โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ใครจะอยากเป็นคนไร้ตัวตนในกลุ่มเพื่อน’ ทำยังไงหากมีแนวโน้มเป็น ‘มนุษย์ล่องหน’ เมื่อทุกคนอยากถูกมองเห็นในความสัมพันธ์

The Momentum

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE MOMENTUM

เคยไหม ท่ามกลางกลุ่มเพื่อนที่เฮฮาตามประสา ทุกคนดูกลมกลืนกัน และต่างมี ‘บทบาท’ ในกลุ่มตามลักษณะเฉพาะของบุคลิกแต่ละคน ขณะที่เรากลับรู้สึกเป็น ‘มนุษย์ล่องหน’

ประเด็นคือเราเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น แต่กลับเหมือนไม่มีใครสนใจอยู่คนเดียว ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนหรือทำกิจกรรมอะไร คล้ายกับว่าเราเองได้แต่นั่งยิ้มอยู่ในมุมเงียบๆ คนเดียว ทั้งที่เพื่อนกำลังสนุกสนาน

ความรู้สึก ‘ไร้ตัวตน’ ในกลุ่มเพื่อนอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพส่วนบุคคล ลักษณะของกลุ่ม รูปแบบทางอารมณ์ รวมถึงอิทธิพลจากภายนอก เช่น ความคาดหวังของสังคม เราอาจรู้สึกว่าถูกมองข้าม เนื่องจากความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ขาดความมั่นใจในสถานการณ์ทางสังคม หรือมีแนวโน้มที่ไม่กล้าแสดงออกในการสนทนากลุ่ม

ขณะเดียวกัน คนในกลุ่มอาจไม่ได้ตั้งใจ ‘ละเลย’ ใครบางคน แต่อาจทำไปโดยไม่รู้ตัว หรือในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับอคติที่ฝังรากลึก เช่น เรื่องเพศ เชื้อชาติ และอื่นๆ

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากเรากำลังรู้สึกว่าตนเองเป็น ‘มนุษย์ล่องหน’ ในกลุ่ม นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะลองหาสาเหตุว่า ‘ความไร้ตัวตน’ ของเรานั้นเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรในสถานการณ์นี้

อย่าเพิ่งด่วนสรุป ลองหาความชัดเจนก่อน

เป็นเรื่องง่ายที่เมื่อเรารู้สึกขึ้นมาว่าถูกมองข้ามในกลุ่ม เราอาจรีบสรุปว่าตนเอง ‘ไม่สำคัญ’ หรือ ‘เพื่อนไม่แคร์’ แต่หากเป็นไปได้ ลองหาความชัดเจนจากเรื่องนี้ดูก่อน เพราะบางครั้ง ‘อารมณ์’ ก็ทำให้เรายิ่งรู้สึกมากขึ้น เช่น รู้สึกว่าไม่มีใครมองเห็นเราเลย ทั้งที่ความจริงแล้วในบางจังหวะเพื่อนๆ ก็ใส่ใจ แต่เราไม่ทันสังเกต

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ลองจดว่าเหตุการณ์ไหนบ้างที่ทำให้เรารู้สึกไม่มีตัวตน แล้วค่อยๆ ทบทวนว่า ยังมีเพื่อนในกลุ่มที่ปฏิบัติกับเราดีอยู่ไหม หรือความรู้สึกไร้ตัวตนเกิดขึ้นแค่ในกลุ่มเพื่อนนี้ หรือเกิดขึ้นในหลายๆ ความสัมพันธ์

การแยก ‘สิ่งที่เรารู้สึก’ ออกจาก ‘สิ่งที่เกิดขึ้นจริง’ นี้สามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ว่าควรทำอย่างไรต่อ ไม่ใช่แค่ตัดสินตามอารมณ์

ลองเปิดใจสื่อสารมากขึ้น

บางครั้งการกล้าพูดถึงความรู้สึกกับเพื่อนที่ไว้ใจได้ อาจเป็นจุดเปลี่ยนทั้งความสัมพันธ์และความรู้สึกของเราเองได้ เราต่างรู้ว่าการสื่อสารนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายครั้งการที่ไม่สื่อสาร โดยเฉพาะเรื่องของความรู้สึก อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิด และส่งผลต่อการปฏิบัติอย่างละเลยต่อกัน

แม้การเริ่มพูดคุยกันแบบ ‘เปิดใจ’ อาจเป็นเรื่องยาก แต่อาจช่วย ‘ปรับ’ ความเข้าใจ และปรับพฤติกรรมได้ หรือหากไม่เป็นเช่นนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเพื่อน ‘ให้ค่า’ กับเราแค่ไหน เช่น หากเพื่อนมีแนวโน้ม ‘เพิกเฉย’ เราก็อาจต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการดูแลใจตัวเอง และค่อยๆ สร้างพื้นที่ใหม่ให้กับตัวเองมากกว่า

หาพื้นที่ที่เราถูกมองเห็น

คล้ายกับคำว่า ‘หาพื้นที่ที่พอดีกับเรา’ เพราะบางครั้งกลุ่มเพื่อนอาจไม่ผิด แต่แค่นั่นไม่ใช่กลุ่มของเราเท่านั้น คำถามสำคัญคือ เราจำเป็นต้อง ‘เปลี่ยนตัวเอง’ เพื่อจะเข้ากลุ่มให้ได้หรือไม่ หรือการอยู่ในกลุ่มนั้นทำให้เราต้องเงียบ เจียมตัว หรือต้องเป็น ‘ผู้ฟัง’ ตลอดเวลาไหม

ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะเพื่อนกลุ่มนั้นที่ไม่เหมาะกับ ‘ธรรมชาติ’ ของเรา ลองพาตัวเองไปสู่สภาพแวดล้อมใหม่ๆ หรือสังคมใหม่ๆ อาจเป็นการเปิดประตูโอกาสของความสัมพันธ์ใหม่ที่เหมาะกับเรามากกว่า และเป็นที่ที่ไม่ว่าเราจะเป็นอย่างไร ก็ยังรู้สึกว่า ‘มีตัวตน’ อยู่

ลองเปลี่ยนมุมมองต่อความไร้ตัวตน

บางทีเราไม่ได้ไร้คุณค่า แต่แค่เรายังไม่อยู่ในกลุ่มหรือพื้นที่ที่มีคนมองเห็น ‘คุณค่า’ ของเรา ยกตัวอย่าง คนเงียบหรือพูดน้อยอาจถูกมองข้าม ในสังคมที่คนให้ค่ากับคนที่เสียงดัง หรือมีความโดดเด่น จนทำให้รู้สึกเหมือนเราถูกมองข้าม แต่แท้จริงแล้วความเงียบและความละเอียดอ่อนนั้นเป็นเสมือน ‘พลังเงียบ’ สิ่งนี้อาจเป็นพลังที่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกปลอดภัย เข้าใจ หรือสงบลงได้ เห็นไหมว่า ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกแบบไหน ก็สามารถมีคุณค่าในแบบของมันเองได้ ถ้าอยู่ในจุดที่ที่มีคนมองเห็นและเข้าใจ

ท้ายที่สุดแล้ว การรู้สึกว่าตัวเองเป็น ‘มนุษย์ล่องหน’ ในกลุ่ม อาจไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีนัก แต่มองอีกมุมมันก็เป็นโอกาสให้เราได้ทำความเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง และได้เปิดโอกาสให้ ‘แสวงหา’ พื้นที่ที่เหมาะกับธรรมชาติจริงๆ ของเราก็ได้

ที่มา:

- https://www.augustus-self.com/understanding-emotions/5-reasons-why-you-feel-invisible-in-groups

- https://psychcentral.com/depression/how-to-be-seen-and-heard-when-youre-feeling-invisible#why-do-i-feel-like-this

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Momentum

กฎหมายไทยกับความสามารถในการลืมอดีต: ไม่มีบทเรียน ไม่มีการเยียวยา ไม่มีอนาคต

7 นาทีที่แล้ว

The Mayflower ห้องอาหารจีนระดับตำนาน ปรับโฉมใหม่พร้อมเสิร์ฟความอร่อยอีกครั้ง ณ ดุสิตปริ๊นเซส

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

‘พัทยา’ คว้าแชมป์จุดหมายทริปค้างคืนสุดฮิตในไทย ติด Top 5 เอเชีย

The Bangkok Insight

อีสานเขียวเที่ยว “บึงกาฬ-อุดรฯ” ตามรอยพญานาคที่ “ถ้ำนาคา-คำชะโนด” 2 แลนด์มาร์คแลนด์มูสุดปัง

Manager Online

สูตรข้าวผัดต้มยำกุ้ง

Chef Lucas Baking Studio

“คนอื่นจำฉันไม่ได้” Winter วง aespa สามารถออกไปข้างนอกโดยไม่ต้องใส่หน้ากาก

THE STANDARD
วิดีโอ

สูตรลับฉบับบ้านนา : น้ำหมักรวยดอก ผลใหญ่ ใบดก

Thai PBS

ตั้ง พระเทพวชิรกิตติ รักษาการเจ้าอาวาสวัดชูจิต หลังพระเทพพัชราภรณ์ ลาออก

MATICHON ONLINE

ถ่ายทอดสด วอลเลย์บอลหญิง ไทย พบ แคนาดา VNL 2025 วันนี้ 13 ก.ค.68

PostToday

ถ่ายทอดสด เปรสตัน พบ ลิเวอร์พูล เกมอุ่นเครื่อง วันนี้ 13 ก.ค.68

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

รู้จักความสัมพันธ์แบบ ‘Monkey Barring พฤติกรรมแบบลิงโหนบาร์ ไม่ปล่อยมือคนเดิม แต่เพิ่มเติมคนใหม่

The Momentum

หรือนี่คือเหตุผลในการตื่นสาย วิจัยเผย นอนตื่นสายวันหยุดแค่ 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มสมาธิ ลดความวิตกกังวลในวัยรุ่น

The Momentum

เมื่อฝันร้ายอาจตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น นักประสาทวิทยาพบเบาะแส การส่งต่อ ‘ยีนฝันร้าย’

The Momentum
ดูเพิ่ม
Loading...