ด่วนที่สุด! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง นายกฯ แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมพิจารณาคำร้องของ สว. ที่ขอให้วินิจฉัยความเป็นนายกฯ ของ แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่ มติ 7 ต่อ 2 มีผลทันที
เกิดแผ่นดินไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ในวันนี้ (1 ก.ค. 68) เมื่อองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติรับคำร้องของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 7 ต่อ 2 มีคำสั่งสำคัญให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลทันที
คำสั่งดังกล่าวสืบเนื่องมาจากกรณีที่ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ได้เป็นตัวแทนยื่นคำร้องของ สว. 36 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.แพทองธาร
ต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดมาจากคลิปเสียงสนทนาอื้อฉาวระหว่าง น.ส.แพทองธาร กับสมเด็จฯ ฮุน เซน ซึ่งกลุ่ม สว. ผู้ร้องมองว่ามีเนื้อหาที่พาดพิงและด้อยค่ากองทัพ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
นอกจากจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยแล้ว ศาลยังมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเลือกแนวทางที่ 2 จาก 4 แนวทางที่เป็นไปได้ และเป็นแนวทางที่ส่งผลกระทบต่อสถานะของรัฐบาลรุนแรงที่สุดในขณะนี้
สถานการณ์การเมืองไทยหลังจากนี้จึงเข้าสู่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจ และทุกสายตาต่างจับจ้องไปยังกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นผู้ชี้ชะตาอนาคตของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดปัจจุบันต่อไป
คำสั่งดังกล่าวเป็นการให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยในคดี ส่วนการวินิจฉัยว่าจะให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการถาวรหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะนัดไต่สวนและพิจารณาในลำดับต่อไป
ผลการพิจารณาการวินิฉัยจาก ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบแล้วเห็นว่า กรณีเป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคสาม กรรมาธิการและพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๑) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งรับ คำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน ๑๕ วัน นับแต่รับได้รับ สำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๔
สำหรับขอให้สั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๗ ต่อ ๒) เห็นว่า ประธานรัฐมนตรีควรสั่งให้ผู้ถูกร้องมีกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคสอง มีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนั้นวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย แจ้งให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน ๒ คน คือ นายคณินทร์ เมฆไตรรัตน์ และนายอุดม สิทธิวิวรรณ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องยังไม่ยุติชัดเจน ให้ปรากฏความตรงสวนว่าถูกร้อง มีกรณีตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคสอง แต่เมื่อป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง ไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๑ ห้ามมิให้ผู้ร้องใช้ หน้าที่และอำนาจดำเนินการตามดำรงตำแหน่ง และการดำเนินการตามที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
สาเหตุ “ภูมิใจไทย” รอดยุบพรรค ศาล รธน.ตีตก คำร้อง ปมล้มล้างการปกครอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง : ศาลรัฐธรรมนูญ, NBT Connext