จับตานายกฯ อิ๊งค์ คุมวัฒนธรรม ดูแล คลุม 3 กลุ่ม ปราสาท ข้อพิพาทโบราณสถานชายแดนไทย-กัมพูชา
กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ให้ อิ๊งค์ -น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หยุดปฏฺบัติหนี้ที่ ปมคลิปเสียงสนทนา กับ สมเด็จ ฮุน เซน ผู้นำกัมพูชา จนนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) อิ๊ง1/2 ล่าสุด วันที่4 กรกฎาคม 2568 ถือฤกษ์ 9.09 น. เข้ากระทรวงวัฒนธรรมเป็นวันแรก สำหรับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ท่ามกลางข้อกังขาหลายฝ่าย ว่าในทางปฏบัติเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ในประเด็นข้อร้องเรียนเรือ่งจริยธรรมจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้หรือไม่
ในเวลาต่อมานพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภา เพื่อให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ด้วยเหตุผลที่ว่า ก่อนหน้านี้ สว.ได้ยื่นคำร้องของสมาชิกต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยถอดถอน น.ส.แพทองธาร จากตำแหน่งนายกฯ
หากมองลึกลงไปมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยมองว่า ภายใต้กรอบอำนาจกระทรวงวัฒนธรรม จะดูแลครอบคลุมไปถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุ โลหะปราสาท รวมถึง 3ปราสาท ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย โบราณสถานชายแดนไทย-กัมพูชาที่กำลังมีข้อพิพาท ในปัจจุบัน สร้างความไม่สบายใจให้กับประชาชนคนไทย และผู้ที่อยู่อาศัยตามแนวชายแดนรอบปราสาทดังกล่าว
สะท้อนจาก ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich อ้างว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีกรมศิลปากร ดูแลโบราณสถาน ปราสาทตาเมือน ตาเมือนธม ตาเมือนโต๊ด กำลังจะดูแลโดยรัฐมนตรีวัฒนธรรม ที่กำลังเป็นประเด็นคลิบเสียงสนทนาหลุดกับ สมเด็จฮุนเซน ประชาชนจะไว้ใจได้อย่างไร ว่าจะไม่ นำโบราณสถานของไทยไปให้ กัมพูชา ทั้งหมด
เช่นเดียวกับ อาจารย์ เจษฎ์ โทณะวณิก เป็นนักวิชาการทางกฎหมาย ระบุว่า กรณีนางสาวแพทองธาร นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องจับตา เพราะมองว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับ3 ปราสาท ปราสาท ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย ที่กำลังมีข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งไม่น่าไว้วางใจ เพราะก่อนหน้านี้ได้คืนวัตถุโบราณให้กับกัมพูชาจำนวนมาก อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์