โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปฏิบัติการ ‘โดรน’ ของอิสราเอลและยูเครน ทำให้โลกสู่ยุค “สงครามกองโจรของยานยนต์”

ไทยพับลิก้า

อัพเดต 15 กรกฎาคม 2568 เวลา 2.19 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ

ที่มาภาพ : rand.org

ในรายงานข่าวของ The New York Times เรื่อง As Drone Warfare Evolves, Pentagon Sees Its Own Vulnerabilities ที่เกี่ยวกับจุดอ่อนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในเรื่องสงครามอากาศยานโดรน เขียนไว้ว่า การที่อิสราเอลและยูเครนสามารถลักลอบนำโดรนลึกเข้าไปดินแดนเพื่อโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ทำให้กองทัพสหรัฐฯ เห็นถึงจุดอ่อนของตัวเอง โดยเฉพาะหน่วยข่าวกรองอิสราเอลที่ใช้โดรนอย่างมีศิลปะและกล้าเสี่ยง โจมตีระบบป้องกันภัยทางอากาศอิหร่าน ส่วนยูเครนใช้โดรนในปฏิบัติการทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รัสเซีย

Epirus บริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐฯ ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ กล่าวว่า สามารถสกัดโดรนได้ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่จะไม่ทำลายโดรนแบบเป็นลำ แต่จะใช้ไมโครเวฟพลังสูง ที่สามารถทำลายฝูงโดรนได้ทีเดียวทั้งหมด ผู้บริหารของบริษัท Epirus กล่าวว่า การก้าวขึ้นมามีบทบาทของอากาศยานโดรน หมายความว่า ทหารสหรัฐฯ กำลังเผชิญหน้ากับ “สงครามกองโจรของยานยนต์”

การปฏิวัติ “โดรน” ของยูเครน

ส่วนบทความใน foreignaffairs.com เรื่อง Ukraine’s Drone Revolution เสนอให้ประเทศทั่วโลกได้เรียนรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน เริ่มต้นจากการโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดิน จากนั้น ตามมาด้วยสงครามการโจมตีด้วยการใช้ปืนใหญ่จากทั้งสองฝ่าย ปัจจุบัน การสู้รบส่วนใหญ่ใช้การโจมตีด้วยอากาศยานไร้ขับหรือโดรน

ปีที่แล้ว ยูเครนประสบความสำเร็จจากการโจมตีด้วยโดรนในระยะไกล ต่อคลังอาวุธของรัสเซียที่อยู่ลึกในดินแดนรัสเซียหลายร้อยไมล์ ในแต่ละวัน กองทัพยูเครนใช้การโจมตีด้วยโดรนพิสัยใกล้หลายพันเครื่อง เพื่อสกัดการรุกทางพื้นดินของรัสเซีย โดรนจึงทำหน้าที่แทนกระสุนปืนใหญ่ที่เคยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการสู้รบ

เดือนมิถุนายน หน่วยข่าวกรองยูเครนที่รับผิดชอบปฏิบัติการลับทางทหารที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ได้อาศัยโดรนที่ซ่อนอยู่ในรถบรรทุกรูปทรงบ้านจำลองขับไปทั่วรัสเซียเพื่อโจมตีสนามบิน ปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า Operation Spider’s Web ที่สามารถทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ ที่รัสเซียใช้โจมตีช่วงสงครามยูเครน

บทความ Ukraine’s Drone Revolution กล่าวว่า โดรนของยูเครนพิสูจน์ได้ว่า เป็นอาวุธที่ทั้งทำงานได้ผลและราคาไม่แพง ในปี 2025 นี้ ยูเครนจะสร้าง “โดรน FPV” ระยะใกล้ ที่มีกล้องส่งภาพมายังผู้ควบคุม หลายล้านเครื่อง ด้วยต้นทุน 400 ดอลลาร์ต่อเครื่อง ส่วน “โดรนระยะไกล” จะสร้างหลายหมื่นเครื่อง ที่ราคาลำละ 200,000 ดอลลาร์ เทียบกับโดรนของสหรัฐฯ ระยะสั้นราคาลำละ 100,000 ดอลลาร์ ส่วนโดรนระยะไกลหลายล้านดอลลาร์

เครื่องบินรัสเซัยสนามบินในไซบีเรีย ถูกทำลายจากโดรนยูเครน ที่มาภาพ: AP

สิ่งที่โดรนทำได้และทำไม่ได้

ส่วนอีกบทความใน foreighaffairs.com เรื่อง What Drones Can – and Cannot – Do on the Battlefield กล่าวถึงบทเรียนจากอิสราเอลและยูเครนไว้ว่า ช่วง 2 สัปดาห์ของเดือนมิถุนายน 2568 กองทัพยูเครนและอิสราเอล ได้ลงมือปฏิบัติการทางทหารที่อาจหาญที่สุดในประวัติศาสตร์ทางทหารสมัยใหม่

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน โดรนระยะใกล้หลายร้อยลำของยูเครน สามารถทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รัสเซีย 11 ลำ ส่วนวันที่ 13 มิถุนายน อิสราเอลลักลอบนำโดรนเข้าไปอิหร่าน และบินไปทำลายระบบป้องกันทางอากาศอิหร่าน ทำให้อิสราเอลสามารถควบคุมท้องฟ้าเหนืออิหร่านทั้งหมด ก่อนการโจมตีทางอากาศด้วยยานยนต์ที่มีคนขับ

ปฏิบัติการทางทหารของสองกรณีนี้ ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของปฏิบัติการทางทหาร ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ทั้งยูเครนและอิสราเอล ยังคงพึ่งพาอาวุธดั้งเดิมราคาแพง แต่สำหรับการทหารสมัยใหม่ ระบบอาวุธที่ไม่ใช้นักบิน แต่อาศัยอาศัย AI กลายเป็นปัจจัยความสำเร็จในสนามรบมากขึ้น เจ้าหน้าที่ยูเครนเองเปิดเผยว่า การโจมตีด้วยโดรนแบบทิศทางเดียว มีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของแนวหน้าการสู้รบในสงครามยูเครนมากถึง 70%

ในปี 2024 Eric Smith ประธานคณะกรรรมการความมั่นคงสหรัฐฯ ด้าน AI และเป็นอดีต CEO ของ Google กล่าวว่า การพุ่งขึ้นมาของโดรนราคาถูก ทำให้เทคโนโลยีเก่า อย่าง เช่นทำให้ “รถถัง” ไร้ประโยชน์ และแนะนำให้สหรัฐฯ หันมาซื้อโดรนแทน ปี 2024 Elon Musk เขียนใน X ว่า “มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ยังสร้างเครื่องบินรบ F-35 สงครามในอนาคตจะเป็นเรื่องของโดรน”

บทความของ foreignaffairs.com กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยังคงทุ่มเทงบประมาณให้กับระบบอาวุธราคาแพง วันที่ 22 มิถุนายน ปฏิบัติการของสหรัฐฯ ที่โจมตีที่ตั้งนิวเคลียร์อิหร่าน ใช้เครื่องบินกว่า 125 ลำ รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 จำนวน 7 ลำ แสดงว่า ระบบอาวุธที่ราคาสูงและใช้นักบิน ยังคงมีบทบาทสำคัญในการรบ

เครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 ของสหรัฐฯ ที่โจมตีที่ตั้งนิวเคลียร์อิหร่าน ลำหนึ่ง 2 พันล้านดอลลาร์ ที่มาภาพ : YouTube

จะปรับตัวหรือพ่ายแพ้

แต่ปฏิบัติการของอิสราเอลและยูเครนแสดงว่า ความสามารถในการใช้ระบบที่มีราคาถูกและไม่มีคนขับ ได้ในจำนวนมากแต่มีความแม่นยำ สามารถสร้างการทำลายได้อย่างมีประสิทธิผล แม้จะทำกับฝ่ายตรงกันข้ามที่มีการทหารที่ก้าวหน้าซับซ้อน

บทความforeignaffairs.com บรรยายว่า ปฏิบัติการ Operation Spider’s Web ของยูเครน ใช้เทคโนโลยีใหม่หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ (autopilot) ที่คนทั่วไปสามารถหามาได้ (open-source) ระบบนี้ทำให้โดรนทำการบินได้เอง หากสัญญาณระหว่างผู้ควบคุมกับโดรน ถูกคลื่นรบกวน และโดรนของยูเครนยังมีระบบค้นหาเป้าหมายด้วย AI โดยมีการฝึกการโจมตีเครื่องบินรัสเซีย จากการบันทึกภาพ 3 มิติที่ได้จากพิพิธภัณฑ์การบินยูเครน

ส่วนปฏิบัติการโดรนของอิสราเอลชื่อว่า Operation Rising Lion ช่วยแสดงถึงจุดอ่อนของระบบป้องกันภัยทางอากาศราคาแพง ที่กลายเป็นเป้าการโจมตีของอาวุธในปริมาณมากแต่ราคาถูก ก่อนการโจมตี สายลับของอิสราเอลลักลอบเอาชิ้นส่วนโดรนเข้าไปในอิหร่าน แล้วทำการประกอบโดรนขึ้นมา เพื่อให้สามารถโจมตีระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านได้อย่างรวดเร็ว และไม่สามารถตรวจจับได้

การใช้ระบบอาวุธราคาถูกและไม่มีนักบินทำการโจมตี ทั้งยูเครนและอิสราเอลได้ทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่สมดุลกับฝ่ายตรงกันข้าม ยูเครนกล่าวว่าทำลายเครื่องบินรัสเซียกว่า 40 ลำ เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด 11 ลำ เครื่องบินทิ้งละเบิดระยะไกลของรัสเซียมีราคาลำละ 270 ล้านดอลลาร์ ส่วนต้นทุนโดรนของยูเครนอยู่ที่ลำละ 600-1,000 ดอลลาร์ รวมปฏิบัติการของยูเครน Operation Spider’s Web มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 117,000 ดอลลาร์ ขณะที่ Javelin จรวดต่อต้านรถถังที่สหรัฐฯ ช่วยยูเครน มีราคาลูกละ 200,000 ดอลลาร์

อาวุธจำนวนมากที่แม่นยำอย่างโดรน ไม่เพียงแต่มีราคาถูกกว่าอาวุธแบบดั้งเดิม ยังสามารถผลิตขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ ในปีหนึ่ง ยูเครนสามารถผลิตโดรนขึ้นมาได้หลายล้านลำ แต่รัสเซียต้องใช้เวลาหลายปี ที่จะผลิตเครื่องบินรบขึ้นมา ช่องว่างการสร้างอาวุธมาชดเชยที่เสียไปนี้ สามารถเป็นปัจจัยที่กำหนดผลลัพธ์ของสงครามที่ยืดเยื้อ ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ลงทุนมากในอาวุธราคาแพง และยากที่จะผลิตมาชดเชย กับอีกฝ่ายที่สามารถผลิตอาวุธที่เป็นแบบปริมาณมากและมีความแม่นยำในการทำลาย อย่างโดรน

แต่บทความของ foreignaffairs.com ก็สรุปว่า ชัยชนะของสัมพันธมิตรที่ขึ้นบกชายหาดนอร์มังดีปี 1944 อาศัยปฏิบัติการทางอาการ ทางทะเล และปืนใหญ่ เพื่อทำลายแนวป้องกันของพวกนาซี ทุกวันนี้ สงครามแบบผสมผสาน คือการใช้อาวุธต้นทุนต่ำ (low cost) ผสมกับอาวุธราคาแพง การเตรียมตัวกับสงครามในอนาคตไม่ได้หมายถึงการทิ้งสิ่งที่เป็นอดีต แต่คือการมีระบบอาวุธที่มีความคล่องตัวสูงด้วย

เอกสารประกอบ

As Drone Warfare Evolves, Pentagon Sees Its Own Vulnerabilities, July 10, 2025, nytimes.com

Ukraine’s Drone Revolution, July 7, 2025, foreigaffairs.com

What Drones Can – and Cannot – Do on the Battlefield, July 4, 2025, foreignaffairs.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยพับลิก้า

‘ออมสิน’ พร้อมเชื่อมฟันเฟืองเล็กๆ ต่อจิ๊กซอว์ บรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วย ‘Creating Shared Value’

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไต่สวน “คดีชั้น 14” นัดที่ 3 ศาลซักละเอียด “ผู้คุม” 9 ปาก เคลื่อนย้าย “ทักษิณ” จากเรือนจำถึง รพ. ตำรวจ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

ปริศนา "แอร์อินเดีย" ใครปิด "สวิตช์น้ำมัน" ? | เนชั่นทันข่าวค่ำ | NationTV22

NATIONTV

เปิดแชตลับ เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร บอกสีกากอล์ฟ

The Bangkok Insight
วิดีโอ

สทร. สู้ไป เสี่ยงไป - ไฮไลท์ประเด็นร้อน

สยามรัฐ
วิดีโอ

สรุปข่าวรอบวัน 14 กรกฎาคม 2568

สยามรัฐ
วิดีโอ

เเฉ! "สีกากอล์ฟ" เข้าวัดจับพระทำผัวตั้งเเต่อายุ 16 | เนชั่นทันข่าวค่ำ | NationTV22

NATIONTV

บอร์ดแพทย์ประกันสังคม ย้ำกองทุนฯ สภาพคล่อง ต้องตรวจข้อมูลเข้มก่อนจ่าย

MATICHON ONLINE

เสียงสะท้อนธุรกิจเอกชนไทย แม้เชื่อภาษีสหรัฐฯ 36% ไม่ใช่จุดจบ แต่เตือนหากเจรจาก่อนเส้นตายไม่สำเร็จ ‘ลำบากแน่’

THE STANDARD

บอร์ดแพทย์ 'ประกันสังคม' ปัดเงินหมด ชี้ต้องตรวจข้อมูลก่อน จึงจ่ายให้ รพ. บางแห่งช้า

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...