โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง) มาจากไหน ? ตามรอยมนุษย์โบราณ 40,000 ปี

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา
คัลวิน คูลิดจ์ (กลาง) ประธานาธิบดีคนที่ 30 ของสหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพกับชนพื้นเมืองอเมริกันนอกทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (ภาพจาก Library of Congress)

ใครคือบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองอเมริกัน? เมื่อทวีปอเมริกามิใช่ถิ่นกำเนิดของมนุษยชาติ เพราะไม่พบร่องรอยไพรเมตอย่างออสตราโลพิเธคัส และโฮโมแฮบิลิส แบบมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล มนุษย์ชวา และมนุษย์ปักกิ่งเลย พบแต่มนุษย์โครมันยองสมัย 2-3 หมื่นปีก่อน

มนุษย์โบราณบรรพชนของคนพื้นเมืองอเมริกาก่อนที่ชาวยุโรปจะขึ้นฝั่งมาเปลี่ยนโฉม “โลกใหม่” มาจากไหน? พวกเขาอพยพสู่แผ่นดินใหญ่ซีกโลกตะวันตกแห่งนี้เมื่อไร?

คำตอบสั้น ๆ คือ พวกเขาเป็นชนรุ่นหลังของมนุษย์โบราณ ที่อพยพไปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย โดยเดินทางข้าม “ช่องแคบเบริง” เข้าสู่อลาสกา และกระจายไปทั่วอเมริกาเมื่อหลายหมื่นปีก่อน

ส่วนคำตอบยาว ๆ คือต่อจากนี้…

ก่อนอื่นต้องหมายเหตุไว้ว่า นี่เป็นสรุปความจากงานเขียนของ สุชาติ ภูมิบริรักษ์ นักคิด นักหนังสือพิมพ์ และนักแปลรางวัล “สุรินทราชา” ในชื่อบทความ “สืบหาร่องรอย บรรพชนของอินเดียนแดงมาจากไหน ?”จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536

เวลานั้น (ทศวรรษ 2530) จะยังเรียกชนพื้นเมืองอเมริกันว่า “อินเดียนแดง” (Red Indian) กันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เลิกใช้คำดังกล่าวแล้ว เนื่องจากแสดงออกถึงนัยการไม่ให้เกียรติ และเหยียดผิว จึงหันมาเรียกว่า “ชนพื้นเมืองอเมริกัน”(Native Americans) แทน

ทีนี้ถ้าเราพิจารณาด้วยทฤษฎีมานุษยวิทยา หรือลักษณะทางกายภาพทั่วไป จะเห็นว่าชนพื้นเมืองอเมริกันเกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์มองโกลสายเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือแน่ ๆ เพราะพวกเขามีลักษณะเหมือนชาวมองโกลหลายอย่าง เช่น ผมหยาบ เหยียดตรง และดกดำ ขนอ่อนตามตัวและใบหน้าค่อนข้างบาง ใบหน้ากว้างแบน โหนกแก้มสูง ดั้งจมูกสูงต่ำพอเหมาะ นัยน์ตาสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ฟันเป็นรูปจอบ

หรือพิจารณาจากด้านภาษาศาสตร์ก็จะเห็นว่า ภาษาของพวกเขาอยู่ในตระกูลภาษาฮั่น-ทิเบต

นักมานุษยวิทยาหลายคน โดยเฉพาะในจีนจึงยืนยันหนักแน่นว่า พวกเขาเป็นสาขาหนึ่งของมนุษย์ปักกิ่ง สังกัดชาติพันธุ์มองโกล เคยมีชีวิตเร่ร่อนอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์และอพยพตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ

แล้วการอพยพสู่ทวีปอเมริกาเกิดขึ้นตอนไหน ด้วยวิธีอย่างไร?

บรรพชนชนพื้นเมืองอเมริกันไปจากทวีปเอเชีย

ตาม “ทฤษฎีสะพานบกเบริง”ปลายยุคไพลสโตซีน เมื่อ 10,000-16,000 ปีก่อน โลกผ่านยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เนื่องจากน้ำมารวมตัวกันเป็นธารน้ำเข็งบนผืนแผ่นดินในปริมาณมากมหาศาล ทำให้น้ำทะเลลดลงทั่วโลก ช่องแคบเบริง(Bering Strait) ที่ตื้นเขินอยู่แล้ว จึงมีสภาพเป็น “สะพานบก” เชื่อมระหว่างไซบีเรีย (เอเชีย) กับอลาสก้า (อเมริกา)

เวลานั้นมนุษย์โบราณในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชียอาศัยการล่าช้างแมมมอธ ม้าป่า วัวป่า กวางดาว ฯลฯ พวกเขาใช้พวกมันเป็นทั้งแหล่งอาหาร เครื่องนุ่งหุ่ม และทำเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การล่าสัตว์เหล่านี้ทำให้พวกเขาค่อย ๆ อพยพตามฝูงสัตว์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเรื่อย ๆ ผ่านภาคอีสานของจีน ขึ้นไปจนถึงปลายสุดตะวันออกของแผ่นดินไซบีเรีย

ตอนนั้นเองที่เบื้องหน้าของพวกเขาคือช่องแคบเบริง…

เมื่อมนุษย์โบราณกลุ่มแรกผ่านสะพานบกเข้าสู่อลาสกา ภาคเหนือของทวีปอเมริกา ลูกหลานของคนกลุ่มนี้จึงแพร่กระจายลงใต้ไปทั่วทวีปอเมริกา

การอพยพข้ามทวีปคงไม่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือจากกลุ่มเดียว เพราะเบื้องต้น นักวิชาการชาวแคนาดาคณะหนึ่งพบว่า มนุษย์โบราณจากเอเชียข้ามมาทวีปอเมริกา (อย่างน้อย) 2 รุ่นใหญ่ ๆ คือ

รุ่นแรกมนุษย์สมัยกลางและสมัยปลายยุคเครื่องมือหินเก่า ประมาณ 40,000-50,000 ปีก่อน พวกเขามาถึงอลาสก้า และเมื่อราว ๆ 40,000 ปี ลงมาถึง 25,000 ปีก่อน ก็เดินทางผ่านเขตบริติชโคลัมเบียทางตะวันตกของแคนาดา เข้าสู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐเมริกา จากนั้นค่อย ๆ ก้าวผ่านจากการล่าสัตว์ ใช้เครื่องมือหินใหญ่ ๆ หยาบ ๆ เช่น ขวานหินกรวด หินปลายแหลมคล้ายใบลอเร็ล (laurel) มาสู่การจับปลาและเก็บหอยเบี้ย

ชนโบราณกลุ่มนี้อพยพลงใต้เรื่อย ๆ โดยไม่ได้ตั้งหลักแหล่งที่ไหนนาน และเป็นผู้สร้างภาพผนังถ้ำในบราซิล ซึ่งมีอายุราว 31,000 ปีก่อน

รุ่นที่ 2 อพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาประมาณ 11,000 ปีก่อน ที่สามารถแยกรุ่นได้ชัดเจนเพราะลักษณะของวัฒนธรรมพวกเขาไม่เหมือนรุ่นแรกเลย กล่าวคือใช้เครื่องมือหินประณีตกว่า และพบ “แกนหินรูปหมุด” เหมือนกับที่พบในมณฑลซานซีของจีน มีอายุราว 23,000 ปี

อีกหลักฐานที่ช่วยยืนยันว่า มนุษย์โบราณจากเอเชียทั้ง 2 รุ่นเดินทางจากบริเวณตอนเหนือของจีน คือการพบโบราณวัตถุยุคหินใหม่ตอนต้นและตอนกลาง ที่คาบสมุทรคัมชัตคา (Kamchatka) ของไซบีเรีย เป็นหัวธนูแบบเดียวกับในหลุมฝังศพสมัยโบราณของชนพื้นเมืองอเมริกันในทวีปอเมริกา มีอายุราว 14,000 – 15,000 ปีก่อน

สมมติฐานหักล้าง “สะพานบก” ?

ยังมีนักวิชาการบางกลุ่มเสนอทฤษฎีหักล้าง “ทฤษฎีสะพานบกเบริง” เพราะเมื่อ 14,000-40,000 ปีก่อน บริเวณช่องแคบเบริงมีอากาศหนาวจัดและแห้งแล้งมาก ส่วนความเชื่อว่าตรงนั้นเคยเป็นทุ่งหญ้าและป่าไม้คือสภาพก่อนยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายจะมาถึง เมื่อเริ่มยุคน้ำแข็ง ป่าหาย ช้างแมมมอธก็สูญพันธุ์ ม้าป่า วัวป่า กวางดาว และสัตว์อื่น ๆ ต่างย้ายแหล่งหากินไปที่อื่น แล้วมนุษย์โบราณจะล่าอะไรข้ามช่องแคบเบริง?

การค้นพบร่องรอยทางวัฒนธรรมของมนุษย์โบราณหลายแห่งในอเมริกาใต้ ทั้งบราซิล เปรู เวเนซุเอลา ฯลฯ สร้างความงงงวยให้นักวิชาการอยู่ไม่น้อย เพราะมันสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนทางใต้ หรือในอเมริกาใต้ระหว่าง 10,000 ปี ไปถึง 40,000 ปี ซึ่งเก่าแก่โบราณกว่าอเมริกาเหนืออย่างเห็นได้ชัด

คำถามต่อมาคือ หากมนุษย์โบราณผ่านแผ่นดินอเมริกาทางเหนือก่อนลงใต้ ทำไมแหล่งโบราณคดีของอเมริกาใต้จึงเก่าแก่กว่าอเมริกาเหนือ? หรือจริง ๆ แล้วพวกเขาอพยพผ่านทะเลสู่อเมริกาใต้ แล้วจึงขึ้นสู่แผ่นดินอเมริกาเหนือ

นักวิชาการที่เชื่อทฤษฎีนี้ตั้งขอสมมติฐานว่า มนุษย์โบราณอาจอพยพไปจากญี่ปุ่น ผ่านหมู่เกาะนิโครเนเชียทางตะวันตกของทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กเกาะน้อย 2,500 เกาะ ทอดยาวเป็นระยะทางถึง 4,600 กิโลเมตรไปถึงฮาวาย แล้วอพยพไปตามเกาะต่าง ๆ ที่ทอดไปทางตะวันตกเข้าสู่ทวีปอเมริกา เนื่องจากพื้นทะเลยุคน้ำแข็งลดต่ำลงหลายร้อยฟุต หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรจึงเชื่อมต่อกันหรือห่างกันไม่มาก ทำให้เดินทางผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

อีกเส้นทางคือ มนุษย์โบราณอพยพไปจากทวีปออสเตรเลีย ผ่านเกาะแทสเมเนีย หมู่เกาะแถบขั้วโลกใต้และแผ่นดินใหญ่แอนตาร์กติกา เกาะเทียร์รา เดล ฟูเอโก ตอนปลายสุดของอเมริกาใต้ เข้าสู่แผ่นดินใหญ่อเมริกา ถึงอย่างนั้น ทฤษฎีเหล่านี้ก็ยังไม่ค่อยมีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับ

อย่างไรก็ตาม แม้ทฤษฎีสะพานบกเบริงยังอธิบายให้ชัดไม่ได้ว่า มนุษย์โบราณจากเอเชียฝ่าที่ราบน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ไพศาลหลายพันกิโลเมตรจากไซบีเรียและอเมริกาเหนือมายังไง และไฉนวัฒนธรรมโบราณในอเมริกาเหนือจึงเก่าแก่ “น้อยกว่า” ในอเมริกาใต้ ฝ่ายคัดค้านก็อธิบายไม่ได้เช่นกันว่า 40,000 ปีก่อน มนุษย์โบราณมีความรู้เรื่องการเดินเรือพอที่จะเดินทางข้ามมหาสมุทรได้จริงหรือ และอะไรผลักดันให้พวกเขาต้องทำ ?

สุชาติ ผู้เขียนบทความ ค่อนข้างเชื่อถือทฤษฎีสะพานบกเบริง เพราะจากสภาพทางธรณีวิทยาระหว่างทวีปเอเชียกับอเมริกา กับสมรรถนะของมนุษย์โบราณ เขาเชื่อว่าคนเหล่านั้นสามารถฝ่าความยากลำบากและอันตรายต่าง ๆ อพยพตามฝูงสัตว์หนีหนาวเข้าสู่ทวีปอเมริกาได้ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าฉนวนบางแห่งอาจไม่มีน้ำแข็งปกคลุม

ทั้งจุดที่แคบที่สุดของช่องแคบเบริง (เมื่อน้ำแห้ง) ก็มีระยะเพียง 40 กิโลเมตร ไม่น่า “เหลือบ่ากว่าแรง” มนุษย์โบราณ ซึ่งชินชากับความหนาวเหน็บในแถบนั้นอยู่แล้ว

ดังจะเห็นว่า ทุกวันนี้ชาวเอสกิโมยังปรับตัวและอาศัยอยู่ใกล้ ๆ บริเวณขั้วโลกเหนือท่ามกลางสภาพอากาศสุดทรหด และพวกเขายังเป็นลูกหลานของมนุษย์โบราณเอเชียที่อพยพเข้าสู่อเมริกาด้วย

ผู้เขียนยังให้ทัศนะว่า ต่อให้น้ำทะเลยุคไพลสโตซีนลดลง 400 ฟุต แต่มหาสมุทรก็ยังเป็นมหาสมุทรอยู่ ฤดูกาลไต้ฝุ่นและมรสุมต่าง ๆ ยังเป็นอันตรายที่คุกคามมนุษย์ได้เสมอ ส่วนที่อายุวัฒนธรรมในอเมริกาใต้เก่าแก่กว่าทางอเมริกาเหนือ อาจเพราะเมื่อพวกเขาข้ามไปถึงอลาสกา แคนาดา และภาคเหนือของสหรัฐอเมริกาแล้ว คนส่วนใหญ่เร่งเดินทางลงใต้ไปลงหลักปักฐานในเขตอากาศอบอุ่นกว่า ร่องรอยแสดงวัฒนธรรมจึงหลงเหลืออยู่ไม่มาก

“การสืบหาร่องรอยบรรพชนของอินเดียนแดง ถ้าเริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ก็จะมีทางพบกับความสำเร็จมาก ข้าพเจ้าเชื่อมั่นอย่างนั้น”สุชาติทิ้งท้าย

ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่ผู้เขียนกล่าว เพราะการศึกษาจนถึงปัจจุบัน นักวิจัยส่วนใหญ่ยังคงให้การยอมรับว่าช่องแคบเบริงคือเส้นทางหลักของมนุษย์โบราณจากเอเชีย รวมถึงยืนยันว่าชนพื้นเมืองอเมริกันล้วนมีเชื้อสายจากเอเชียตะวันออก ส่วนระลอกของการอพยพยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ไม่น่าเกิน 3 ครั้ง หรืออาจจะเป็นระลอกใหญ่ครั้งเดียวก็ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

สุชาติ ภูมิบริรักษ์. สืบหาร่องรอย บรรพชนของอินเดียนแดงมาจากไหน ?. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม พ.ศ. 2536.

https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC2874220/

https://www.britannica.com/science/Pleistocene-Epoch

https://readthecloud.co/native-americans-migrated-from-asia/

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง) มาจากไหน ? ตามรอยมนุษย์โบราณ 40,000 ปี

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

ความแตกต่างระหว่างจีนกวางตุ้ง-ไหหลำ-แต้จิ๋ว-แคะ-ฮกเกี้ยน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สรรพลี้หวน...วรรณกรรมคำผวนที่เป็นมากกว่าเรื่องล้อเลียนของสงวน!

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระเจดีย์ทรงระฆัง วัดประยุรวงศาวาส การเมืองในงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หมอบรัดเลย์ ชวนคุยเรื่องนรกสวรรค์ สาวชาวบ้านว่า “ต้องตกลงกับสามีก่อน...”

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่ไม่เลือกวัย เช็กให้ชัวร์ก่อนสายเกินไป

ประชาชาติธุรกิจ

iQIYI ปล่อยภาพเบื้องหลัง “The Love Never Sets ฉากนั้น…ยังเป็นเธอ” เตรียมเสิร์ฟโมเมนต์ ‘จา-เต้’ กันยายนนี้!

Insight Daily

ซีรีส์ทางโทรทัศน์ HBO ออริจินัล “Harry Potter” เริ่มต้นการถ่ายทำแล้ว

Insight Daily

ความแตกต่างระหว่างจีนกวางตุ้ง-ไหหลำ-แต้จิ๋ว-แคะ-ฮกเกี้ยน

ศิลปวัฒนธรรม

สรรพลี้หวน...วรรณกรรมคำผวนที่เป็นมากกว่าเรื่องล้อเลียนของสงวน!

ศิลปวัฒนธรรม

พระเจดีย์ทรงระฆัง วัดประยุรวงศาวาส การเมืองในงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3

ศิลปวัฒนธรรม

หมอบรัดเลย์ ชวนคุยเรื่องนรกสวรรค์ สาวชาวบ้านว่า “ต้องตกลงกับสามีก่อน...”

ศิลปวัฒนธรรม

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 68

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง) มาจากไหน ? ตามรอยมนุษย์โบราณ 40,000 ปี

ศิลปวัฒนธรรม

“พระเซเลบ” รสนิยมมวลชนชาวพุทธไทย ที่มาจากการเสื่อมศรัทธาข่าวฉาวพระดัง?

ศิลปวัฒนธรรม

สีกา-กากี-สีกากี ศัพท์ 3 คำ ที่คล้ายกันนี้มาจากไหน เกี่ยวข้องกันหรือไม่

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...