โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รพ.จุฬาฯ ผ่าตัดรักษา “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” สำเร็จแห่งแรกในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน นายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย และหัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรคความผิดปกติจากการนอนหลับ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบ ดังนั้น ศูนย์นิทราเวช และทีมแพทย์ทุกสหสาขาวิชาชีพ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับ ทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์และเปิดให้บริการการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับในทุกรูปแบบ

โดยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) พบได้ถึงประมาณร้อยละ 14 ในประชากรทั่วไป ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการกรน ตื่นบ่อยระหว่างคืน ง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน เป็นต้น โรคนี้สามารถเพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด การรักษาหลักคือการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถทนต่อการรักษาด้วยวิธีนี้ได้

ทีมแพทย์จึงหาวิธีการใหม่มาช่วยในการรักษา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และมีความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย ล่าสุดนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคพิเศษผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรง ระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก ด้วยวิธีการกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (HGNS)

เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง แผลผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 4 ในเอเชีย หลังจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฮ่องกง ที่ปัจจุบันรักษาด้วยวิธีนี้ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จะเปิดการรักษาด้วยวิธี HGNS ในอนาคตอันใกล้

ผศ. (พิเศษ) พญ. นทมณฑ์ ชรากร หัวหน้าหน่วยโสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีศักยภาพสูง ในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคจากการนอนหลับทุกประเภท ทุกสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกัน ดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ผู้ป่วยที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแบบ HGNS ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ต้องมีระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ไม่สามารถทนการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้ และมีข้อบ่งชี้ตามเกณฑ์กำหนด

สำหรับการผ่าตัดแบบ HGNS เป็นเทคนิคการผ่าตัดทางเดินหายใจใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง แผลผ่าตัดเล็ก ความเจ็บหลังผ่าตัดน้อย และการฟื้นตัวเร็ว ปัจจุบันอุปกรณ์ผ่าตัดผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อ.ย.) เมื่อปี พ.ศ. 2567 หลักการของการผ่าตัดคือ การฝังเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (Hypoglossal Nerve) เป็นกล่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฝังลงไปในร่างกาย (Implantable Device) ที่บริเวณเหนือกล้ามเนื้อหน้าอก

เพื่อส่งสัญญาณกระตุ้นไฟฟ้าที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 ทางฝั่งขวา เฉพาะแขนงที่ทำให้กล้ามเนื้อลิ้น (Genioglossus Muscle) เคลื่อนตัวไปข้างหน้า ขณะเดียวกันก็มีอุปกรณ์จับสัญญาณการเคลื่อนไหวของทรวงอกว่ากำลังหายใจเข้า บริเวณชายโครงด้านขวา ทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง อุปกรณ์จะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในขนาดที่เหมาะสม

การปรับสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยสามารถเปิด ปิดอุปกรณ์ ผ่านทางรีโมทคอนโทรลที่ใช้งานง่าย เพียงกดปุ่มเดียว เพื่อเปิดใช้งานก่อนเข้านอนและปิดเมื่อตื่นนอน วิธีนี้เป็นการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีมาแล้วมากกว่า 10 ปี ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) เมื่อปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ.2014) มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิภาพการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและผลลัพธ์ดี ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการทำหัตถการนี้เกิดขึ้นภายในประเทศไทย

ด้านรศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถนำเทคนิคนี้มารักษาผู้ป่วยได้สำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 4 ของเอเชีย

สามารถเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ จากการอุดกั้นระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่มีความประสงค์จะรักษาด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่นี้ จำเป็นต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีข้อบ่งชี้ตามเกณฑ์ เพื่อความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

กรมทางหลวงชนบท แจง “ เสาประติมากรรมเชียงใหม่ ” ไม่ใช่แบบมาตรฐานงานทางของ ทช.

32 นาทีที่แล้ว

เปิดรายละเอียดแคมเปญ กคช. อยากให้คนไทยมีบ้าน ขยายเวลา ถึง15 ก.ค.นี้

50 นาทีที่แล้ว

ดร.ยุ้ย 'เสนา' ยึดมั่น Sustainable อันดับหนึ่งบ้านโซลาร์ติดตั้งทุกหลัง ชูรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีปลายปี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เสี่ยง ตกชั้นเนชั่นส์ลีก VNL 'วอลเลย์บอลหญิงไทย' เหลือโอกาสแค่นัดเดียว

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เตือนแล้วนะ ชาม 3 ประเภทนี้ ถึงราคาถูกแค่ไหนก็อย่าซื้อเด็ดขาด

สยามนิวส์

สัญญาณ 'เลือดข้นหนืด' ที่คนนอนน้อยต้องระวัง สุขภาพแย่ จิตใจพัง

กรุงเทพธุรกิจ

ถอดรหัสรักอัตลักษณ์ทางเพศ “ชายแต่งตัวเป็นหญิง” รสนิยมที่ไม่ใช่โรคทางจิตเวช

ฐานเศรษฐกิจ

แบรนด์น้ำหอม "ปัญญ์ปุริ" เตรียขยายสาขา ปั้นยอดขาย 4 ปี 3 พันล้าน.

ฐานเศรษฐกิจ
วิดีโอ

ประโยชน์ ยาอัลปราโซแลม ต้องใช้ในผู้ป่วยประเภทไหน | เชื่อหมอ

Ch7HD News - ข่าวช่อง7

“มะเร็งปากมดลูก” กับการรักษาด้วยนวัตกรรมคลื่นความร้อน คืออะไร

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...