โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ดัชนีความเชื่อมันผู้ค้าปลีกดิ่งลง ทำนิวโลว์ในรอบ 42 เดือน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ชง 2 แนวทางเร่งด่วนฟื้นกำลังซื้อ ปลุกท่องเที่ยวไทย

BTimes

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • อัพเดตข่าวหุ้น ธุรกิจ การเงิน การลงทุน การตลาด การค้า สุขภาพ กับ บัญชา ชุมชัยเวทย์ - BTimes.Biz

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผย ดัชนีความเชื่อมันผู้ค้าปลีก (RSI – Retail Sentiment Index) เดือนมิถุนายนปรับลดลงต่อเนื่อง New Time Low ในรอบ 42 เดือน สะท้อนภาพกำลังซื้อในประเทศที่ยังเปราะบาง ขณะที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนชะลอการลงทุน เพื่อรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐอย่างเป็นรูปธรรม สมาคมฯ จึงขอเสนอ 2 แนวทางเร่งด่วน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลชุดใหม่ให้สามารถเดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายณัฐ วงศ์พานิช ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า “ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาภาคค้าปลีกต้องเผชิญแรงกดดันรอบด้าน ทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง การบริโภคที่ชะลอตัว การลงทุนที่ลดลง และปัจจัยภายนอก อาทิ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นเต็มที่ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยลดลง นโยบายภาษีของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าไทยจะสามารถเจรจาให้ลดลงต่ำกว่า 36% หรือใกล้เคียงกับประเทศในแถบเอเชียอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กในธุรกิจที่ต้องเปิดเสรี ได้หรือไม่ ซึ่งมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยและการจ้างงานในระบบ รวมถึงความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา ล้วนส่งผลต่อบรรยากาศการจับจ่ายและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในเดือนมิถุนายนยังคงปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทุกภูมิภาค ทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ ความถี่ในการใช้จ่าย โดยคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 3 สะท้อนกำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวและระมัดระวังในการจับจ่าย ถึงแม้จะมีสัญญานบวกจากการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แต่ยังขาดเสถียรภาพทางการเมืองที่ชัดเจน ขณะที่ภาคเอกชนเฝ้ารอการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ และต้องการเห็นมาตรการฟื้นฟูที่ลงมือปฏิบัติได้จริงใน ช่วงครึ่งปีหลัง

สมาคมฯ จึงขอเสนอแนวทาง 2 แกนหลัก เพื่อเร่งฟื้นเศรษฐกิจในช่วงเวลาสำคัญ ได้แก่

1.อัดฉีดเม็ดเงินรัฐอย่างตรงจุด เพื่อฟื้นกำลังซื้อทั่วประเทศ

· เร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านงบล็อตแรก 1.15 แสนล้านจากกรอบงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน โดยควรกระจายการลงทุนครอบคลุมทั่วประเทศ ในด้านท่องเที่ยวควรเร่งมาตรการความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมกันนี้รัฐควรจัดสรรงบคงเหลืออีก 40,000–50,000 ล้านบาท เพื่อมุ่งกระตุ้นกำลังซื้อฐานรากให้มากขึ้นกว่านี้ และช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งมีมากกว่า 90% ของภาคธุรกิจทั้งหมด ครอบคลุม 50-70% ของการจ้างงานโดยรวม ผ่านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

· ผลักดันโครงการ “Easy e-Receipt เฟส 2” หรือช้อปดีมีคืน ช่วงระหว่างกันยายน-ธันวาคมนี้ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในฤดูไฮซีซั่นและเทศกาลเฟสทีฟต่างๆ พร้อมดึงผู้ค้ารายย่อยเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเป็นธรรม โดยเสนอให้มีการ ปรับเงื่อนไขให้เข้าร่วมได้สะดวกขึ้น ด้วยการรวมสินค้าทั่วไปและสินค้า OTOP รวมถึงเพิ่มเติมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในวงเงินรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ มากกว่า 100,000 ล้านบาท จากเดิมราว 70,000 ล้านบาท

· เร่งเบิกจ่ายงบปี 2568 ให้แล้วเสร็จก่อน 30 ก.ย. 68 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดปีงบประมาณ เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว พร้อม จัดทำร่างงบประมาณรายจ่าย ปี 2569 ให้เป็นไปตามกรอบเวลา เพื่อความต่อเนื่องของนโยบายและการดำเนินการอย่างราบรื่น

2. ดันแม่เหล็กท่องเที่ยวผ่าน Thailand Shopping Paradise ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพ

ทดลองมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ทันที ณ ร้านค้า (Instant Tax Refund) สำหรับนักท่องเที่ยวที่มียอดซื้อขั้นต่ำ 3,000 บาท โดยอาจเริ่มจากร้านค้าสมาชิกในย่านช้อปปิ้งหลักของกรุงเทพฯ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

ลดภาษีนำเข้า (Import Tax) สำหรับสินค้าในกลุ่ม แฟชั่น เสื้อผ้า น้ำหอม และเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันมีอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 20–30% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และลดแรงจูงใจในการซื้อสินค้าจากตลาดสีเทา

พิจารณาจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Free Tax Zone) ในจังหวัดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และส่งเสริมการกลับมาเที่ยวซ้ำในระยะยาว

จัดมหกรรมลดราคาสินค้าทั่วประเทศ ในรูปแบบเดียวกับ “Great Singapore Sale” (งานสิงคโปร์ลดทั้งเกาะ) โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างห้างค้าปลีก ร้านอาหาร โรงแรม และผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อสร้างบรรยากาศจับจ่ายทั่วประเทศ เป็นต้น

เสนอขยายระยะเวลาวีซ่าของนักท่องเที่ยวรัสเซียจาก 30 วัน เป็น 45 วัน หลังสิ้นสุดโครงการเดิม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและกระจายรายได้ในภาคการท่องเที่ยว โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวจากรัสเซียถือเป็นกลุ่มคุณภาพที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูงและมักนิยมพำนักระยะยาวในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทางภาครัฐกำลังดำเนินการในด้าน การปราบปรามธุรกิจ “นอมินี” สวมสิทธิ์โดยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต และการคุมเข้ม “สินค้านำเข้าราคาถูกไม่ได้มาตรฐาน” ทางสมาคมฯ มองว่ารัฐมาถูกทางและเริ่มเห็นผลลัพธ์บ้างแล้ว แต่ขอเสนอให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง

ทั้งนี้นอกจากมาตรการฟื้นเศรษฐกิจที่ทางสมาคมฯ พร้อมที่จะร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมแล้ว ทางด้านบทบาทของสมาคมฯ ยังให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งเสริมค้าปลีกสีเขียว (Green Retail) โดยร่วมกับสมาชิกในเครือข่ายจัดโครงการ “Hug The Earth” (ฮักโลก) เพื่อรณรงค์การบริโภคอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดพื้นที่จำหน่าย “สินค้าฉลากรักษ์โลก” มากกว่า 20,000 รายการทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ สมาคมฯ ยังเดินหน้าเพิ่มโอกาส สร้างรายได้ ให้ผู้ประกอบการรายย่อยทั้งในกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอี ทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือกับห้างร้านกลุ่มค้าปลีกชั้นนำ เช่น กลุ่มเซ็นทรัล จัดงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าชุมชน, เดอะมอลล์ จัดเทศกาลผลไม้และของกินจากร้านดังทั่วไทย, โก โฮลเซลล์ เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า OTOP จากทั่วประเทศ, ซีพี แอ็กซ์ตร้า จัดงานแม็คโคร โชห่วยออนทัวร์รวมมิตร เสริมศักยภาพร้านโชห่วยไทย, บิ๊กซี จัดเทศกาลผลไม้ไทย และท็อปส์ จัดโซนจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นต้น

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเชื่อว่าหากรัฐบาลผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีศักยภาพเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ ควบคู่กับความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งและเติบโต อย่างยั่งยืน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BTimes

ไทยมาถึงยุคนี้ วัยรุ่นเจนซี-เจนวาย ไม่เรียนต่อ | คุยกับบัญชา | 11 มิ.ย. 68

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ซิตี้แบงก์” เปิด 6 เทรนด์ภาคธุรกิจ รับมือกำแพงภาษีมาตรการภาษี’โดนัลด์ ทรัมป์‘ โดนกันทั่วโลก จุดพลิกผันครั้งใหญ่สุดในรอบเจ็ดทศวรรษ ของประวัติศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

GWM เดินหน้ากลยุทธ์ Presenter Marketing ดึง “ป้อง ณวัฒน์” นั่งพรีเซ็นเตอร์คนไทย พร้อมเปิดตัว NEW GWM TANK 500 DIESEL รถ PPV 7 ที่นั่ง สุดพรีเมียม

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดเหตุผลเด็ด คนอเมริกันเมินทอง สวนลงทุนคนเอเชีย | คุยกับบัญชา | 30 มิ.ย. 68

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ประชุม คกก. คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร เห็นชอบ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเก็บรักษาและแปรรูปลำไยด้วยการอบแห้งหรือรมด้วยก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์

สวพ.FM91

Broker ranking 17 Jul 2025

Manager Online

“ทักษิณ” อุบชื่อผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ ยืนยันเข้า ครม.สัปดาห์หน้า

PostToday

“ทักษิณ” ชี้ไทยยังไม่ไปไหนติดหล่มปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจ

การเงินธนาคาร

BBL อวดกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 68 เติบโต 9.5% แตะ 24,458 ล้าน

PostToday

‘ทักษิณ’ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย ผุดใช้คริปโตซื้อของได้ ฝึกเทรนเอไอให้คนไทย

เดลินิวส์

ONYX ปรับอิมเมจโรงแรม “อมารี” ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่แตกต่าง

Manager Online

“Robinhood RETURN” ส่งต่อภารกิจรักษ์โลกกับ 5 ร้านอร่อย

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

SCB EIC มองตลาดโทรคมนาคมไทย หลังการประมูลคลื่นความถี่ มีผู้ให้บริการหลักเพียง 2 ราย ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จำกัด 

BTimes

พาณิชย์ เผย ไทยยื่นข้อเสนอใหม่ต่อรองลดภาษีนำเข้าสหรัฐ 0% หลายรายการ เตรียมแผนเยียวยากลุุ่มได้รับผลกระทบ

BTimes

ตลาดหุ้นไทยเปิดดีดขึ้นแรง 6.61 จุด รีบาวด์ รับบาทแข็ง เป็นจิตวิทยาบวกต่อ SET หลังไทยยื่นข้อเสนอการคัาสหรัฐแล้ว 

BTimes
ดูเพิ่ม
Loading...