โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"ZSL" และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เปิดเวทีเสวนาสาธารณะว่าด้วย THAILAND TAXONOMY 2.0

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society of London: ZSL) จัดเสวนาสาธารณะหัวข้อ “Thailand Taxonomy 2.0: ช่องว่าง ข้อสะท้อน และมุมมองจากภาคประชาสังคม” ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ภายใต้โครงการ UK PACT (Partnering for Accelerated Climate Transitions) โดยร่วมมือกับพันธมิตรโครงการ ได้แก่ บริษัท ป่าสาละ จำกัด (Sal Forest) แนวร่วมทางการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand: FFT) องค์กร Madre Brava และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute: TDRI) โดยงานเสวนาในครั้งนี้ได้เปิดเวทีให้ตัวแทนจากภาคประชาสังคม สถาบันวิจัย และองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาส ว่าด้วยการปรับใช้ Thailand Taxonomy ระยะที่สอง

งานเสวนาดังกล่าวได้จัดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมคนทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดย Thailand Taxonomy 2.0 หรือมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (มาตรฐานการจัดกลุ่มฯ) ระยะที่ 2 ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมอีก 4 ภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต และภาคการจัดการของเสีย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อวางแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนและน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนามาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ของตนเองเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


Thailand Taxonomy ครอบคลุมภาคเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีความท้าทายด้านเกณฑ์การประเมินและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ

ในการประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจใดเข้าข่ายว่าเป็น “กิจกรรมสีเขียว” Thailand Taxonomy ใช้ระบบจำแนกประเภทแบบ “สัญญาณไฟจราจร” ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง (ช่วงเปลี่ยนผ่าน) และสีแดง ซึ่งเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการประเมินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการสำคัญคือ Do No Significant Harm (DNSH) และ Minimum Social Safeguards (MSS)

ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ในงานเสวนาครั้งนี้ โดยได้นำเสนอภาพรวมของโครงสร้างมาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ฉบับใหม่ ความสอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืนระดับสากล และกลไกการดำเนินงานในประเทศไทย Thailand Taxonomy 2.0 พัฒนาขึ้นผ่านกระบวนการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพันธมิตรระหว่างประเทศ และข้อเสนอแนะจากภาคประชาสังคมในประเทศ โดยแม้ว่าแนวทางจะตั้งอยู่บนหลักวิทยาศาสตร์ มีความโปร่งใส และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทยได้ แต่การปรับใช้มาตรฐานสากลในบางภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามา ยังคงมีความท้าทาย เมื่อบริบทด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ฉบับนี้จึงถูกออกแบบให้เป็นเอกสารที่สามารถปรับปรุงได้ (living document) เพื่อให้ทันสมัยต่อสถานการณ์ ปลดล็อกโอกาสด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน และช่วยนำทางการเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนไปสู่กิจกรรมที่ยั่งยืน

ต่อมา ได้เปิดเวทีพูดคุยให้ตัวแทนจากพันธมิตรโครงการ ได้แก่ ZSL, FFT, Madre Brava, TDRI และมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อ Thailand Taxonomy 2.0 โดยเฉพาะประเด็นความกังวลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ DNSH และ MSS รวมถึงความเสี่ยงในการฟอกเขียว (greenwashing) ที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรฐานใน มาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ระยะที่ 2 นี้

สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าทีมวิจัย แนวร่วมทางการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย กล่าวว่า “เราขอขอบคุณ UK PACT ที่สนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างเป็นธรรม Thailand Taxonomy ถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีศักยภาพ แต่หากจะให้เกิดประสิทธิผลจริง จำเป็นต้องมีความโปร่งใส ตั้งอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และสะท้อนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบนโลกความเป็นจริง ซึ่ง ณ ตอนนี้ เรายังเห็นช่องว่าง เช่น กิจกรรมที่แม้จะผ่านเกณฑ์ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในระยะต่อไป เราเสนอให้มีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีบทบาท เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความรับผิดชอบในระบบโดยรวม”

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการประเทศไทย Madre Brava กล่าวเสริมว่า “ภาคเกษตรมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงอย่างเพียงพอในเอกสารฉบับนี้ แม้มาตรฐานการจัดกลุ่มฯ จะสื่อถึงผลกระทบจากภาคปศุสัตว์ แต่ยังมีช่องว่างสำคัญ เช่น ประเด็นห่วงโซ่อุปทานและสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เราจึงขอเสนอให้มีการนำหลักการเปลี่ยนผ่านการบริโภคโปรตีนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานการจัดกลุ่มฯ เพื่อให้การผลิตอาหารในประเทศไทยสอดคล้องกับข้อตกลงปารีส”

ปุณญธร จึงสมาน นักวิจัยโครงการพลาสติก มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การบรรจุภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการจัดการของเสียไว้ใน Thailand Taxonomy 2.0 ถือเป็นก้าวสำคัญ แต่จำเป็นต้องก้าวข้ามการจำแนกตามเกณฑ์ทางเทคนิคและเสนอการปฏิรูปปัญหาเชิงระบบ การลงทุนและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกในปัจจุบันมักเน้นไปที่การจัดการของเสียโดยไม่ได้แก้ไขสาเหตุหลักของปัญหา ซึ่งก็คือการผลิตมากเกินไป นอกจากนี้ แนวทางแก้ไขที่ผิดทาง เช่น การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน จะทำให้มีความต้องการขยะมากขึ้น ลดแรงจูงใจในการลดการผลิตพลาสติกลง และก่อให้เกิดการผูกขาดคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งยังผลิตออกมาในอัตราที่ไม่ยั่งยืน หากมาตรฐานการจัดกลุ่มฯ สามารถป้องกันและปฏิเสธการใช้แนวทางแก้ไขที่ผิดทางได้ ภาคการเงินก็จะสามารถช่วยพลิกวิกฤตขยะพลาสติกและสภาพอากาศ”

Thailand Taxonomy 2.0 และก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน

งานเสวนาปิดท้ายด้วยข้อเรียกร้องให้คณะทำงานขับเคลื่อนการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่โครงการหรือกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทบทวนและเสริมความชัดเจนของเกณฑ์ DNSH และ MSS ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในระยะถัดไป พร้อมทั้งเสนอให้เดินหน้ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เมย์ โม วาฮ์ ผู้อำนวยการสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย กล่าวว่า “ZSL ภูมิใจที่ได้สนับสนุนเวทีเสวนาในครั้งนี้ ภายใต้โครงการ UK PACT ซึ่งตลอด 17 ปีที่ ZSL ได้ดำเนินงานในประเทศไทย เรามุ่งส่งเสริมการเงินที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับพันธมิตร รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้กำหนดแนวทาง Thailand Taxonomy โดยเรามีความเห็นว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มฯ ของประเทศไทยสามารถก้าวไปไกลกว่าการเป็นเพียงเครื่องมือด้านการเงินสีเขียว โดยมีศักยภาพในการส่งเสริมการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยและสายพันธุ์ต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น การเสริมสร้างตัวชี้วัดด้านความหลากหลายทางชีวภาพและกลไกคุ้มครองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้”

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

โฆษก ศบ.ทก. ระบุ แก้ปัญหาชายแดนเริ่มมีสัญญาณที่ดี เผย มาตรการเข้ม จับกุมเอี่ยวอาชญากรรมข้ามชาติเพิ่ม ลั่น ฝ่ายไทยห้ามส่งสินค้าผ่านแดน

25 นาทีที่แล้ว

โฆษกทบ.เผยทหารเขมรลาดตระเวนถี่ขึ้นในพื้นที่พิพาท ย้ำไม่มีเหตุปะทะ

27 นาทีที่แล้ว

แฉ“รัสเซีย”สุดโหดใช้“อาวุธเคมี”ถล่มทั่ว“ยูเครน”

31 นาทีที่แล้ว

รวบชาวจีน สวมพาสปอร์ตเม็กซิโกที่ถูกแจ้งหาย ใช้บินออกนอกประเทศ

34 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

ผู้ถือหุ้นกู้ CMC257A โหวตผ่านเลื่อนไถ่ถอน 9 เดือน ปรับดอกเบี้ย 7.40%

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“พิชัย” บินกลับไทย รับดีล “ภาษีสหรัฐ” ยังไม่จบ เตรียมยื่นข้อเสนอใหม่

ข่าวหุ้นธุรกิจ

นักเทรดออปชั่นเตรียมพร้อม! Bitcoin-Ethereum จ่อพุ่งแรง ก.ค.

ทันหุ้น

“บัวหลวง” เชียร์ซื้อ 3 หุ้นค้าปลีก รับยอดขายสินค้ามาร์จิ้นสูง-ต้นทุนลด

ข่าวหุ้นธุรกิจ

นาโนเทค–สวทช. ต่อยอดสารหน่วงไฟจากเปลือกหอย สู่โครงการ “โรงเรียนปลอดภัย” ลดเสี่ยงอัคคีภัยด้วยนวัตกรรมขยะอาหาร

สยามรัฐ

ไทยยังปิดดีลภาษีกับสหรัฐไม่ได้ ‘พิชัย‘ รับต้องทำงานหนักขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ

Evening Report 2025-07-04

StockRadars

Nvidia จ่อขึ้นแท่นบริษัทมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ แซง Apple

SpringNews

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...