โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

สสส.-เครือข่ายงดเหล้า หนุนต้นแบบพื้นที่สงขลา งดเหล้าเข้าพรรษา

เดลินิวส์

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
สสส. สานพลัง เครือข่ายงดเหล้า หนุนต้นแบบ “ชมรมฯ และกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร” พื้นที่สงขลา ชวน ช่วย ชมเชียร์ ชุมชนร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา เปลี่ยนวิถีสุขภาพ เหตุรพ.ศักยภาพสูง ช่วยได้ไม่ถึง 20% ขณะที่ความท้าทายตลาดเหล้าใหม่ พบเด็กผู้หญิง เป็นนักดื่มเพิ่มมากขึ้น

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่จังหวัดสงขลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ลงพื้นที่ติดตามการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา พร้อมร่วมกิจกรรม “ชวน ช่วย ชมเชียร์” โดยชมรมคนหัวใจเพชร และกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร ที่ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนปลอดเหล้า ควบคู่กับการสร้างอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่าการมีสุขภาพที่ดีเป็นรากฐานของสุขภาพที่ดี ของชุมชน ทั้งนี้แม้โรงพยาบาลจะมีศักยภาพในการรักษา แต่พิสูจน์แล้วทั่วโลกโรงพยาบาลช่วยได้ไม่ถึง 20% ดังนั้นสิ่งต่างๆ ที่สสส.ทำไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหล้า เลิกบุหรี่ ลดการกินหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกาย อาหารที่ปลอดภัยหรือวิถีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ต่อให้เป็นมหาเศรษฐีก็สามารถป่วยได้ ดังนั้นเราเชื่อว่ามีแต่พลังองค์ชุมชน ทางสังคมที่ช่วยเหลือกันเข้าใจวิถีชีวิต สำหรับการเลิกเหล้าเข้าพรรษาปัจจุบันเรารู้ว่าในเมืองไทยขายอยู่ 6 แสนล้านบาทต่อปี และมีกฎหมายใหม่ สามารถโฆษณาสื่อทางสังคมได้เด็กรุ่นใหม่ คนจน ผู้หญิงมีการดื่มมากขึ้นกลายเป็นค่านิยมอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นกฎหมายบางเรื่องจัดการไม่ได้แต่มีเพียงชุมชนที่เข้มแข็งที่จะสามารถจับและลดอบายมุขเหล่านี้ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและลดภาระต้นทุนของครอบครัว

นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน และสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ ถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังของชุมชนที่มีชีวิตที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมการดื่ม ผ่านความร่วมมือของภาคีในพื้นที่ ตนขอชื่นชมกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร ที่ใช้กลไกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ช่วยลดการพึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยังสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพของผู้หญิงในพื้นที่ เช่น การแปรรูปขนมพื้นบ้าน ข้าวต้มใบพ้อ พริกแกงใต้ กล้วยฉาบ ซึ่งเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์วัฒนธรรมของถิ่นใต้ได้อย่างงดงาม และยกย่องกลุ่มเยาวชนสานศิลป์ถิ่นใต้ ที่นำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และดนตรีพื้นบ้าน มาใช้เป็นเครื่องมือสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชน ห่างไกลอบายมุข และ สสส. ยังคงยึดมั่นในบทบาทจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังให้ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยที่มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในมิติของการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต้องอาศัยแนวทางที่เข้าใจมนุษย์ เคารพวิถีชีวิต และสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้ทุกคนมีทางเลือกที่ดี

นายธีระ วัชรปราณี ผอ.สคล. กล่าวว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2546 และผลักดันสู่ระดับนโยบาย ทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ ตั้งแต่ปี 2565 -2567 มีภาคีเครือข่ายฯ เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 เป็น 3,500 เครือข่าย, ชุมชน โดยลงนามผ่านโปรแกรม SoBer CHEERs จำนวน 1,010 แห่ง และมีผู้บวชใจงดเหล้า 32,495 คนในปีล่าสุด, ผู้เลิกเหล้าตลอดชีวิต หรือคนหัวใจเพชรจาก 600 คนเป็น 12,598 คน ซึ่งในปี 2567 ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเลิกเหล้ากว่า 93 ล้านบาท ส่วนสถานการณ์ที่สงขลานั้น จากรายงานสถานการณ์ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่า จังหวัดสงขลาในปี 2565 มีดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์อยู่ที่ร้อยละ 0.430 ติดอันดับที่ 52 ของประเทศ ความชุกของนักดื่มอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 16.4 โดยร้อยละ 50.9 ดื่มแล้วขับ และพบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขายสูงถึงร้อยละ 14.1 ซึ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ

นายณัฐวัฒน์ กิตติธนาชูพันธ์ ผู้จัดการเครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่า จังหวัดสงขลามีโรงกลั่นและโรงแช่สุราที่ได้รับอนุญาต 72 แห่งมากที่สุดในภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านควนเหนือและบ้านหัวนอนวัด ที่เคยมีการผลิตสุราชุมชนจำนวนมาก ปัจจุบันมีการขับเคลื่อน ชุมชนคนสู้เหล้า ผ่านกิจกรรมหลากหลาย ทั้งงดเหล้าเข้าพรรษา ชวนร้านค้าหยุดขาย สร้างอาชีพทางเลือก รวมถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการลงนาม MOU กับหน่วยงานภาครัฐและวัฒนธรรม จัดงานบุญปลอดเหล้า พัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ และขยายต้นแบบ CBTx เพื่อฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติด พร้อมเตรียมจัดเวทีเชิดชู “คนหัวใจหิน เหล็ก เพชร” หลังออกพรรษา

นายณัฐวัฒน์ กล่าวต่อว่า พื้นที่สงขลาได้ร่วมขับเคลื่อน 3 ต้นแบบสร้างสุขภาวะยั่งยืน ได้แก่ 1.ชมรมคนหัวใจเพชร ต.ท่าช้าง ก่อตั้งเมื่อปี 2564 เริ่มจากการเลิกเหล้าด้วยตนเองและชวนชุมชนร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา 2.กลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร เริ่มดำเนินการปี 2566 ต่อยอดจากกลุ่มแปรรูปอาหารในชุมชน มุ่งส่งเสริมอาชีพให้ผู้หญิงที่เลิกเหล้า โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตสินค้า เช่น พริกแกงใต้ กล้วยฉาบ ข้าวต้มใบพ้อ และขายในตลาดนัด เพิ่มรายได้และความมั่นคงในครัวเรือน 3.กลุ่มเยาวชน "สานศิลป์ถิ่นใต้" ภายใต้การสนับสนุนของ “ศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้าน” สร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สะท้อนถึงพลังของชุมชนในการรวมพลังเพื่อพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยแนวทางที่ผสาน “การงดเหล้า” เข้ากับการสร้างอาชีพ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเสริมสร้าสังคมปลอดเหล้าของจังหวัดสงขลา.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

หนุ่มใหญ่ขับเก๋งหลุดโค้ง ข้ามเกาะชนกระบะพังยับ ร่างติดคาซากเจ็บสาหัส จนท.เร่งช่วยเหลือ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วช.หนุนเยาวชนแข่งขัน ‘หนูน้อยจ้าวเวหา’ เสริมสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์-โดรน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อิทธิฤทธิ์ “พายุวิภา” ฝนถล่ม ลมกระโชก ต้นไม้ใหญ่โค่น กำแพงล้มขวางถนนชุลมุน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปกครองเมืองกรุงเก่าสุดอึด! ซุ่มกลางป่านานกว่า 3 ชม. ก่อนจู่โจมตะครุบพ่อค้ายาบ้า-ของกลางอื้อ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม