น้อย สร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างธรณีวิทยา ระบบนิเวศ และวิถีชีวิต ผ่านกิจกรรมลงพื้นที่จริง เสริมความเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานด้านการศึกษาทุกระดับร่วมผลักดัน “Geo-Education” เช่น ศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่อุทยานธรณี กิจกรรมสร้างโมเดลธรณี วิทยาศาสตร์ชุมชน และกิจกรรมเยาวชนด้านการอนุรักษ์ ทำให้เห็นชัดเจนว่าความรู้เรื่องธรณีวิทยาไม่ได้อยู่แค่ในตำรา แต่ฝังแน่นในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่

อุทยานธรณีโลกสตูล (Satun UNESCO Global Geopark) ครอบคลุมพื้นที่ 72 แหล่งธรณี กระจายใน 3 อำเภอหลัก คือ ทุ่งหว้า มะนัง และละงู รวมถึงบางส่วนของอำเภอเมืองสตูล (บริเวณอุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา) ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดตรัง พัทลุง และทะเลอันดามัน ถือเป็นแหล่งฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราว 500 ล้านปี

การประเมินซ้ำในครั้งนี้ไม่ได้ดูเพียงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังชี้วัดไปถึง “ผลประโยชน์เชิงสังคม เศรษฐกิจ และการเรียนรู้” ตามกรอบของยูเนสโกที่เน้นการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม ใช้ทรัพยากรธรณีเป็นฐานในการสร้างงาน สร้างรายได้ และปลุกจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์อย่างแท้จริง

หากสตูลสามารถรักษามาตรฐานได้ ก็จะเป็นการต่ออายุการรับรอง "อุทยานธรณีโลก" อีก 4 ปี พร้อมเสริมความมั่นคงให้กับชื่อเสียงของจังหวัดในเวทีโลก และตอกย้ำว่าพลังของ “ชุมชน–การศึกษา–นวัตกรรม” คือกุญแจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในแบบฉบับของ Satun Geopark

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

โคราช ชวนเที่ยว “วันผลไม้และของดีวังน้ำเขียว” สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวช่วงฤดูฝน

16 นาทีที่แล้ว

รัฐมนตรี "สรวงศ์" ร่วมถกภาครัฐ-เอกชนพัทยา ฟื้นฟูความเชื่อมมั่นด้านความปลอดภัย นทท.

21 นาทีที่แล้ว

"ภราดร" ลงพื้นที่หารือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จากการใช้ถนน ทางหลวงแผ่นเดินหมายเลข 309

27 นาทีที่แล้ว

แซ่บไฟลุก! "แอนโทเนีย" อวดหุ่นเป๊ะในชุดบิกินีตัวจิ๋ว

29 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความภูมิภาคอื่น ๆ

โคราช ชวนเที่ยว “วันผลไม้และของดีวังน้ำเขียว” สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวช่วงฤดูฝน

สยามรัฐ

รัฐมนตรี "สรวงศ์" ร่วมถกภาครัฐ-เอกชนพัทยา ฟื้นฟูความเชื่อมมั่นด้านความปลอดภัย นทท.

สยามรัฐ

"ภราดร" ลงพื้นที่หารือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จากการใช้ถนน ทางหลวงแผ่นเดินหมายเลข 309

สยามรัฐ

ฝ่ายความมั่งคงจันทบุรี สนธิกำลังบุกจับ 2 พี่น้องค้า-เสพยา ยึดของกลางยาบ้ากว่า 2 หมื่นเม็ด ไอซ์เกือบกิโล

สยามรัฐ

‘อ.ยางตลาด’ เดินหน้าโครงการหมู่บ้านศีล 5 เรียกศรัทธาพระพุทธศาสนาให้คนเข้าวัด

เดลินิวส์

ชาวบ้านมาบสอง - หนองใหญ่ ซอย 2 ทนกลิ่นเหม็นน้ำเน่ามากว่า 1 ปี

สยามรัฐ

"สมศักดิ์" พบเอกชนพังงา ชู "เมืองหลวงเวลเนสอันดามัน" แหล่งรายได้ใหม่ โกยปีละ 6 หมื่นล้าน

TNN ช่อง16

ปภ. ติดตามเฝ้าระวังพายุโซนร้อน “วิภา” ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือ 24 ชั่วโมง

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...