โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MOODY: ถ้าเวิร์กมากไป ไร้ความบาลานซ์ ลองสร้างจุดสมดุลทางใจให้ได้ก่อน อะไรๆ ในชีวิตอาจดีขึ้น

BrandThink

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

บางคนบอกว่า ‘ยิ่งยุ่ง ยิ่งมีคุณค่า’ แต่ลองคิดดีๆ อีกทีดูสิ

บางทีความยุ่งนั้นอาจกำลังพรากเราจากความสุขที่เรียบง่าย และพาเราออกห่างจากตัวเองอย่างช้าๆ โดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้นะ

MOODY อยากชวนทุกคนมาลองคิดถึงตัวเองอีกครั้ง ผ่านแนวคิดแรก เรียกว่า ภาวะเหนื่อยล้าทางจิตใจ (Mental Exhaustion) ไม่ใช่แค่ความง่วงหรืออ่อนเพลียจากการทำงานหนัก แต่มันคือความล้าในระดับลึกลงไป คือล้าที่ใจ ล้าที่ความคิด และล้าที่จะรู้สึกหรือมีชีวิตชีวากับสิ่งรอบตัว

มันแสดงตัวในรูปของความเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยรัก สมาธิเริ่มกระจัดกระจายไม่มั่นคง ความสัมพันธ์ที่เปราะบางหรือห่างไกลโดยไม่รู้ตัว หรือแม้แต่การหลุดลอยไปจากความหมายของทุกสิ่งที่เคยเชื่อมั่น ขณะเดียวกันยังสามารถสังเกตได้จาก อาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนไม่หลับ หรือรู้สึกป่วยโดยไม่มีเหตุผล ก็เป็นเสียงสะท้อนที่ร่างกายส่งมาให้เราหันกลับมาดูแลใจตัวเองบ้าง

ความอ่อนล้าเหล่านี้มีรากมาจาก ‘ความมากเกินไป’ ทำมากไป คิดมากไป รับผิดชอบมากไป และปล่อยให้ชีวิตตกอยู่ในภาวะที่จิตใจแทบไม่มีพื้นที่ได้หายใจ แนวคิด Burnout ในทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันโดยไม่มีจังหวะพักหรือเติมพลังใจอย่างพอเพียง เราจะค่อยๆ สูญเสียแรงจูงใจ ความหวัง และความเชื่อมโยงกับตัวเองและสิ่งที่ทำ

คำถามสำคัญจึงไม่ใช่แค่ ‘เหนื่อยแค่ไหน’ แต่อาจต้องย้อนกลับไปถามตัวเองให้ลึกกว่านั้นว่า “เรากำลังเติมเต็มชีวิตอยู่จริงๆ หรือแค่ฝืนให้มันเดินต่อไปกันแน่”

ด้านทฤษฎี Self-Determination Theory โดยนักจิตวิทยาเอ็ดเวิร์ด เดซี (Edward Deci) และ ริชาร์ด ไรอัน (Richard Ryan) ให้คำตอบไว้ได้น่าคิด พวกเขาชี้ว่า แรงจูงใจภายในที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อเราสัมผัสได้ถึง 3 สิ่งในชีวิต ได้แก่ ความเป็นอิสระ (autonomy) ที่ให้เรารู้สึกว่าชีวิตนี้เป็นของเราเอง ความสามารถ (competence) ที่ทำให้เราเชื่อว่าเราทำอะไรได้ดี และความสัมพันธ์ (relatedness) ที่ทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้อยู่ลำพัง

แต่ในโลกการทำงานที่เราถูกกำหนดเป้าหมายแทน ถูกควบคุมด้วยเดดไลน์ และถูกประเมินจากตัวเลข เราอาจค่อยๆ ห่างออกจากสิ่งเหล่านี้ จนรู้สึกเหมือนเป็นแค่ผู้รับคำสั่ง แต่ไม่ใช่เจ้าของชีวิตของตัวเองอีกต่อไป และเมื่อสิ่งที่ทำทุกวันไม่มีพื้นที่ให้ ‘ใจ’ ได้รู้สึกมีส่วนร่วม ความรู้สึกหมดแรงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย

ในเวลาเดียวกัน เราอาจเข้าใจผิดว่า Work-Life Balance คือการได้ทำงานที่บ้านหรือจัดการชีวิตส่วนตัวได้อย่างยืดหยุ่น แต่ในความเป็นจริง ‘ความสะดวกไม่เท่ากับความสมดุล’ การทำงานจากที่บ้านอาจช่วยให้เราพาสุนัขไปเดิน เตรียมอาหาร หรือดูแลคนในครอบครัวระหว่างประชุมได้ก็จริง

แต่อีกด้านหนึ่ง มันอาจทำให้เส้นแบ่งระหว่างงานกับชีวิตพร่ามัว จนเราทำงานตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว งานวิจัยจำนวนมากยังพบว่าคนทำงานทางไกลมักทำงานมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง และความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานอย่างต่อเนื่องกับภาวะหมดไฟก็ยังคงอยู่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้านหรือออฟฟิศ

จอห์น เพนเคเวล (John Pencavel) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระบุว่าหลังจาก 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงอย่างชัดเจน และเมื่อเกิน 55 ชั่วโมง ผลลัพธ์แทบไม่เพิ่มขึ้นเลย

ลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vandercam) ผู้เขียนหนังสือด้านการบริหารเวลา ยังพบว่า 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คือจุดที่พนักงานมีความสุขที่สุด และสมองของเราจะทำงานได้ดีขึ้นหากได้รับเวลาว่างไปซึมซับสิ่งใหม่ๆ เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ บทสนทนา หรือเพียงแค่การอยู่กับตัวเองเงียบๆ ก็ช่วยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้แล้ว

ดังนั้น สิ่งที่เราควรถามตัวเองจึงอาจไม่ใช่ “วันนี้ต้องทำอะไรให้เสร็จ” แต่คือ “วันนี้ได้ใช้เวลากับตัวเองบ้างไหม”

เพราะในโลกที่ให้คุณค่ากับประสิทธิภาพ เราอาจหลงลืมไปว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เติบโตจากความเร่งรีบ แต่งอกงามในจังหวะที่เราได้หายใจอย่างเต็มปอด มองออกนอกหน้าต่างอย่างวางใจ แล้วปล่อยให้ใจได้หยุดอยู่กับปัจจุบัน

แน่นอน การสร้างจุดสมดุลทางใจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนงาน ไม่ต้องหนีเมืองไปเข้าป่า หรือหยุดทุกอย่างในชีวิต (เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้) แต่อาจเริ่มจากพื้นที่เล็กๆ ที่เรียกว่า ‘ใจ’ ลองตั้งเวลาในแต่ละวันเพียง 10 นาที เพื่ออยู่กับตัวเองเงียบๆ

ไม่ตอบแชต ไม่ดูหน้าจอ ไม่ต้องเร่งรีบไปไหน แค่ฟังว่าใจเรากำลังรู้สึกอะไร อาจเขียนบันทึกสั้นๆ ก่อนนอน ดื่มชาเงียบๆ หรือเดินเล่นโดยไม่ต้องมีจุดหมาย ความเงียบนั้นไม่ใช่ความว่างเปล่า แต่คือการซ่อมแซมภายในที่เรามักมองข้าม

การกลับมารับผิดชอบชีวิตอย่างแท้จริง ไม่ได้แปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีหรือให้สำเร็จ แต่คือการรับรู้ว่า อะไรคือสิ่งที่เราเลือกเอง อะไรคือสิ่งที่เราให้คุณค่าจริงๆ และอะไรที่ยังทำให้เรารู้สึกว่าเรายังเป็น ‘เรา’ อยู่

ในบางวัน การไม่ทำอะไรก็อาจมีความหมายมากกว่าการทำทุกอย่างให้สำเร็จ และบางครั้ง การลดความเร็วในชีวิตลงบ้างก็ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่คือการกลับมาใช้ชีวิตกับตัวเองอีกครั้งต่างหาก

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MIND: ยิ่งเล่าเยอะยิ่งรู้จักกันดีจริงหรือ? รู้จัก ‘Floodlighting’ พฤติกรรมแชร์ข้อมูลลงลึกเกินความสัมพันธ์ จนละเลยว่ามันอ่อนไหวและไม่ควรพูด

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

หยุดซักผ้าร่วมคนอื่น! อาจนำเชื้อโรคร้ายสู่ร่างกายและครอบครัว

Thai PBS

‘ประมูลศิลปะไทย’ ประเด็นร้อนในวงการ จะถกเถียงกันกี่ครั้งก็วนลูป?

ONCE

อากาศดี 'ธุรกิจรุ่ง' สิ่งที่ต้องรู้เรื่องคุณภาพอากาศ

กรุงเทพธุรกิจ

เลิกเหล้ากินอะไรแทน? เปิดลิสต์ของกินลดความอยากแอลกอฮอล์

sanook.com

ก้าวใหญ่ของ Enhypen K-Pop Gen 4 วงแรกที่จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวบนราชมังฯ

The Momentum

“โมเมนต์นี้จะคงอยู่ตลอดไป” Miley Cyrus เผยความรู้สึกหลังจะได้รับดาว Hollywood Walk of Fame

THE STANDARD

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

BrandThink

ภู ธัชชัย วง BUS ร่วมสำรวจป๊อปอัพ PAÑPURI The Garland Gallery

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...