งานวิจัยพบ ตื่นเช้าแค่ 1 ชั่วโมง อาจช่วยลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้ถึง 23%
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” ถึงกรณีการตื่นเช้า ที่ช่วยลดซึมเศร้าได้ถึง 23% โดยระบุว่า
ไม่น่าเชื่อ ตื่นเช้าแค่ 1 ชั่วโมง อาจช่วยลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้ถึง 23%
หลาย ๆคน มีนิสัยตื่นเช้า หลาย ๆคนตื่นสาย เชื่อไหมการตื่น อาจมีผลต่อสุขภาพจิต
งานวิจัยขนาดใหญ่ที่ตีพิมพ์ใน JAMA Psychiatry ปี 2021 พบว่า การตื่นเช้าเพียงแค่ 1 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลงถึง 23% เมื่อเทียบกับคนที่ตื่นสาย
การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของคนกว่า 840,000 คน โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Mendelian randomization เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่าง “การเป็นคนตื่นเช้า” กับ “โอกาสเป็นโรคซึมเศร้า” โดยไม่ถูกรบกวนจากปัจจัยอื่น ๆ
สรุป แบบนี้
- คนที่มีพันธุกรรมแบบ “คนตื่นเช้า” มีแนวโน้มสุขภาพจิตดีกว่า
- แค่เลื่อนเวลานอนและตื่นให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ก็อาจช่วยลดโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มาก
- สังคมส่วนใหญ่ที่ สนับสนุนวิถีชีวิตแบบคนตื่นเช้า เช่น เวลาทำงานหรือเรียน จึงอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของกลุ่มนี้
- แม้ผลวิจัยจะน่าสนใจ แต่ยังต้องมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการปรับเวลานอนจริง ๆ จะช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้หรือไม่
สั้น ๆ ถ้าคุณอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ลองเข้านอนและตื่นให้เร็วขึ้นเพียง 1 ชั่วโมง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ให้ผลใหญ่กับใจคุณ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- Sweaty Detox บำบัดด้วยเหงื่อ เยียวยาใจแบบจัสติน บีเบอร์ เมื่อเหงื่อคือทางรอดจากความทุกข์
- รพ.จุฬาลงกรณ์ ทำสำเร็จ ผ่าตัดโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น แห่งแรกในไทย แห่งที่สี่ในเอเชีย
- อยากรักษา "ซึมเศร้า" แต่เหล้าก็ยังอยากดื่ม เสี่ยงลดประสิทธิภาพยา อารมณ์แปรปรวน
- ออกกำลังกาย รับมือซึมเศร้า ช่วยป้องกันเป้นซ้ำ
- อยากนอนดี? วิจัยชี้ให้กินผักและผลไม้ให้เยอะขึ้น