(ชมคลิป) ตัวช่วยใหม่ชาวนาไทย! “จุลินทรีย์ BioD I วว.” หมักนาเร็วย่อยสลายฟางข้าวไว หมดห่วงโรคเมาตอซัง ทำนาไร้ควันรักษ์สิ่งแวดล้อม
“การหมักนา” เป็นวิธีการที่ชาวนาใช้ในการเตรียมดินในนาข้าว หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อปลูกข้าวในครั้งต่อไป ด้วยการปล่อยน้ำลงในนาข้าวเพื่อแช่ตอซังและฟางข้าวให้เน่าเปื่อยและย่อยสลาย ซึ่งวิธีนี้ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดการเผาตอซังและฟางข้าว ที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมและทำลายหน้าดิน
แต่วิธีการหมักนานั้นมีข้อเสียคือการใช้ระยะเวลาที่นานเพื่อรอตอซังและฟางข้าวเน่าเปื่อยและย่อยสลาย และอาจทำให้เกิด “โรคเมาตอซัง” (Akiochi) เกิดจากการของสารพิษไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือแก๊สไข่เน่าในดิน ที่เกิดจากการสลายของตอซังที่ไม่สมบูรณ์ในนาข้าว ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ใบเหลือง รากข้าวเน่าดำ
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จึงได้ทำการวิจัยและคิดค้น “จุลินทรีย์” BioD I วว." (ไบโอดีวัน วว.) ที่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว ทำให้ตอซังนิ่มและย่อยสลายได้ง่าย ช่วยลดการเผาตอซังซึ่งเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ. การใช้จุลินทรีย์ BioD I วว. ยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO