โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เมื่อศูนย์อพยพชายแดนคือแนวหน้า…ยามเสียงปืนดังขึ้น ‘ความพร้อม’ คือหน้าที่ที่รัฐต้องเรียนรู้

THE STANDARD

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
เมื่อศูนย์อพยพชายแดนคือแนวหน้า…ยามเสียงปืนดังขึ้น ‘ความพร้อม’ คือหน้าที่ที่รัฐต้องเรียนรู้

วันที่ 5 ของความรุนแรงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวนผู้คนที่ต้องอพยพพุ่งสูงแตะเกือบ 140,000 คน กระจายอยู่ใน 7 จังหวัด

ทุกศูนย์พักพิงกลายเป็นด่านหน้ารับมือความรุนแรงที่ไม่ได้มีแค่เสียงระเบิด แต่คือความท้าทายในการจัดการชีวิตของคนนับหมื่นในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

การปะทะกันด้วยอาวุธสงครามที่กินเวลาต่อเนื่องนี้ มีพลเรือนที่ต้องอพยพรวมแล้วทั้งสิ้น 139,646 คน ใน 7 จังหวัด แบ่งเป็น อุบลราชธานี 16,816 คน, ศรีสะเกษ 62,691 คน, สุรินทร์ 39,104 คน, บุรีรัมย์ 10,755 คน, สระแก้ว 4,076 คน, จันทบุรี 450 คน

ทีมข่าว THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจศูนย์อพยพแห่งหนึ่งในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งแต่เดิมเป็นสถาบันการศึกษา แต่ต้องแปรสภาพเป็นที่พึ่งพิงและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน จนกว่าข้อพิพาทระหว่างสองประเทศจะยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อพยพ ทีมข่าวได้รับฟังมุมมองและความเห็นหลายประการที่ชี้ให้เห็นถึงบทเรียนสำคัญเพื่อการปรับปรุงและอุดรอยรั่วในการรับมือวิกฤตในอนาคต

บทเรียนจากวิกฤต เมื่อแผนรับมือไม่เคยพอ

“เราไม่เคยถูกเรียกซ้อมแผนเพื่อเตรียมการใหญ่ เพราะไม่เคยมีใครคิดว่าเหตุการณ์จะใหญ่ขนาดนี้” อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าว

อาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนหนังสือประจำในสถาบันแห่งนี้ สะท้อนกับทีมข่าวว่า แม้สถานศึกษาแห่งนี้จะมีขนาดใหญ่และเคยเป็นพื้นที่อพยพสมัยข้อพิพาทเขาพระวิหาร ปี 2554 มาก่อน แต่ขณะนั้นความเสียหายไม่ได้เป็นวงกว้าง ประชาชนไม่เดือดร้อนมากถึงขั้นนี้

ย้อนกลับไปวันแรกทางหน่วยงานกลางได้แจ้งให้สถานศึกษาเตรียมพร้อมดูแลประชาชนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่แผนรายละเอียดที่ปลีกย่อยลงไปไม่เคยมีใคร หน่วยใดมาวางแนวทางให้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจที่ตามจุดอพยพจะเจอปัญหาอย่างเช่น อาหารแจกไม่เพียงพอ บางคนที่รับแล้วก็วนกลับมารับใหม่ หลายคนอยู่ตึกไกลๆ ไม่ได้ยินเสียงประกาศพอมาถึงจุดรับอาหารก็ไม่มีให้กินแล้ว

สำหรับจุดอพยพนี้ต้องใช้วิธีนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อแลกคูปองก่อนช่วงเวลาแจกข้าว เมื่อถึงช่วงแจกข้าวหากใครจะรับข้าวต้องมีคูปองมาแลกเพื่อให้สามารถนับจำนวนในการทำมื้ออาหารต่อไป และเพื่อแจกอาหารให้ทั่วถึง

อาจารย์ยังเล่าให้ฟังในส่วนปัญหาการแจกของใช้ คือทำแบบระบบคูปองไม่ได้ เนื่องจากสิ่งของไม่ได้มีเพียงพอสำหรับทุกคน และทุกคนมีความต้องการที่หลากหลายกันไป เช่น ผู้หญิงต้องการชุดชั้นใน แต่ชุดชั้นในเองก็มีหลายขนาด ไม่สามารถแจกจ่ายได้อย่างทั่วถึง

“เป็นเรื่องที่ครูกับผู้บริหารทุกคนต้องถอดบทเรียนกันเองทุกวัน” อาจารย์ท่านนี้กล่าว

ความเสียสละในภาวะวิกฤต

อาจารย์เล่าว่า ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีการปะทะ ช่วงเช้าเด็กๆ อยู่ระหว่างเรียนหนังสือ เมื่อพวกอาจารย์ได้รับคำสั่งก็ต้องรีบส่งนักเรียนที่บ้านไกลกลับบ้าน ส่วนเด็กคนไหนที่บ้านอยู่พื้นที่เสี่ยงต้องแยกให้ผู้ปกครองมารับ เพราะสถานศึกษาต้องเปลี่ยนเป็นจุดอพยพช่วยประชาชน

“อาจารย์ผู้ชายต้องดูแลเรื่องช่าง เรื่องความปลอดภัย อาจารย์ผู้หญิงต้องทำงานระบบ ทำครัว ครูมากกว่า 200 คนของเราต้องเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน”

ทีมข่าวยังได้พูดคุยกับข้าราชการที่มีอำนาจตัดสินใจในการบริหารจุดอพยพแห่งนี้ เปิดใจว่า สถานศึกษาแห่งนี้ตั้งเป้ารับดูแลประชาชนไว้ที่ 500 คน แต่ ณ วันที่ 4 ของสถานการณ์ความรุนแรงมีประชาชนจากหลายตำบลหลั่งไหลเข้ามาลงทะเบียนแล้วกว่า 5,000 คน

หน่วยงานกลางแจ้งว่า ที่นี่ต้องเตรียมพร้อมสถานการณ์ฉุกเฉิน รับคนจากตำบลต่างๆ แต่หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของเราเองที่จะวางแผนทุกอย่าง รวมไปถึงจุดอพยพต่างๆ ที่ต้องแก้ปัญหาหน้างานกันเองแบบวันต่อวัน

“ต่างที่กันก็มีวิธีแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่” ข้าราชการท่านนี้กล่าว

พร้อมกล่าวต่อว่า ประชาชนตามแนวชายแดนจะมีข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านว่าตำบลไหนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องไปที่ไหน เพื่อป้องกันความสับสนเวลาเคลื่อนย้าย แต่ในสถานการณ์จริงญาติที่อยู่ต่างตำบลกัน เมื่อมีวิกฤตก็อยากมาอยู่รวมกัน ทำให้บางจุดอพยพมีประชาชนจำนวนมากเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

“หัวใจศูนย์อพยพคือช่วยเหลือคนเดือดร้อน เราต้องต้อนรับและดูแลเขา ไม่มีคำสั่งให้ปฏิเสธใครสักคน”

แม้ว่าสถานศึกษาแห่งนี้จะมีขนาดใหญ่ แต่ที่ผ่านมาระบบน้ำและไฟเตรียมพร้อมดูแลเด็กนักเรียนประมาณ 2,500 คนต่อวัน ซึ่งเดินทางมาเรียนช่วง 08.00 น. และ กลับบ้านช่วง 18.00 น.

การแปรสภาพเป็นศูนย์อพยพ ที่นี่ต้องดูแลคนมากกว่า 1 เท่าตัว แบบ 24 ชั่วโมง แหล่งน้ำบาดาลที่ใช้หมุนเวียนเข้าระบบกรองน้ำเองก็สูบไม่ทัน แค่เพียงวันที่ 5 ครูฝ่ายช่างต้องเข้าไปดูเครื่องสูบหลายต่อหลายครั้งแล้ว อีกทั้ง ณ จุดนี้ยังดูแลผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 40 ราย

แม้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา จะยังไร้บทสรุปที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ ศูนย์อพยพไม่ได้เป็นเพียงที่หลบภัย แต่คือสมรภูมิการจัดการที่วัดประสิทธิภาพของระบบรัฐ เมื่อเสียงปืนดังขึ้น การปกป้องพลเรือนคือหน้าที่ และความพร้อมไม่ควรเป็นสิ่งที่รอให้เกิดวิกฤตแล้วค่อยคิดหาทาง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

ภูมิธรรมเผยผลเจรจาไทย-กัมพูชา ไม่คุยเรื่องเก่า-แผนที่ มุ่งหยุดยิงเพื่อยุติความสูญเสีย

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รมช.กลาโหม ยันกองทัพพร้อมปกป้องอธิปไตย เต็มขีดความสามารถจนกว่าจะถึงเที่ยงคืนวันนี้ เพื่อแสดงความเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เดินหน้าถก RBC-GBC

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สรุปเนื้อหาข้อตกลงหยุดยิงไทย-กัมพูชา ตกลงกันเรื่องอะไรบ้าง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มาริษชี้ไทยมีภาพลักษณ์ดีในสายตาชาวโลก มองเป็นนิมิตหมายดีกัมพูชายอมเจรจาในกลไกทวิภาคี

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ทบ.ยังไม่ยืนยัน "พล.อ.สรัย ดึ๊ก" ขุนศึกคู่ใจฮุนเซน เสียชีวิต

สยามรัฐ

เดดไลน์เที่ยงคืน ถึงเวลาหยุดยิง เสียงปะทะริมชายแดนเงียบลง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ยังไม่จบ! ทหารกัมพูชาขนจรวด PHL-03 บุกแนวรบ 5 จังหวัด – คาดยิงปูพรม

สยามรัฐ

สาวบุกด่า แพทองธาร กลางวัด “อุ๊งอิ๊งค์ขายชาติ” ก่อนถูกรวบ

BRIGHTTV.CO.TH

เปิดรายชื่อ 6 ศพ สะเทือนขวัญตลาด อ.ต.ก. ดับทั้ง รปภ.-แม่ค้า

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

กัน จอมพลัง ร่ำไห้เหตุการณ์ กราดยิงตลาดอตก. ลั่นมือปืนโกหกชิบหาx

BRIGHTTV.CO.TH

Bank of England อธิบาย “การเติบโตทางเศรษฐกิจ” ทำให้ “คนรุ่นปัจจุบัน” มีคุณภาพชีวิตดีกว่า “คนรุ่นเก่า”

ไทยพับลิก้า

ถล่มเขมร กวาด“ชินวัตร”ตกเวทีไปด้วย!?

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชมภาพบรรยากาศการเจรจาไทย-กัมพูชาที่มาเลเซีย มีตัวแทนสหรัฐฯ-จีนเข้าร่วม

THE STANDARD

กองทัพภาค 2 สรุปสถานการณ์ชายแดน ฝ่ายกัมพูชาระดมยิงหลายแนวรบ พบความเคลื่อนไหวขีปนาวุธ PHL-03

THE STANDARD

ทีมไทยแลนด์ถึงมาเลเซีย

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...