7 ข้อเสนอร้อนถึงผู้ว่าธปท. ใหม่ แก้บาทแข็ง-ดัน GDP-ลดหนี้ครัวเรือน
หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติแต่งตั้งนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แทนนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าธปท. หรือผู้ว่าแบงก์ชาติ จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 30 กันยายน 2568
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมือง อดีตผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ REIC ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)เปิดเผยว่า ผู้ว่าธปท.ควรจะเป็น
ประการแรกคือ การเร่งประสานการทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ที่กำลังประสบปัจจัยลบมากมาย เพื่อให้เกิดการ synergy กันระหว่างเครื่องมือทางการเงินและเครื่องมือทางการคลัง
ผู้ว่าธปท. ต้องวางบทบาทของ ธปท. ให้เป็นเชิงรุกด้านนโยบาย การใช้เครื่องมือทางการเงินในการ Facilitate และสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ ภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
และทำให้ GDP ปี 2568 จะสามารถขยายตัวได้มากกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ในปัจจุบันไว้ต่ำมาก เพียงประมาณ 1.4% - 1.8% เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้ สัดส่วนหนี้ครัวเรือน/GDP ของประเทศไทยไม่ลดลงและอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อ Credit Rating ของประเทศให้ต่ำลงอีกด้วย
ผู้ว่าธปท. จะต้องเร่งหารือกับรัฐบาลในการเร่งออก package มาตรการในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยอย่างเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการจ้างงานและการสร้างรายได้ของประชาชนให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือผ่านนโยบายทางการเงินที่ผ่อนปรนกว่าที่ผ่านมา ทั้งเรื่อง
1.ประกาศนโยบายด้านการเงินให้ชัดเจน โดยเฉพาะทิศทางดอกเบี้ย เพื่อเป็นทิศทางการสำหรับการดำเนินธุรกิจ โดยควรมีนโยบายทางการเงินที่ผ่อนปรน ที่จะสามารถลดภาระต้นทุนแก่ภาคการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และกระตุ้นให้เกิดการไหลเข้าของเม็ดเงินมาสู่ภาคการลงทุนมากขึ้น รวมถึงความช่วยเหลือผ่าน Soft Loan ของ ธปท. ที่จะสามารถดำเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ
2.การดูแลอัตราเลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้อ่อนลงกว่าปัจจุบัน โดยอาจอยู่ในอยู่ในอัตรา 34-35 บาท/ดอลล่าร์ เพื่อสามารถกระตุ้นการส่งออกในยุคที่ประเทศไทยถูกกำหนดพิกัดภาษีศุลกากรจากสหรัฐที่สูง และยังเป็นอัตราที่จะสามารถช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศอีกด้วย
3.การดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีความมั่นคง โดยการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้านการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ด้วย
- การผ่อนคลายเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อที่ conservative ให้เหมาะสมกับลักษณะลูกค้าในปัจจุบัน เช่น หลักฐานรายได้ในกลุ่มลูกค้าที่มีอาชีพอิสระค้าขายออนไลน์ และเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงการคำนวณที่มาของรายได้ที่ควรนับรวมรายได้จากงาน part-time และรายได้อื่นที่ผู้กู้ได้มาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อลดลง
- การจัดให้มีโครงการประกันสินเชื่อ (Mortgage Insurance: MI) โดยรัฐบาลและ ธปท. ร่วมกันจัดทำเป็น (1)นโยบายระยะสั้น โดยให้มีการรับประกันสัดส่วนไม่เกิน 20% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยสำหรับผู้กู้ที่มี LTVเกินกว่า 80% เพื่อสร้างความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย โดยหวังว่าจะช่วยให้สัดส่วนการปฏิเสธสินเชื่อลดลงจาก 45% เหลือ 20-25% ที่เป็นสัดส่วนที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2562-2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังพอไปได้ และ (2) นโยบายระยะยาว โดยให้มีการพัฒนาระบบ MI ให้เกิดขึ้น เพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีส่วนของเงินดาวน์ 10% - 20% ภายหลังจากที่ ธปท. ยกเลิการผ่อนผันการบังคับใช้เกณฑ์ LTV ในช่วงกลางปี 2569
4.วางแนวทางในการบริหารจัดการ NPL และ NPA ของสถาบันการเงินลง โดยในปัจจุบันที่มี NPL ในระบบสถาบันการเงินสูงมาก และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นจากสินเชื่อที่ดีที่เริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ (SM)มากขึ้น โดยเร่งรัดให้สถาบันการเงินจัดการ NPL เดิมให้ลดลง และร่วมกับสถาบันการเงินจัดทำมาตรการป้องกันการไหลของกลุ่ม SM ที่มีความเสี่ยงจะเป็น NPL