โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MIND: ยิ่งเล่าเยอะยิ่งรู้จักกันดีจริงหรือ? รู้จัก ‘Floodlighting’ พฤติกรรมแชร์ข้อมูลลงลึกเกินความสัมพันธ์ จนละเลยว่ามันอ่อนไหวและไม่ควรพูด

BrandThink

เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นคนรัก เพื่อนร่วมงาน หรือคนรู้จักใหม่ๆ หลายคนอาจมองว่าการได้พูดแบ่งปันเรื่องราวของตัวเองให้อีกฝ่ายฟังอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น ทว่าจริงๆ แล้วในการแบ่งปันข้อมูลนั้นมีจุดที่เรียกว่า ‘Toxic’ ในความสัมพันธ์อยู่ด้วย นั่นก็คือ การพูดที่เรียกว่า Floodlighting’ หมายถึง การเล่าเรื่องราวของตัวเองที่ลงลึกเกินกว่าความสัมพันธ์ในตอนนั้น จนอีกฝ่ายตั้งรับไม่ทัน เหมือนการเปิดไฟสว่างจ้าใส่หน้าอีกฝ่ายโดยไม่ทันตั้งตัว

โดยคำว่า ‘Floodlighting’ เป็นคำที่ให้นิยามโดย เบรเน บราวน์ (Brené Brown) ผู้เขียนหนังสือ ‘The Power of Vulnerability: Teachings of Authenticity, Connections and Courage’ ที่ระบุว่า ‘Floodlighting’ เกิดขึ้นเมื่อเราเล่าเรื่องส่วนตัวลงลึก และละเอียดเกินไปในทีเดียว เพื่อเลี่ยงความรู้สึกอึดอัดหรือเสี่ยงที่ต้องค่อยๆ เปิดเผยตัวเองจริงๆ

พฤติกรรมดังกล่าวถูกนำไปใช้ในเทรนด์การออกเดตในปัจจุบันด้วย โดย เจสสิกา อัลเดอร์สัน (Jessica Alderson) ผู้ร่วมก่อตั้งแอปหาคู่ So Synced กล่าวกับนิตยสาร Glamour ถึงการนำพฤติกรรม Floodlighting มาใช้ในการเดตว่า “มันคือการเล่าเรื่องส่วนตัวจำนวนมากในคราวเดียว เพื่อทดสอบดูว่าอีกฝ่ายรับได้ไหม และเป็นการเร่งสร้างความใกล้ชิด ดูว่าอีกฝ่ายสามารถรับมือกับด้านเหล่านี้ของคุณได้หรือเปล่า”

อีกทั้งอัลเดอร์สันยังกล่าวเสริมว่า “ในมุมหนึ่ง ฉันคิดว่าพฤติกรรมนี้คล้ายกับความกังวลที่อยากให้คนอื่นยืนยันหรือรับรองเรา มากกว่าจะเป็นการตั้งใจใช้มันเพื่อควบคุมหรือบังคับให้ใครเปิดใจเร็วๆ”แต่อีกด้านหนึ่ง “ฉันเห็นว่าบางคนอาจใช้สิ่งนี้เป็นวิธีบังคับหรือเร่งรัดความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกันเร็วเกินไป”

อย่างไรก็ดี แม้พฤติกรรม Floodlighting จะดูเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ช่วยทำให้เราไม่ต้องฝืนตัวเองเกินไป แต่ว่าพฤติกรรม Floodlighting ก็เป็นเหมือนดาบสองคมอยู่ดี เพราะการเปิดเผยข้อมูลที่ลงลึกเกินไปกว่าความสัมพันธ์อาจทำให้เรื่องราวบางอย่างไปกระทบความรู้สึกอีกคนได้โดยที่เราไม่รู้ตัว อีกทั้งการใช้วิธีเล่าเรื่องตัวเองลึกเพื่อทดสอบอีกฝ่ายยังเป็นเหมือนกระทำที่ไม่ให้เกียรติอีกฝ่าย ด้วยการหลอกล่อให้มาอยู่ในเกมพิสูจน์ตัวตนโดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ตัว และตั้งตัวไม่ทัน

ตัวอย่างเช่น คุณเพิ่งเริ่มคุยกับคนใหม่ในที่ทำงาน คุยกันได้ไม่นาน วันหนึ่งคุณก็บอกเล่าอย่างเปิดอกถึงความสัมพันธ์แย่ๆ ในอดีต เช่น เรื่องที่อดีตแฟนนอกใจ หรือเคยถูกทิ้งกะทันหันจนเสียศูนย์ไปพักใหญ่ คุณยังเล่าต่อว่ามันทำให้คุณเป็นคนขี้ระแวง ไม่มั่นใจเวลามีใครมาสนใจ และกลัวมากที่จะโดนทิ้งอีก ระหว่างที่เล่าเรื่องส่วนตัว คุณก็จ้องดูปฏิกิริยาของเขาอย่างละเอียดว่าเขาดูสงสาร เห็นใจ หรืออึดอัดบ้างไหม เพื่อวัดใจว่าเขาจะยังอยากอยู่ใกล้คุณไหม ยอมรับอดีตของคุณได้ไหม หรือถอยห่างไป

ทั้งนี้แม้ว่าคุณอาจจะมองว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์แต่อีกมุมหนึ่งหากอีกฝ่ายถอยห่างออกไปก็อาจไม่ใช่เพราะว่าเขาไม่ยอมรับอดีตของคุณ แต่อาจเป็นเพราะการกระทำดังกล่าวทำให้เขารู้สึกไม่โอเค และเป็นการเสียมารยาทต่ออีกฝ่ายด้วย

ดังนั้นแม้ว่าการพูดคุยลงลึกระหว่างกันจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ก้าวหน้า แต่ในบางครั้งก็จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้ความไว้ใจและการเปิดใจเติบโตตามธรรมชาติ ไม่เร่งรัด หรือเอาประสบการณ์ส่วนตัวที่บอบบางมาโยนให้อีกคนรับภาระในทันที เพราะความเปราะบางนั้น แม้จะจริงใจแต่ก็ต้องมีขอบเขตและเวลา ให้ทั้งอีกฝ่ายได้พร้อมยอมรับมันอย่างเท่าเทียมกัน และให้เกียรติกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MOODY: ถ้าเวิร์กมากไป ไร้ความบาลานซ์ ลองสร้างจุดสมดุลทางใจให้ได้ก่อน อะไรๆ ในชีวิตอาจดีขึ้น

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

‘ประมูลศิลปะไทย’ ประเด็นร้อนในวงการ จะถกเถียงกันกี่ครั้งก็วนลูป?

ONCE

อากาศดี 'ธุรกิจรุ่ง' สิ่งที่ต้องรู้เรื่องคุณภาพอากาศ

กรุงเทพธุรกิจ

เลิกเหล้ากินอะไรแทน? เปิดลิสต์ของกินลดความอยากแอลกอฮอล์

sanook.com

ก้าวใหญ่ของ Enhypen K-Pop Gen 4 วงแรกที่จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวบนราชมังฯ

The Momentum

“โมเมนต์นี้จะคงอยู่ตลอดไป” Miley Cyrus เผยความรู้สึกหลังจะได้รับดาว Hollywood Walk of Fame

THE STANDARD

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

BrandThink

ภู ธัชชัย วง BUS ร่วมสำรวจป๊อปอัพ PAÑPURI The Garland Gallery

THE STANDARD

เบิร์ดเดย์ “หมูเด้ง” 1 ขวบ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนเด็กเที่ยวฟรี 10–13 ก.ค.นี้

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...