โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

'หน้าลอกเป็นขุย' สัญญาณอันตรายที่มาจากภูมิแพ้ -เครื่องสำอาง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปัญหาผิวหน้าลอกเป็นขุย ไม่เรียบเนียน เป็นสิ่งที่หลายๆ คนได้ประสบพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก ผู้หญิง หรือผู้สูงอายุ ที่มีอาการของโรคผิวหนังมากมาย และการที่ผิวหน้าลอกเป็นขุย ไม่ใช่เพีบงเกิดจากผิวแห้งเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาผิวอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ผิวลอก เป็นแผ่นเป็นขุย แสบๆคันๆ คุณอาจกำลังเป็น โรคผิวหนังอักเสบ หรือ เซ็บเดิร์ม โรคนี้มักสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ขาดความมั่นใจ ยิ่งถ้าในคุณผู้หญิงบางคนก็ทำให้จิตตกได้ เพราะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าด้วย เพราะฉะนั้นก็อย่าชะล่าใจไปเด็ดขาด

ก่อนอื่นต้องมารู้ว่า ผิวหน้าลอกเป็นขุย นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง และทำไม ทุกคนที่มักกล่าวถึง “เซ็บเดิร์ม” (Seborrheic Dermatitis) เพราะเซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรัง หรือเรียกอีกชื่อว่า ‘โรคต่อมไขมันอักเสบ’ มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น บริเวณหนังศีรษะ ไรผม ใบหู หัวคิ้ว ข้างจมูก ร่องแก้ม รอบริมฝีปาก หน้าอก รักแร้ หรือขาหนีบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เวชศาสตร์ความงามบูม! ปี 68 Green Beauty ฟื้นฟูผิว สวยรักษ์โลก

ร้อนนี้ …หน้าไม่พัง ฟื้นฟู ดูแลสารพัดปัญหาเรื่องผิว ผิว

อาการที่พบบ่อย ของภาวะหน้าลอกเป็นขุย

พญ.กีรติยา กาญจนอุทัยศิริ แพทย์ประจำแอปฯ หมอดี แนะนำว่า ทางที่ดี เราควรหาสาเหตุของอาการหน้าลอกเป็นขุยให้กระจ่าง เพื่อที่จะสามารถดูแลและแก้ไขอาการได้อย่างตรงจุด ลองมาดูสาเหตุที่ทำให้หน้าลอกเป็นขุย ดังนี้

  • ผิวลอกแห้ง ตึง มีเศษหนังกำพร้าหลุดลอกออกมา เป็นขุย ๆ
  • ผิวแดง แสบ คัน ระคายเคืองบริเวณที่หน้าลอก
  • ในบางราย อาจอักเสบรุนแรง ผิวลอกเป็นแผ่นใหญ่ รอยแตกลึก มีเลือดออก

หน้าลอกเป็นขุย เกิดได้จากอะไรบ้าง?

  • ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น
  • ชอบล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นจัด
  • ตากแดดเป็นเวลานาน ทำให้ผิวชั้นนอกโดนทำลาย จนหน้าลอก
  • อยู่ในสภาพอากาศที่แห้ง หนาวเย็นมาก
  • โครงสร้างผิวเปลี่ยนไป
  • แพ้เครื่องสำอาง หรือผิวระคายเคือง จากส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า เช่น มีส่วนผสมของแอลกอฮอลก์ น้ำหอม กรด BHA AHA
  • เป็นโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน หรือติดเชื้อรา

ปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนมีปัญหาผิวอ่อนแอ และแพ้ง่ายแตกต่างกันไป เช่น ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไวต่อสารบางชนิด ประเภทผิวที่เป็นอยู่เดิม ไปจนถึงการสูญเสียสมดุลระบบนิเวศผิว (Skin Microbiome) กรณีผิวลอกเป็นขุยจากการแพ้ครีม เครื่องสำอาง หรือส่วนผสมที่บรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ อาจกระจายปัญหาไปถึงบริเวณศีรษะ หรือตามไรผมร่วมด้วยได้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผิวแต่ละคน สำหรับบางคนอาจค่อยๆ มีอาการแพ้เกิดขึ้นหลังใช้ครีมไปแล้ว 2-3 วัน หากพบว่าใช่! แนะนำให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้นในทันที

‘แพ้ครีม’ สัญญาณอันตรายโรคทางผิวหนัง

อาการแพ้ครีมส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ทันที หรืออาจแสดงอาการที่ชัดเจนขึ้นภายในระยะเวลาที่รวดเร็วหลังใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเริ่มต้นด้วยลักษณะผิวลอกเป็นขุย หลายคนอาจเริ่มสับสนกับอาการของโรคทางผิวหนังอย่างเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เพราะลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกัน บวกกับบริเวณใบหน้าและหนังศีรษะที่สามารถเกิดโรคเซ็บเดิร์มได้ ซึ่งการแพ้ครีมกับโรคผิวหนังนั้นจะไม่เหมือนกัน แต่หากมีการแพ้รุนแรงมากกว่าแค่ผิวลอกเป็นขุย เช่น

  • คันตามผิวหนัง หรือลมพิษ
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูง
  • เกิดแผลพุพองเฉียบพลัน

เป็นความรุนแรงที่มากกว่าการแพ้ครีมทั่วไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจและรักษาจากแพทย์ผิวหนังโดยตรง ส่วนกรณีแพ้ครีมที่ไม่รุนแรงมากแนะนำให้หยุดใช้ครีมก่อน เพราะการแพ้ครีม อาจหมายถึงการที่เราแพ้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในครีม เช่น สารกันเสีย น้ำหอม สี แอลกอฮอล์ สเตียรอยด์ หรือแม้แต่ส่วนประกอบบางอย่างที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าแพ้ ซึ่งหากปล่อยปัญหาเรื้อรังไว้นานอาจลุกลามไปสู่ปัญหาโรคทางผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ขึ้นได้

10 สาเหตุใหญ่ ของผื่นแดงขึ้นหน้า

1. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากผื่นผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis)

  • ผื่นผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม เป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่หน้า หรือบริเวณที่มีความมัน เช่น หนังศีรษะ ไรผม ซอกหู หว่างคิ้ว ซอกจมูก รวมทั้งอกช่วงบน และหลังข่วงบน
  • มีอาการขุยแห้ง แดง และคัน มักมีอาการเป็นๆ หายๆ จึงควรบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น และใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่าย
  • หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณายาทาบางชนิด สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบเซบเดิร์มยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อยีสต์ Pityrosporum (Malassezia)

2. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)

  • ผื่นแพ้สัมผัส เป็นผื่นผิวหนังอักเสบประเภทที่มีเหตุสัมผัสจากภายนอกมากระตุ้นให้เกิดผื่น หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวหน้าต่างๆ สบู่ หรือแม้แต่การย้อมผม รวมทั้งฝุ่นละอองจากสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่
  • บริเวณใบหน้าเป็นผิวที่บอบบาง ทำให้เกิดอาการอักเสบหลังการสัมผัสได้ง่าย โดยจะเกิดอาการแดง คัน มีขุย หรือแม้แต่ตุ่มน้ำได้ในบริเวณที่แพ้สัมผัส
  • มีได้ทั้งประเภทที่เป็น ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) ซึ่งเกิดจากสารที่ระคายเคือง หรือประเภทที่เป็นผื่นผิวหนังภูมิแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ซึ่งเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ต่อผิวของบางคน
  • อาจมีอาการมาแบบเฉียบพลัน เป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรังก็ได้ มักมีเพียงด้านใดด้านหนึ่งตามบริเวณที่สัมผัส หากมีภาวะนี้ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่สงสัยให้เกิดอาการแพ้ และอาจต้องใช้ยาทาลดการอักเสบบางชนิด

3. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากปฏิกิริยาจากการใช้ยาบางชนิด

  • การใช้ยาบางชนิดทำให้เกิดปฏิกิริยาคล้ายถูกแดดที่บริเวณใบหน้าได้ ทำให้หน้าแดง เช่นการใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone cream) ซึ่งเป็นสเตียรอยด์แบบทาชนิดหนึ่ง ที่หากใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังในลักษณะนี้ได้ ต้องหยุดใช้ยา อาการจึงจะดีขึ้น

4. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)

  • ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากเหตุภูมิแพ้ภายในร่างกายประเภทหนึ่ง โดยจะมีหน้าแดงได้ในผู้ป่วยกลุ่มเด็กทารก
  • จะมีอาการแดงและคันมากได้ที่บริเวณแก้ม ผิวจะแห้งมาก มีขุย และคัน เป็นภาวะที่รักษา ควบคุมอาการได้ แต่ไม่หายขาด
  • พบว่าในกลุ่มคนไข้ที่โตขึ้นจะพบผื่นในบริเวณอื่นเช่นตามซอกพับต่างๆ มากกว่าใบหน้าแบบในเด็กทารก คนไข้ต้องบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ผิวแห้ง เช่น การล้างหน้าหรืออาบน้ำด้วยน้ำอุ่น
  • ในช่วงกำเริบมักต้องได้รับยาทาลดการอักเสบบริเวณผิวหนัง

5. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

  • สะเก็ดเงิน เป็นภาวะที่มีการสร้างเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ ทำให้เกิดการนูน หนา และแดง ได้หลายตำแหน่งในร่างกาย โดยอาจทำให้เกิดผื่นแดงขุยหนาที่ใบหน้าได้เช่นกัน
  • บริเวณอื่นในร่างกายที่มักมีผื่น เช่น ศอก เข่า ศีรษะ หรืออาจเกิดความผิดปกติบริเวณเล็บ เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อควบคุมอาการได้ ควรรักษาและติดตามโดยแพทย์

6. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากโรคหน้าแดง (Rosacea)

  • โรคหน้าแดงเป็นโรคที่ผิวหน้าจะแดงได้ง่ายโดยเฉพาะบริเวณกลางๆใบหน้า หรือมีตุ่มบวมแดงได้ หรือเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง
  • ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่บริเวณผิว การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ แสงอัลตราไวโอเลต ไรขนที่หน้า โครงสร้างทางกายภาพของผิวหนังที่มีหน้าที่ในการปกป้องผิวผิดปกติไป เป็นต้น
  • สิ่งที่กระตุ้นทำให้หน้าแดงจากภาวะนี้ ได้แก่ การรับประทานอาหารเผ็ดหรือร้อน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อากาศร้อนแสงแดด อารมณ์ หรือการออกกำลังกาย
  • สำหรับชาวไทย จะพบโรคนี้ไม่บ่อยเท่าในฝรั่ง การรักษามีทั้งยาทาและยารับประทาน และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

7. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง (Spider vein)

  • เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นที่ได้จากการโดนแดดมานานเรื้อรังโดยไม่ป้องกัน เมื่อผิวถูกแสงแดดเป็นเวลาหลายปี อาจทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง และทำให้เกิดหน้าแดงได้ อาจต้องอาศัยเลเซอร์บางชนิดในการรักษา

8. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากงูสวัด

  • งูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกกระตุ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีภาวะเจ็บป่วยบางอย่าง หรือใช้ยาบางชนิด รวมทั้งจากความเครียด หรือการพักผ่อนน้อย
  • สามารถเกิดที่ใบหน้าได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดตามแนวเส้นประสาท จึงมักเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งของใบหน้า โดยทำให้เกิดตุ่มน้ำใสบนพื้นผิวสีแดง และมีอาการปวดแสบปวดร้อนได้
  • อาการปวดหรือผื่นแดงอาจนำมาก่อนตุ่มน้ำ สิ่งที่ต้องระวังสำหรับภาวะงูสวัดที่บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะช่วงบนๆ คืออาจมีการอักเสบที่ตาหรือหูร่วมด้วย จึงควรตรวจรักษาที่โรงพยาบาล

9. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากโรคลูปัส (Lupus)

  • ลูปัส เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทำลายตนเองโรคหนึ่ง โดยสามารถมีอาการได้หลายระบบในร่างกาย เช่น มีอาการปวดข้อ มีอาการเกี่ยวกับไต ปอด ระบบประสาท ฯลฯ
  • หนึ่งในนั้นที่สามารถเป็นได้ คือ อาการที่ผิวหนัง เช่น มีอาการแดงที่หน้าในลักษณะของผื่นแพ้แสง (คือถูกกระตุ้นด้วยการโดนแสงแดด) มักเป็นบริเวณแก้มสองข้าง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ แต่ก็อาจพบอาการแดงหรือบวมลักษณะอื่นได้ด้วย
  • การรักษาขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรค มักต้องได้รับยากดภูมิ และต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงติดตามรักษาโดยแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • นอกจากนี้ โรคที่เกี่ยวกับการแพ้แสงอีกหลายโรคก็มักมาด้วยอาการหน้าแดงได้เช่นกัน โดยบริเวณที่มักเป็นผื่นแพ้แสง ได้แก่ หน้า แขนด้านนอก อกช่วงบน หรือขา เป็นต้น โดยมักจะไม่พบผื่นที่บริเวณเปลือกตาหรือซอกพับต่างๆ นอกจากนี้ผื่นแพ้แสงยังอาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดได้

10. ผื่นแดงขึ้นหน้าจากโรคมะเร็งบางอย่าง

  • ผื่นแดงขึ้นหน้าสามารถเกิดจากโรคมะเร็งได้ แต่พบได้น้อย มักเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำเหลืองที่เป็นที่ผิวหนัง เช่น โรคซีทีซีแอล (CTCL: Sézary syndrome is a type of T-cell cutaneous lymphoma)
  • เหตุที่พบผื่นที่ผิวหนังได้บ่อยเนื้องจากเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell พบมากที่บริเวณผิวหนัง ลักษณะของผื่นผิวหนังอาจดูคล้ายผื่นผิวหนังอักเสบได้ แต่หากเป็นนานแล้วยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ เช่น อาการหน้าแดงที่เป็นนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย
  • เนื่องจากอาการผื่นแดงที่ใบหน้ามีสาเหตุได้หลากหลายสาเหตุดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด จึงควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผิวหนัง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและตรงจุด

ดูแลอย่างไร? เมื่อหน้าลอกเป็นขุย

  • เลี่ยงปัจจัยกระตุ้น

หากสงสัยว่าตัวเองหน้าลอก เพราะแพ้เครื่องสำอาง หรือแพ้ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ควรหยุดใช้ทันที และปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อหาวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

  • ดูแลตัวเองจากภายใน

รักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามไม่เครียด จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น เปล่งปลั่ง ไม่แห้งตึงง่าย

  • หลีกเลี่ยงการล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น

เพราะน้ำอุ่นจัด จะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม เสี่ยงหน้าลอกมากขึ้น

  • บำรุงผิวหน้า ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรอ่อนโยน

ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้น หรือ มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ให้เหมาะสม เลือกสูตรที่มีส่วนผสมให้ความชุ่มชื้น เช่น กรดไฮยาลูโรนิก (hyalorunic acid), เซราไมด์ (ceramide) หรือ น้ำมันธรรมชาติ เลือกเนื้อครีมเข้มข้นที่ช่วยล็อกความชุ่มชื้น เช่น สูตรที่มีเชียบัตเตอร์ (shea butter) หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือกรด BHA AHA แรง ๆ ในช่วงที่หน้าลอก

หากดูแลผิวเบื้องต้นแล้ว แต่ยังมีอาการหน้าลอกเป็นขุย ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร? สามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี ไม่ต้องรอคิวนานหรือเดินทาง พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ทั่วไทย

อ้างอิง: หมอดี , hdmall , aveeno

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

โลกจับตานวัตกรรมสงคราม หนุนเทคโนโลยีกลาโหมอิสราเอลโตแรง

32 นาทีที่แล้ว

กต.คอนเฟิร์ม 'ฮุน มาเนต-ภูมิธรรม' พบกันพรุ่งนี้ที่มาเลเซีย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘รัสเซีย’ เปิดบินตรง ‘มอสโก - เปียงยาง’ เที่ยวแรก ในรอบหลายสิบปี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตี๋น้อย-ลัคกี้ มีหวั่น! ‘บาบีก้อน’ ลุยเปิดดึกถึงตี 5 จ่อขยายโมเดลเพิ่มอีก 13 แห่งภายในปีนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ไขข้อสงสัย ทำไมไม่ควรทานยาคู่กับนม ส่งผลต่อฤทธิ์ของยาจริงหรือไม่?

PPTV HD 36

เทคนิคอยู่กับความโกรธอย่างมีสติ ท่ามกลางความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา

PPTV HD 36

ต้นแบบ ‘ครอบครัวคนหัวใจเพชร’ งดเหล้า ยกระดับความสุขทุกมติ

กรุงเทพธุรกิจ

สธ.เผย มีผู้บาดเจ็บเหตุชายแดนไทย-กัมพูชาเพิ่ม 1 ราย รพ.ปิดบริการเพิ่ม 4 แห่ง

PPTV HD 36

หลายคนชะล่าใจ 5 จุดบนร่างกายบวม ทำลายตับไม่รู้ตัว ใครมีอาการรีบไปพบแพทย์ทันที

News In Thailand

มทร.ธัญบุรี เปิดพื้นที่รองรับผู้ลี้ภัย 2,000 คน พร้อมชวนบริจาคสิ่งของ

กรุงเทพธุรกิจ

กลไกสมองของคนตรรกะประหลาด "สมองส่วนหน้า" โดนกระแทกโตมาโง่จริงไหม ?

Amarin TV

5 กลุ่มอาหารช่วยบำรุงข้อและกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...