โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฮยอนจู ‘ออนนี่’: หญิงแกร่งแห่ง Squid Game ที่นักแสดงชาย ‘พัคซองฮุน’ อยากให้คนดูทุกเพศเข้าใจ รับฟัง เอาใจช่วย ‘หญิงข้ามเพศ’ ซึ่งผ่านเรื่องยากๆ ไม่ใช่แค่ในซีรีส์ แต่รวมถึงชีวิตจริง

Mirror Thailand

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

***มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของซีรีส์

ปิดฉากลงแล้วกับซีรีส์ลุ้นระทึกเอาตัวรอดที่สะท้อนโลกแห่งทุนนิยม ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาสังคมต่างๆ อย่าง‘Squid Game 3’ ที่แม้บทสรุปจะมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ แต่ท่ามกลางความโกลาหลมากมายในเกมปลาหมึกที่ผ่านมา ซีรีส์เรื่องนี้ก็นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างหลายๆ ตัวละครขึ้นมาให้คนดูรัก ผูกพัน และอยากเอาใจช่วย กลับกัน บางตัวละครก็ถูกสร้างขึ้นมาให้คนดูเกลียดจนอยากสาปส่ง ดั่งสารของซีรีส์ที่ต้องการสื่อในองค์สุดท้ายว่า ‘มนุษย์’ นั้นมีเฉดที่หลากหลาย มีคนเลว มีคนดี หรือกระทั่งมีคนที่มีทั้งมุมดีและมุมไม่ดีในตัวเอง ไม่ต่างอะไรกับมนุษย์ในโลกความเป็นจริงนอกซีรีส์…

และ‘ออนนี่’ หรือ ฮยอนจู ผู้เล่นหมายเลข 120 หญิงข้ามเพศหนึ่งเดียวในเกม คือตัวละครที่คนรักมากที่สุดคนหนึ่งในซีซันที่ 2 และ 3 นี้ และเชียร์ขาดใจให้เธอรอดไปถึงฝั่งฝัน เพื่อให้เธอได้ ‘มีเงิน’ เดินทางไปประเทศไทย และเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศ ให้เธอมีร่างกายสมบูรณ์ตรงกับจิตใจที่ควรถูกเติมเต็ม ได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ในสังคมที่อาจจะเปิดรับความเป็นเธอมากกว่าประเทศที่เธออาศัยอยู่อย่าง ‘เกาหลีใต้’ ที่การยอมรับการมีอยู่ตรงนี้ยังเจือจาง และแทบจะไม่มีคนเกาหลีแท้ๆ ที่กล้ามากพอจะเปิดตัวว่าเป็นทรานส์เลยด้วยซ้ำ และนั่นอาจสะท้อนถึงภาพที่ผู้กำกับมองมายังประเทศไทย ว่าเป็นที่ที่เป็นมิตรต่อ LGBTQ+ แม้ว่าความเป็นจริง จะเป็นมิตรกว่าในเรื่องการยอมรับถึงการมีอยู่ได้อย่างเปิดเผย แต่ในสังคมเราก็ยังมีอคติทางเพศและการเลือกปฏิบัติที่ยังต้องช่วยกันผลักดันต่อไป

ก่อนหน้านี้ผู้กำกับถูกตั้งคำถามอย่างมาก ในการเลือกนักแสดงชาย ‘พัคซองฮุน’ มารับบทเป็นฮยอนจู ว่าทำไมไม่เอาคนเป็นทรานส์จริงๆ มาเล่น จะดีกว่าไหมที่เราควรจะให้พื้นที่กับคนที่เป็นทรานส์ที่เข้าใจความเจ็บปวดในการใช้ชีวิตจริงๆ? ถึงอย่างนั้น ก็มีอีกหลายเสียงที่พยายามทำความเข้าใจในมุมที่ว่า เกาหลีใต้ไม่ได้เปิดรับผู้หญิงข้ามเพศจริงๆ จะไปหาผู้หญิงข้ามเพศมาแสดงได้อย่างไร ในเมื่อนักแสดงหญิงข้ามเพศในเกาหลีใต้ นับว่า ‘ไม่มี’ ให้เห็นเลย

แต่ความตั้งใจของ พัคซองฮุน ที่มีทัศนคติเปิดกว้างต่อคนข้ามเพศ และใช้เวลาในการทำการบ้านกับตัวละครนี้ด้วยการลงไปศึกษาและพูดคุยกับผู้หญิงข้ามเพศจริงๆ เพื่อให้ ‘เข้าใจ’ ถึงความยากในชีวิต รวมถึงส่งเสียงเพื่อผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศต่อชุมชน LGBTQ+ ที่เขาพูดอยู่บ่อยครั้งต่อหน้าสื่อ ทั้งยังเปิดรับความคิดเห็นต่อการที่ผู้คนตั้งคำถามถึงการให้ชายแท้มารับบทนี้ ซึ่งยิ่งทำให้เขาต้องใช้ความละเอียดอ่อนและให้เกียรติตัวละครนี้และผู้หญิงข้ามเพศในชีวิตจริง เพื่อพิสูจน์ว่าเขาไม่ได้รับเล่นบทนี้โดยปราศจากความตระหนักรู้เรื่องเพศหรือปัญหาที่ทรานส์เผชิญ

“เธอต้องต่อสู้กับอคติและการตัดสินมากมาย ตอนแรกกึมจา (ผู้เล่นคุณแม่สูงวัย) ก็ไม่ชอบเธอ แต่แล้วก็ค่อยๆ เปิดใจ ให้เธอเข้ามารวมกลุ่ม ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ผม ‘หวัง’ จากผู้ชมเช่นกัน เพื่อให้ผู้คนเริ่มมองคนแบบฮยอนจูต่างไปจากเดิม” พัคซองฮุน ให้สัมภาษณ์กับ Gayety ซึ่งเขาไม่คิดที่จะหลบหลีกคำวิจารณ์จากผู้คนที่มองเห็นปัญหาที่ให้นักแสดงชายมาเล่นบททรานส์ โดยกล่าวว่า “ผมรู้ดีครับว่ามีคำถามมากมายเกี่ยวกับการเอาผู้ชายมาเล่นบทบาทนี้ ซึ่งความเห็นเหล่านั้นมันสมเหตุสมผลครับ นั่นเป็นเหตุผลที่ผมต้องทำการบ้านกับบทนี้ให้แน่ใจในการสื่อสาร ด้วยการไปคุยกับคนข้ามเพศจริงๆ เพื่อขอคำแนะนำและรับฟังเรื่องราวของพวกเธอ ผมต้องการเข้าใจประสบการณ์ของพวกเธออย่างลึกซึ้ง และหลีกเลี่ยงการลดทอนบทบาทนี้ให้กลายเป็นภาพล้อเลียน”

“เรามักจะเห็นตัวละครข้ามเพศจำนวนมากถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงภาพล้อเลียน เราไม่ต้องการแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว เราต้องการตัวละครข้ามเพศที่มีมิติและละเอียดอ่อน เพราะว่าทุกคนล้วนมีมิติและสมควรได้รับการเคารพ”

หากใครได้ดู Squid Game ในช่วงแรกๆ ออนนี่คนนี้ถูกผู้คนจับจ้องราวกับว่าเป็นคน ‘นอกคอก’ และนอกกรอบสิ่งที่คนเกาหลีใต้คุ้นเคย ตัวกึมจาเอง กว่าจะกลายมาเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันก็นับว่าใช้เวลา ซึ่งในความจริงแล้ว ก็สะท้อนสิ่งที่ LGBTQ+ บางคนยังต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับหลายๆ อย่าง (จริงๆ ก็น่าเศร้าอยู่ เพราะเธอไม่ได้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ตัวเองกับใคร หากสังคมไม่มีการเลือกปฏิบัติทางเพศตั้งแต่แรก) เธอคนนี้จิตใจดีและแข็งแกร่งที่จะเป็นที่พึ่งพาของทุกคนได้ ไม่ใช่แค่ความแข็งแกร่งทางการต่อสู้จากการเป็นอดีตทหาร แต่เป็นความแข็งแกร่งทางใจที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค และพร้อมที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่นเสมอ นั่นมีส่วนที่ทำให้เธอถูกยอมรับจากคนในเกม แต่ในแง่หนึ่ง ก็สะท้อนว่า คนที่เคยเหยียดเพศก็สามารถเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ได้ เหมือนกัน หากวางอคติลง แต่มองคนให้เป็น ‘คน’ มากขึ้น

“ผมหวังว่าเราจะเห็นตัวละครข้ามเพศมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ในเกม survival หรือ บทอันเศร้าโศก แต่หมายถึงเรื่องราวความรัก คอมเมดี้ และทุกๆ บท”

นอกจากนี้ในการสัมภาษณ์กับ ELLE พัคซองฮุน ได้เล่าว่า “บางทีฮยอนจูอาจจะไม่ได้เข้มแข็งขนาดนี้เมื่ออยู่ในโลกนอกเกม แต่ข้างในนี้ เธอมีความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับผู้เล่นบางคน ซึ่งความผูกพันนั้นทำให้เธออยากปกป้องพวกเขา และทำให้เธอกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้นอีกครั้ง ถึงอย่างนั้นเธอก็เป็นคนอ่อนไหว และความที่แคร์คนอื่นอย่างสุดซึ้งนี้ก็กลายเป็นจุดอ่อนของเธอไปด้วย เพราะเธอเป็นคนที่ ‘เสียสละ’ อย่างมาก ผมจึงอยากยกย่องอะไรก็ตามที่ทำให้เธอเป็นคนเข้มแข็งขนาดนี้”

เพราะแก๊งเพื่อนหญิงพลังหญิงที่ยอมรับตัวตนและความเป็นหญิงในตัวเธอ เป็นสิ่งที่ฮยอนจูอยากรักษาครอบครัวที่เป็นเซฟโซนนี้ไว้ ไม่ว่าจะ กึมจา คนรุ่นเก่าที่ค่อยๆ เปิดใจกับคนข้ามเพศ จุนฮี ผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ตั้งท้องเข้ามาเล่นเกมเพื่อหาเงินเลี้ยงลูกในท้อง หรือจะ ยองมี (ในซีซัน 2) สาวน้อยที่เรียกฮยอนจูว่า ‘ออนนี่’ และชื่นชมว่าเธอนั้นก็ “สวย” ไม่แพ้ใคร ดังนั้นจึงอย่าด้อยค่าตัวเอง

“ผมหวังว่าจะได้เห็นโอกาสที่มากขึ้นที่นักแสดงข้ามเพศได้รับ และคงจะดีถ้าบท ‘ฮยอนจู’ สามารถช่วยเปิดประตูบานนั้นได้” พัคซองฮุน กล่าว

เช่นเดียวกับ ผู้กำกับ ฮวัง ดงฮยอก ได้ตอบคำถามกับ Entertainment Weekly เกี่ยวกับประเด็นการเอานักแสดงชายมาเล่นแทนทรานส์จริงๆ ว่า “ในเกาหลี มีคนข้ามเพศไม่มากนักที่ come out และเป็นนักแสดง รวมถึงมีนักแสดงเกย์เพียงไม่กี่คนที่ come out ต่อสาธารณะ ดังนั้นการหานักแสดงข้ามเพศมาเล่นบทนี้จึงเป็นเรื่องยาก พูดตามความเป็นจริงแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ”

“ในวันข้างหน้า ผมจะพยายามอย่างเต็มที่ในการคัดเลือกนักแสดงที่สมจริง ไม่ใช่แค่ทรานส์ แต่หมายถึงเพศหลากหลายอื่นๆ ด้วยครับ และผมหวังจริงๆ ครับว่าเราจะก้าวไปสู่สังคมแบบนั้นได้ แต่ในกรณีของวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี การคัดเลือกนักแสดงให้สมจริง มันเป็นเรื่องยากจริงๆ ซึ่งผมหวังจริงๆ ว่าในอนาคตเราจะมีสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับ และมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดสิ่งนั้นได้”

น่าสนใจไม่น้อยที่การปรากฏตัวของ ‘ออนนี่’ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราได้เห็นคนทุกเพศ ไม่ว่าจะชายแท้ ผู้หญิง และเพศหลากหลาย ร่วมใจกันเอาใจช่วยเธออย่างเต็มที่ เพราะความจิตใจดี และความเข้มแข็งในตัวที่พร้อมสู้ (ฉากบู๊ก็เท่สุดๆ) ไม่ว่าจะเหตุผลใดที่คนดูต่างรักเธอ แต่ก็ทำให้เห็นว่า ตัวละครนี้ทำให้เราเห็นความคิดแง่บวกต่อคนเป็นทรานส์มากเลยทีเดียว และคงจะดีกว่านี้ ถ้าทรานส์ในชีวิตจริงทุกคน ได้รับพลังและการเอาใจช่วยให้ผ่านเรื่องยากๆ ไปได้เช่นเดียวกับออนนี่

“มันยากมากสำหรับผมที่จะบอกลาเธอ เพราะผมคิดว่าเธอน่าจะอยู่นานกว่านี้ เธอเสียชีวิตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย” พัคซองฮุน บอกกับ Variety ถึงการสิ้นสุดบทบาทนี้ในซีซัน 3 นี้ และเขาอยากขอบคุณกลุ่ม LGBTQ+ ที่สนับสนุนเขาในบทนี้ โดยกล่าวว่า “แม้ว่าผมจะเป็นนักแสดง cisgender ที่มาเล่นเป็นคนข้ามเพศ แต่ชุมชน LGBTQ+ ก็มองบทบาท ฮยอนจู ในเชิงบวกมากๆ พวกเขารัก เคารพ และสนับสนุนเธอ ผมรู้สึกขอบคุณอย่างสุดซึ้งสำหรับสิ่งนี้จริงๆ ครับ”

“การที่ฮยอนจูเสียชีวิตไปพร้อมๆ กับผู้เล่นคนแรกที่ยอมรับเธอในฐานะทรานส์ รวมถึง กึมจา คนที่ใช้เวลาอยู่นานในการยอมรับเธอ นั่นทำให้เธอได้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันสองแบบที่สุดท้ายก็มาบรรจบอยู่เคียงข้างเธอ”

“เป้าหมายของผู้หญิง 3 คนนั้นเหมือนกัน (กึมจา จุนฮี ฮยอนจู) นั่นคือการปกป้องทารกแรกเกิด เป็นเหมือนการที่ผู้หญิงรวมพลังสามัคคีกัน กึมจาอาจใช้เวลาเพื่อเปิดใจให้ฮยอนจู ยอมรับ และโอบรับเธอในฐานะเพื่อนและครอบครัว…หากยังมีคนที่มีอคติและตัดสินชุมชน LGBT ผมก็หวังว่าพวกเขาจะเปิดใจเหมือนที่กึมจาทำ”

อ้างอิง:

https://elle.in/life-culture/elle-exclusive-park-sung-hoon-on-playing-a-trans-character-without-stereotypesand-why-it-mattered-in-squid-game-season-3-9442485

https://variety.com/2025/tv/news/hyun-ju-dies-squid-game-3-park-sung-hoon-1236440271/

https://gayety.com/squid-game-director-says-season-3-transgender-character-honors-late-korean-trans-soldier

https://ew.com/squid-game-creator-addresses-casting-cisgender-actor-as-trans-character-11758105

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ตามบทความก่อนใครได้ที่
- Website : Mirror Thailand.com

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Mirror Thailand

“ผมถอดรหัสแนวคิดเดิม แล้วเขียนรหัสใหม่ และนี่คือจุดเริ่มต้น” การถอดรหัสครั้งสำคัญของ ‘Jonathan Anderson’ ผ่านคอลเลกชันแรก Dior Men Spring Summer 2026 ในฐานะครีเอฟทีฟไดเรกเตอร์คนล่าสุดของ Dior

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การกวาดล้างนิยาย Boy’s love ในจีน ที่ทำให้นักเขียนกว่า 50 คนถูกจับติดคุก ข้อหาเผยแพร่เนื้อหาอนาจาร ภาพสะท้อนวิกฤติเสรีภาพในสังคมจีน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เปิดตัว “Miss Chinese Internationnal (Thailand) 2025” ตัวแทน 5 ภาค ชิงมงรอบไฟนอลสู่เวทีระดับโลก

สยามรัฐ

ลาบูบูจะช่วยให้ภาพลักษณ์จีนดีขึ้นได้จริงไหม?

Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

สัมผัสรสชาติแห่งตำนานจีนและมองโกเลีย ในบุฟเฟต์อาหารจีน Dynasty Nights ณ ห้องอาหารซาวิโอ

Manager Online

ลิ้มรสเมนูอาหารทะเลยั่งยืน เสิร์ฟความสดใหม่จากทะเลใต้ ณ ห้องอาหารพาโกด้า ไชนีส เรสเตอรองท์

Manager Online

รีวิว OPPO Reno14 5G มือถือฝาหลังดีไซน์หางปลา ถ่ายพอร์ตเทรตสุดชิคด้วย AI แฟลช

Insight Daily

‘ไอคอนคราฟต์-Million Hands’ ร่วมผลักดันแบรนด์ไทย จัดงาน ‘Buy Thai Save Thai’ ช้อปของไทยให้ไปต่อ

The Bangkok Insight

ฉลอง World Chocolate Day กับช็อกโกแลตสุดพรีเมียม ในถ้ำช็อกโกแลตแห่งเดียวในไทย ที่ "โคโค่ เอ็กซ์โอ"

Manager Online

“ผมถอดรหัสแนวคิดเดิม แล้วเขียนรหัสใหม่ และนี่คือจุดเริ่มต้น” การถอดรหัสครั้งสำคัญของ ‘Jonathan Anderson’ ผ่านคอลเลกชันแรก Dior Men Spring Summer 2026 ในฐานะครีเอฟทีฟไดเรกเตอร์คนล่าสุดของ Dior

Mirror Thailand

ข่าวและบทความยอดนิยม

ก็แค่รัก คนที่อยากจะรัก 'Laurence Anyways' หนังที่ว่าด้วยความรักอันงดงาม แบบไม่ต้องมีคำยามว่าเพศไหน

Mirror Thailand

Big boy, can cry! ใครว่าชายแท้อ่อนแอไม่ได้ หนังที่ว่าด้วยความแตกสลายของเหล่าตัวละครชาย ที่แม้อยากร้องไห้แต่ทำไม่ได้ เพราะความคาดหวังว่าผู้ชายต้องแข็งแกร่งตลอดเวลา

Mirror Thailand

สวยสมมงโลก! ไปรษณีย์ไทยเปิดตัวแสตมป์ที่ระลึก ‘โอปอล-สุชาตา ช่วงศรี’ เจ้าของมงกุฎ Miss World คนแรกของประเทศไทย

Mirror Thailand
ดูเพิ่ม
Loading...