โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“อภิสิทธิ์”ชี้การเมืองไทยยังไม่ถึงทางตัน แต่กติกามีปัญหา

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เครือเนชั่น” จัดกิจกรรมครบรอบ “55 ปี NATION ผ่าทางตันประเทศไทย Exclusive Talk กับ 3 ผู้นำทางความคิด” Chapter 3 โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นแขกรับเชิญ ดำเนินรายการโดย 3 บก.เครือเนชั่น ได้แก่ นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร นายบากบั่น บุญเลิศ และ นายสมชาย มีเสน

นายอภิสิทธิ์ ตอบคำถามถึงสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ประเทศถึงทางตันแล้วหรือไม่ ว่า จะบอกว่าถึงทางตัน ต้องดูว่ากรณีระบบไม่มีทางออก ในขณะนี้แม้จะมีกรณีของศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร หรือ มีพรรคการเมืองบางพรรค หรือหลายพรรค มีข้อกล่าวหา มีคดีอะไรก็แล้วแต่ แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญ

“สมมติว่าเอาเรื่องนายกฯ ชัดเจนสุด เราคิดว่าคงตัดสินได้อีกไม่นานนัก ถ้าตัดสินว่าไม่ผิดก็เดินต่อ แต่ไม่แน่ใจว่าปฏิกิริยาจากมวลชนเป็นอย่างไร แต่สมมติตัดสินว่าผิด ก็ไม่ถึงทางตัน สภาก็เลือกนายกฯใหม่ โดยที่โครงสร้างของรัฐบาลในปัจจุบัน ก็ยังไม่เห็นอาการพรรคร่วมพรรคไหนไม่อยากเป็นรัฐบาล เขาก็อยู่กันไป และสามารถเลือกบุคคลในบัญชี และมีบุคคลในบัญชีของพรรคเพื่อไทย กรณีของนายชัยเกษม นิติสิริ ตนก็เรียกว่าไม่ถึงทางตัน ถามว่าไปได้หรือไม่ ไปได้ แต่ไปได้ไกลหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง”

นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า ประเทศถูกรุมเร้าหลายอย่าง ปัญหาชายแดน ปัญหาภาษีทรัมป์ ปัญหา คือ การเมืองที่จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้ ต้องเป็นการเมืองเข้มแข็ง ซึ่งปัจจุบันไม่มี แม้ที่ตนบอกว่า ผ่าตรงนี้ไปอีกขั้นหนึ่ง ก็เชื่อว่า ความเชื่อมั่นและโครงสร้างรัฐบาลปัจจุบัน ลำบากมากที่จะแก้ไขเรื่องใหญ่ๆ ในเชิงโครงสร้างได้ เพียงแต่ว่าขณะนี้คนส่วนใหญ่ยอมรับว่า สิ่งดีที่สุดคือ ไม่ควรหันไปหาการเปลี่ยนแปลงนอกระบบ พูดง่ายๆ ถ้าสถานการณ์แบบนี้ เหลือสภาฯ ชุดนี้อีกปีกว่า ๆ สมมติไม่ยอมยุบสภาฯ เขาก็ประคองไป

“เราก็เพียงแต่บอกว่า หวังว่าเลือกตั้งครั้งต่อไป ประชาชนก็ดี พรรคการเมืองก็ดี จะตื่นตัวในเรื่องปัญหาใหญ่ของประเทศ แข่งขันในเรื่องแบบนี้ ถ้าเราโชคดี จะมีพรรคการเมืองที่สามารถหาคำตอบ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และเข้ามา เพียงแต่ทุกคนกังวลว่า ด้วยกติการัฐธรรมนูญปี 2560 มันไม่ง่ายที่จะไปถึงจุดนั้น แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ประคับประคองไป และยังไม่ได้ถึงจุดที่ถึงทางตัน”

อดีตนายกฯ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ ถ้าบอกว่าจะตันหมายความว่า ทางที่ตันแน่ ๆ คือ เกิดเลือกไปแล้วมีปัญหาอีก หลุดอีก จนไม่เหลือใครให้เลือก หรือจนไม่สามารถรวมเสียงข้างมากเลือกใครได้ แต่กรณีนั้นด้วยเวลาที่เหลือ กับ คนที่เหลือ ก็ต้องหลุดกันถี่พอสมควร ประเด็นคือพรรคประชาชน เขาก็พยายามเสนอทางออกอยู่แล้ว กรณีคนไม่ได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาลเสียที พร้อมยกมือให้ แต่เป็นรัฐบาลชั่วคราว อย่างไร การเดินตามระบบมันเดินได้

“เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า กติกาหลายอย่างวันนี้มีปัญหา เพียงแต่ที่ผ่านมาจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องกติกา มันหาจุดพอดีไม่ได้ และด้วยความหวาดระแวงที่แต่ละฝ่ายมีต่อกัน มันเดินไม่ได้ เอาซีกของพวกเรียกร้องว่า ต้องตั้ง สสร. (สภาร่างรัฐธรรมนูญ) ก็ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายประชามติ แม้คลายแล้ว แต่อย่างน้อยต้องทำประชามติอีกหลายครั้ง แล้วสิ่งที่เกิดขึ้น อาจเปลี่ยนแปลงจาก 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยคนเคยสนับสนุนแนวคิดนี้ มันลดลง เพราะคดีนายเศรษฐา ทวีสิน มีการตัดสิน เพราะเกิดปรากฏการณ์ที่สังคมมีความรู้สึกว่า ศาลตัดสินเรื่องพวกนี้ด้วยเหรอ”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า พอเกิดกระแสนี้ 2 พรรคใหญ่ ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เสนอแก้รัฐธรรมนูญเลย เอาเรื่องแก้จริยธรรมออกไป กระแสสังคมตีกลับทันที ถึงแม้จะไม่อยากให้ศาลมาทำ แต่ก็ไม่อยากให้ยกเรื่องจริยธรรมออกไป ทำให้เกิดความหวาดระแวงว่า ที่นักการเมืองอยากแก้รัฐธรรมนูญ เพราะต้องการไม่มีกรอบ ข้อจำกัดตรงนี้หรือไม่

พิธีกรถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาเราคือ การให้ศาลมาชี้เรื่องจริยธรรมมันผิดฝาผิดตัว การตีความจริยธรรมไม่ง่าย ขณะเดียวกันหลักเกณฑ์การพิจารณาของศาล คิดเรื่องการมีพยานหลักฐาน ปราศจากข้อสงสัย แต่สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ คือการรับผิดชอบทางการเมือง หมายความว่า คนละมาตรฐานกัน

เมื่อถามว่าปัญหาที่เกิดคือ ถ้าไม่ให้ศาลทำ ก็กลับไปตั้งคำถาม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากผ่าทางตันประเทศ ต้องเรียนรู้จากอดีต ทำไมเรื่องนี้อยู่ ๆ มาอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ วันก่อนสนทนากับ ผอ.สำนักข่าวญี่ปุ่น เขาก็ถามตนว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเรื่องนี้ ตนบอกว่า แต่ละคดีไปศาล ถ้าเป็นที่อื่นควรลาออกตั้งแต่วันแรกแล้ว พูดง่าย ๆ ถ้าเราไปดูในระบบรัฐสภา ทุกประเทศที่ใช้ระบบนี้ เราเอามาแต่กติกา แต่ไม่เอาประเพณี ไม่เอาวัฒนธรรมทางการเมืองมาด้วย

“บางพรรคได้ประโยชน์ในบางสถานการณ์ บางอย่างก็ไม่ได้ แต่ของแบบนี้ ไทยผ่าทางตันไม่ได้ ถ้าไม่ยอมหาฉันทามติในเรื่องพื้นฐานสุดของสังคม กระบวนการเดิม เราหวังว่าถ้ามี สสร. ก็อาจใช้กระบวนการนั้น พอเกิดความหวาดระแวงอีก สสร.มาจะอิสระจริงหรือไม่ ก็มีทางแก้ เช่น มี TOR ได้หรือไม่

ขอบเขตของรัฐธรรมนูญที่จะร่าง ห้ามแก้ หรือต้องมีเรื่องอะไรบ้าง เช่น จริยธรรม เรื่องสำคัญต้องมีกลไกที่ชัดเจน ทำงานได้ เป็นอิสระ เป็นต้น อย่างน้อยมีกำกับ ไม่ใช่อยู่ดี ๆ หายไปเลย หรือถึงศาล อะไรแบบนี้ แม้แต่หมวด 1-2 คือ อย่ามาทะเลาะกันว่า แก้ได้ หรือห้ามแก้ จริง ๆ หมวด 1-2 แก้ให้ดีขึ้นก็ทำได้ แต่คนที่เรียกร้องให้แก้อยากแก้อะไร”

นายอภิสิทธิ์ ระบุด้วยว่า ทางที่สอง เราใช้วิธีการแก้ที่ใช้คำว่า รายมาตรา แต่แก้เกือบทุกมาตราก็ได้ แล้วมันจะได้เห็นอย่างโปร่งใสว่า ที่กำลังแก้อยู่นั้น มันต้องปรากฏในร่างที่สภาฯ พิจารณา และโดยที่การแก้ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับมาตราที่รัฐธรรมนูญบังคับให้ทำประชามติอยู่ดี อย่างน้อยมีหลักประกันให้ประชาชนมีโอกาสเห็นชอบหรือไม่ อย่างน้อยตอนยกร่าง ทำเหมือนกรรมาธิการวิสามัญฯ เชิญฝ่ายต่าง ๆ ในสภาฯ เข้าไปทำด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ภาษีทรัมป์ “ทีดีอาร์ไอ” ชี้อย่าหวังการค้า วิน-วิน ยิ่งช้า ยิ่งเสียเปรียบ

24 นาทีที่แล้ว

ราคาน้ำมันวันนี้2568 (24 ก.ค. 68) ปตท. บางจากลด 40 สตางค์ อัปเดตราคา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดูบอลสด ทีมชาติไทย พบ อินโดนีเซีย รอบรองศึกชิงแชมป์อาเซียน U23

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม