โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Gen Z Stare จ้องหน้านิ่งในที่ทำงาน ไม่ได้กวนแค่ไม่รู้จะตอบยังไง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 20 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระแสไวรัล Gen Z Stare กำลังลุกลามไปในหลายๆ ออฟฟิศ เมื่อรุ่นพี่หรือหัวหน้าในที่ทำงานกำลังเจอพฤติกรรมแปลกๆ ของพนักงานรุ่นใหม่ บางครั้งเมื่อถามคำถามอะไรไป กลับไม่ได้รับคำตอบ รุ่นน้อง Gen Z เอาแต่จ้องหน้านิ่ง ด้วยมีแววตานิ่งเฉย ไร้อารมณ์ ไม่ตอบโต้อะไรเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ควรมีปฏิกิริยาตอบโต้

พฤติกรรมดังกล่าวกำลังเป็นกระแสในโลกโซเชียลตอนนี้ภายใต้ชื่อว่า “สายตาจ้องนิ่งของ Gen Z (Gen Z Stare)” โดยลักษณะเด่นคือ จ้องมองคนถามด้วยสายตาเรียบเฉย ไม่มีอารมณ์เหมือนไม่สนใจ หรือ “เหม่อลอย” จนหลายคนอดตีความไม่ได้ว่า พวกเขา “ไม่สนใจงาน” “หยาบคาย” หรือ “หยิ่งใส่คนอื่น”

เนื่องจากมีวัยทำงานรุ่นใหญ่หลายคนเคยพบเจอสถานการณ์แบบนี้ แล้วแชร์เรื่องราวผ่านโลกออนไลน์ บางคนยืนยันว่า พฤติกรรม Gen Z stare มักเกิดเมื่อคนรุ่นใหม่เจอคำถามที่รู้สึกว่า "น่าจะโง่" สำหรับพวกเขา เช่น ลูกค้าถามคำที่คำตอบชัดเจน กลายเป็นนิ่งเพราะรู้สึกทนไม่ไหว แต่นั่นจะเป็นการใส่ร้ายมากเกินไปหรือไม่ ?

แต่สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ พวกเขามองว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ท่าทางที่ดูเฉยชา” แต่เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนช่องว่างระหว่างวัยในที่ทำงาน และการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมการทำงานอย่างลึกซึ้ง

“Gen Z Stare” คืออะไร? คนรุ่นใหม่-คนรุ่นก่อน ให้คำตอบต่างกัน

ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางบน TikTok และชาวเน็ตก็เริ่มตั้งชื่อให้กับพฤติกรรมนี้ว่า “Gen Z Stare” ซึ่งหมายถึง สายตาว่างเปล่า เฉยเมย ที่คน Gen Z มักแสดงออกในสถานการณ์ทางสังคม เช่น เวลาถูกถามในห้องเรียน การรับบริการในร้านอาหาร หรือแม้แต่ในการประชุมในที่ทำงาน

เจสสิกา แมดดอกซ์ (Jessica Maddox) อาจารย์สาขาหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยแอละแบมา ในสหรัฐอเมริกาเล่าว่า เธอเคยต้อง “อ้อนวอน” ให้ลูกศิษย์ตอบคำถาม เพราะมักเจอแต่สายตานิ่งๆ ที่ไร้ปฏิกิริยา เธอยอมรับว่า พอได้ยินคำว่า “Gen Z Stare” ก็รู้ทันทีว่านี่คือสิ่งที่เธอเผชิญอยู่ทุกวัน

บางคนมองว่าเป็นเพราะ Gen Z “เบื่อ” หรือ “ไม่อยากตอบคำถามโง่ๆ” ขณะที่คนรุ่นใหม่หลายคนใน TikTok กลับมีคำอธิบายแตกต่างออกไปว่า “เราไม่ได้ขาดทักษะทางสังคมหรอก เราแค่ไม่สนใจจะตอบคำถามที่ไม่จำเป็นเท่านั้นเอง”

เบื้องหลังพฤติกรรม 'จ้องหน้านิ่ง' อาจลึกซึ้งกว่าที่คิด

แม้รุ่นพี่ที่ทำงานหลายคนจะรีบตัดสินว่า สายตาเฉยเมยของชาว Gen Z คือสัญญาณของการขาดความสนใจ หรือไม่อยากทำงาน แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง โจ กัลวิน (Joe Galvin) หัวหน้าทีมวิจัยจาก Vistage ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและโค้ชชิ่งผู้บริหารระดับสูง ชี้ว่า การแปลความหมายแบบนั้นอาจตื้นเขินเกินไป

เขาอธิบายว่า “Gen Z Stare” คล้ายกับแนวโน้มของเทรนด์ “Quiet Quitting” ที่หลายคนเข้าใจผิดในตอนแรกว่า เป็นการไม่สนใจงาน ทั้งที่จริงๆ แล้ว มันสะท้อนถึงความคาดหวังต่อสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนไป เช่น ต้องการความยืดหยุ่น ความโปร่งใส และการมีจุดมุ่งหมายร่วมกันมากกว่าการทำตามคำสั่งแบบเคร่งครัด

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมนี้อาจเป็นผลพวงจากการที่คนรุ่นใหม่ เติบโตขึ้นมาท่ามกลางโควิด-19 จึงทำให้พวกเขาแทบไม่ได้ฝึกฝนทักษะทางสังคมแบบตัวต่อตัว และการสื่อสารต่อหน้า เพราะต้องเรียนและทำงานผ่านหน้าจอ แมดดอกซ์ค้นพบด้วยว่า หลังยุคโควิด พฤติกรรม “เงียบเฉย” ในห้องเรียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ไม่ใช่ไม่ฟัง หรือหยิ่ง หรือกวน แต่ Gen Z แค่ไม่รู้จะตอบว่าอะไร

ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบว่า พฤติกรรมจ้องหน้านิ่งด้วยสายตาเฉยเมยนี้ คล้ายกับอาการ “แช่แข็ง” ทางจิตใจ (Freeze Response) ที่มักเกิดขึ้นเมื่อคนรู้สึกตกใจ กลัว หรือไม่แน่ใจว่าควรตอบสนองอย่างไร

กัลวินยังอธิบายเพิ่มเติมว่า คนรุ่น Gen Z ที่โตมากับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย อาจไม่แสดงความตั้งใจฟังด้วยการสบตาตลอดเวลา เหมือนที่ผู้จัดการรุ่นก่อนคุ้นเคย เพราะพวกเขาสื่อสารผ่านจอและข้อความมาตลอด

“สำหรับ Gen Z บางคน การไม่สบตาตลอดเวลาไม่ได้แปลว่าเขาไม่ใส่ใจเสมอไป” เขากล่าว “สิ่งที่ Baby Boomer หรือ Gen X เห็นว่า ‘ไม่สนใจ’ อาจเป็นเพียงรูปแบบของการฟังอย่างตั้งใจในแบบของ Gen Z ก็ได้”

องค์กรควรเรียนรู้อะไร หรือปรับมุมมองอะไรจากพฤติกรรมนี้ ?

ซูเจย์ ซาฮา (Sujay Saha) ประธานบริษัท Cortico-X เสนอว่า แทนที่จะรีบตัดสินคนรุ่นใหม่จากพฤติกรรมดังกล่าว แต่หัวหน้าหรือผู้นำองค์กรควรใช้วิธีสังเกตและทำความเข้าใจคนรุ่นนี้ให้มากขึ้น เช่น ดูว่าพนักงาน Gen Z พูดคุยกับลูกค้า Gen Z อย่างไร เพื่อเรียนรู้ว่า “ปฏิสัมพันธ์แบบจริงใจ” ของกลุ่มคนรุ่นนี้มีลักษณะแบบไหน ใช้วิธีพูดคุยสื่อสารยังไง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมให้เหมาะสม

เขายังเสนอให้เปลี่ยนกรอบความคิดจาก “Gen Z ทำงานยาก ไม่มีความภักดีต่อองค์กร” ไปเป็นการมองว่าพวกเขามีมุมมองใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กร เช่น พวกเขาให้ความสำคัญกับ “ความจริงใจ” ต่อแบรนด์และองค์กร และพวกเขาไม่ชอบระบบลำดับชั้น แต่ต้องการการทำงานแบบร่วมมือและมีส่วนร่วม

รวมไปถึงพวกเขาคาดหวังผลลัพธ์เร็ว ต้องการการทำงานแบบต้นแบบ ทดลอง เรียนรู้ และปรับปรุง และการมีอิทธิพลในโลกโซเชียลที่คน Gen Z สามารถช่วยขับเคลื่อนการตลาดออนไลน์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี

ทำไมผู้นำต้องเข้าใจ ปรากฏการณ์ “Gen Z Stare”?

“เราไม่ควรตัดสินพนักงานจากแค่ท่าทางหรือสีหน้า คำถามคือ พวกเขาไม่สนใจจริงๆ หรือคุณแค่ใช้มาตรฐานเดิมๆ ในการวัดความมีส่วนร่วมในสถานที่ทำงานกันแน่” กัลวิน เตือนผู้นำองค์กร โดยเขาเน้นย้ำอีกว่า ผู้นำต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปิดกว้าง ครอบคลุมทุกสไตล์

ขณะที่ ซูเจย์ ซาฮา ก็เห็นด้วยเช่นกัน เขาบอกว่า สิ่งสำคัญคือ “ทำความเข้าใจ ไม่ใช่ตัดสิน” และต้องช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่าพวกเขา “มีส่วนร่วม” ในองค์กรจริงๆ ไม่ใช่แค่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบงาน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการล้อเลียนพฤติกรรม “Gen Z Stare” ของคนรุ่นใหม่ในโซเชียลมีเดียว่า พวกเขาเป็นเหมือนหุ่นยนต์ คนไร้ชีวิต หรือแม้แต่เปรียบกับอาการป่วยจิต แต่นักจิตบำบัดอย่าง โรบี ลัดวิก (Robi Ludwig) ชี้ว่า พฤติกรรมนี้ สะท้อนถึงช่องว่างทักษะทางสังคมที่เกิดจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่ง

ขณะที่ Gen Z เองก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อการวิจารณ์ พวกเขาออกมาชี้แจงใน TikTok ว่า “สายตาในงานบริการ” กับ “สายตาแบบ Gen Z” นั้นคนละเรื่องกัน และบางครั้งพวกเขาก็แค่ไม่อยากตอบคำถามที่ดู “ไม่สมเหตุสมผล” มากกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ไม่มีใครผิดหรือถูกแบบ 100% เพราะท่ามกลางโลกการทำงานในยุคที่ประกอบด้วยผู้คนหลายเจนเนอเรชัน การเปิดใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน น่าจะสำคัญกว่าการตัดสินที่ผิวเผิน เพราะท้ายที่สุดแล้ว Gen Z คือกำลังสำคัญของตลาดแรงงานในอนาคตอันใกล้นี้

อ้างอิง: Forbes, NBC News, Businessinsider, AdelaideNow

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

รู้ทันมะเร็งรังไข่!ไขข้อสงสัยเรื่อง CA125 และการตรวจคัดกรอง

15 นาทีที่แล้ว

ซีพีเอฟ เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศส ‘Bucher Salami & Chorizo’

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดคำสั่ง 'มทภ.2' ปิดด่าน-ปราสาทตาเมือนธม-ตาควาย มีผลวันนี้ ตอบโต้กัมพูชา วางทุ่นระเบิด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'ไทย' ยื่นข้อเสนอสุดท้ายเจรจาสหรัฐ หวังภาษีแข่งขันอาเซียนได้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Meryl Streep เริ่มถ่ายทำ The Devil Wears Prada 2 ที่นิวยอร์กในบทสุดไอคอนิก Miranda Priestly

THE STANDARD

ค้นตัวตน หนานบัวผัน ศิลปินที่เชื่อว่าวาด "ปู่ม่าน-ย่าม่าน" ภาพ "กระซิบรัก" วัดภูมินทร์

ศิลปวัฒนธรรม

LOEWE เปิดตัวกระเป๋าซีรีส์ Landscape ที่ได้แรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ธรรมชาติ

THE STANDARD

Dakota และ Elle Fanning เตรียมแสดงภาพยนตร์ด้วยกันเป็นครั้งแรกในเรื่อง The Nightingale

THE STANDARD

ซีพีเอฟ เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศส ‘Bucher Salami & Chorizo’

กรุงเทพธุรกิจ

24 กรกฎาคม 2508 สาวไทยคว้าตำแหน่ง “นางงามจักรวาล” เป็นครั้งแรก

ศิลปวัฒนธรรม

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ค. 68

PostToday

ท่วมหนัก 2 ปีซ้อน "Lalana Cafe" คาเฟ่ดังเมืองน่าน น้ำท่วมเกือบมิดหลังคา

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...