โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ดีลที่ดี...ต้อง Co-Create

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

ข้อมูลในรายงานระบุว่า กว่า 66% ของดีลในไทยเกิดจากความต้องการเข้าสู่ตลาดใหม่ หรือสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ขณะที่ดีลที่เน้นการขยายตลาดเดิมนั้นลดลงเหลือเพียง 18% เท่านั้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ชี้ชัดว่า ตลาด M&A วันนี้ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยการ “ซื้อเพื่อโต” แบบเดิมอีกต่อไป แต่กลายเป็นกลยุทธ์ “ซื้อเพื่อเปลี่ยน” - เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ เปลี่ยนความสามารถ และเปลี่ยนตำแหน่งในตลาด

การเจรจาดีลจึงไม่ใช่เรื่องราคาหรือเงื่อนไขเท่านั้น แต่เป็นการออกแบบอนาคตร่วมกันอย่างซับซ้อน และมีชั้นเชิง ธุรกรรมจำนวนมากถูกออกแบบให้ยืดหยุ่นสูง เช่น แบ่งจ่ายตามผลงานจริง หรือการวางแผนควบรวมระบบและวัฒนธรรมองค์กร (integration) ตั้งแต่ก่อนจรดปากกาเซ็นสัญญา

ยิ่งไปกว่านั้น ขั้นตอน Due Diligence วันนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่บัญชีหรือกฎหมาย แต่ลึกไปถึงระบบ IT, ความพร้อมของทีม, แนวทาง ESG และศักยภาพในการขยายกิจการภายหลังดีล เพราะสิ่งที่ถูกซื้อ ไม่ใช่แค่บริษัท แต่คือ “ความสามารถในการเติบโตต่อไป”

ถ้ามองในภาพรวม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในปีนี้ ได้แก่

  • เทคโนโลยี
  • เฮลท์เทคและไบโอเทค
  • อุตสาหกรรมแปรรูปและอาหาร

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ดีลเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเห็นโอกาสทางรายได้ แต่เกิดเพราะธุรกิจต่างต้องการ “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ที่จะพาองค์กรไปสู่อนาคต

ในกลุ่มเทคโนโลยี บริษัทขนาดใหญ่ในไทยเริ่มหันมาซื้อกิจการของสตาร์ตอัปที่พัฒนาเอไอ, Cybersecurity หรือ SaaS โดยเน้นการดึงทีมงานคุณภาพ และเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบขององค์กรได้ทันที หลายดีลไม่ได้มองแค่ผลิตภัณฑ์ แต่ให้ความสำคัญกับทีมและไอเดีย

ฝั่งเฮลท์เทค เราเห็นการลงทุนจากกลุ่มโรงพยาบาลที่ต้องการนำระบบวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ด้วยเอไอมาใช้ เพื่อปรับปรุงบริการของตนเองโดยตรง ไม่ใช่แค่เพื่อสร้างรายได้จากการขายเทคโนโลยี

ในกลุ่ม F&B และอุตสาหกรรมแปรรูป หลายองค์กรเก่าแก่เริ่มเข้าซื้อผู้ผลิตอาหารจากโปรตีนทางเลือก หรือบริษัทที่มีนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน และผู้บริโภคยุคใหม่

แล้วบทเรียนเหล่านี้มีความหมายอย่างไรสำหรับสตาร์ตอัป และผู้บริหารองค์กร สำหรับธุรกิจในวันนี้ การมีผลิตภัณฑ์ที่ดีอาจไม่พออีกต่อไป สิ่งที่ตลาดและนักลงทุนมองหาคือองค์กรที่ “พร้อมจะเติบโตไปกับพาร์ตเนอร์” ไม่ว่าจะผ่านการควบรวม หรือการร่วมพัฒนา

ปัจจัยที่จะทำให้ดีลเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ไอเดียหรือเทคโนโลยี แต่คือความพร้อมในการร่วมมือ ทั้งในมิติของทีม ระบบหลังบ้าน โครงสร้างธุรกิจที่โปร่งใส และความชัดเจนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ดีลในวันนี้จึงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น

เช่น เปิดให้เข้ามาถือหุ้น แลกกับการร่วมพัฒนาเทคโนโลยี หรือแบ่งรายได้จากตลาดที่สร้างไปด้วยกัน โมเดลแบบนี้ช่วยลดความเสี่ยงของทั้งสองฝ่าย และเปิดโอกาสให้เติบโตแบบยั่งยืนได้มากกว่าการขายกิจการ

ท้ายที่สุด นักลงทุนในภูมิภาคนี้ไม่ได้มองเพียงผลตอบแทนระยะสั้น แต่กำลังมองหาธุรกิจที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกันในระยะยาว เมื่อเงินทุนไม่ใช่อาวุธลับอีกต่อไป ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่ “ใครจะเข้ามาซื้อเรา” แต่คือ “เราพร้อมจะก้าวไปสร้างอนาคตร่วมกับใคร” ต่างหาก

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'มหกรรมวิถีพลังไท 3' ระดม 3 แสนองค์กรชุมชน พลังเล็กเปลี่ยนประเทศ

29 นาทีที่แล้ว

ด่วน! ประกาศกฎอัยการศึก ชายแดนจันทบุรี-ตราด รับสู้รบไทย-กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'กัมพูชา' ผวา กระสุนคลัสเตอร์ ทบ. ลั่น ใช้แน่ทำลายเป้าหมายทางทหารกัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'พิธา' เรียกร้องนานาชาติ ตรวจสอบเหตุปะทะชายแดน ทำเด็กเสียชีวิต

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

ด่วน! ทร.ประกาศใช้กฎอัยการศึก “จันทบุรี–ตราด” ชายแดนไทย-กัมพูชา มีผลทันที

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ธปท.เปิดทางแบงก์ -นอนแบงก์ ลดผ่อนขั้นต่ำบัตรเครดิต-ให้วงเงินฉุกเฉิน ช่วยลูกหนี้โดนผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา

ทันหุ้น

4 หุ้น “โรบอทเทรด” คึก! แรงซื้อ AOT ดันราคาปิดพุ่ง 8%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

DELTA ทุ่ม 1,368 ลบ. ซื้อเครื่องจักร ปรับสู่โรงงานอัจฉริยะ

ทันหุ้น

DELTA กำไร Q2/68 ที่ 4,629.06 ลบ. ลดลง 29.49% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ทันหุ้น

DELTA ทุ่ม 1,368 ลบ. ซื้อเครื่องจักร ปรับสู่โรงงานอัจฉริยะ

ทันหุ้น

PTTEP ปิดดีลซื้อแปลง A-18 มูลค่า 1.46 หมื่นล้าน ขยายพอร์ตก๊าซอ่าวไทย

ข่าวหุ้นธุรกิจ

‘ซีพีเอฟ’ ลงพื้นที่ส่งมอบวัตถุดิบปรุงอาหาร เพื่อประชาชนในศูนย์อพยพชายแดน

The Bangkok Insight

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...