โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘วิโรจน์’ โวย คดี ‘น้องเมย’ รอลงอาญารุ่นพี่ ถามกองทัพจะเอาโจรเป็นทหารต่อไปหรือ

ไทยโพสต์

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'วิโรจน์' โวย คดี 'น้องเมย' กระทำความผิดด้วยการซ้อมทรมาน ได้รับโทษจำคุก 4 เดือน รอลงอาญา 2 ปี ถามกองทัพจะให้คนทำร้ายเพื่อนร่วมชาติเป็นทหารต่อไปหรือ ลั่นการเอาโจรมาเป็นทหารไม่มีทางทำให้กองทัพเป็นกองทัพที่ดีได้ แนะหากมีการทุจริต ทหารต้องขึ้นศาลพลเรือน

23 ก.ค.2568- นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ [ ศาลทหาร กระบวนการยุติธรรมที่ลักลั่น และวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ที่บั่นทอนภาพลักษณ์ของกองทัพ ] มีเนื้อหาดังนี้
………………………………………………….
จากกรณีการเสียชีวิตของ “เมย” ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ อายุ 19 ปี นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมทหาร หมดสติและเสียชีวิต เมื่อ 17 ต.ค.60 หลังถูกรุ่นพี่สั่งธำรงวินัย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของศาลทหาร ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาโดยตลอด โดยเริ่มตั้งแต่
.
ศาลทหารชั้นต้น (ช่วงปี 2561-2562): ศาลมีคำพิพากษาให้ รอการกำหนดโทษ นักเรียนเตรียมทหารรุ่นพี่ที่ถูกฟ้องร้องในคดีทำร้ายร่างกาย ส่วนคดีอื่นๆ ที่ครอบครัว "เมย" ภคพงศ์ ฟ้องร้องนั้น พนักงานสอบสวน และอัยการบางส่วนได้มีคำสั่งไม่ฟ้อง
.
ศาลอุทธรณ์ (คำพิพากษาในส่วนคดีแพ่ง ต.ค.2566): สำหรับคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในบางคดี ส่วนในคดีแพ่งที่ครอบครัวน้องเมยฟ้องร้อง กระทรวงกลาโหม และกองบัญชาการกองทัพไทย ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้กระทรวงกลาโหมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ครอบครัวตัญกาญจน์
.
ศาลฎีกา (กรกฎาคม 2568): เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2568 ศาลทหารสูงสุด มีคำพิพากษาชั้นฎีกา ให้ยืนตามศาลชั้นอุทธรณ์ จำเลยมีความผิดทำร้ายร่างกาย ทำโทษโดยฝ่าฝืนคำสั่งกลุ่มนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร และด้วยอายุจำเลยไม่เคยได้รับโทษ การจะลงโทษจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์ ให้จำเลยปรับปรุงตัวรับราชการต่อไป จึงลงโทษจำคุกรุ่นพี่ 4 เดือน 16 วัน ปรับ 15,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี
.
สรุปก็คือ ผู้กระทำความผิดด้วยการซ้อมทรมาน จนทำให้ “เมย” ถึงแก่ความตาย ได้รับโทษเพียงจำคุก 4 เดือน 16 วัน ปรับ 15,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี เท่านั้นเอง และการให้ผู้กระทำความผิดยังคงรับราชการต่อไป ทำให้สังคมต้องตั้งคำถามว่า กองทัพจะให้คนที่ลุแก่อำนาจทำร้ายเพื่อนทหารร่วมชาติจนถึงแก่ความตาย เป็นทหารต่อไปจริงๆ หรือครับ พฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นพฤติกรรมโจร การเอาโจรมาเป็นทหารไม่มีทางทำให้กองทัพเป็นกองทัพที่ดีได้
.
นี่ขนาดผู้เสียหายเป็นนักเรียนเตรียมทหารนะครับ ความยุติธรรมยังบิดเบี้ยวขนาดนี้ ถ้าผู้เสียหายเป็นพลเรือน สังคมจะคาดหวังความยุติธรรมได้อย่างไร
.
เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกับกรณีของการเสียชีวิตของ พลทหารวรปรัชญ์ พัดมาสกุล อายุ 18 ปี ที่ค่ายนวมินทร์ จ.ชลบุรี ที่ถูกครูฝึก และรุ่นพี่ ซ้อมทรมานจนถึงแก่ความตาย ซึ่งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 มีคำพิพากษาว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้ง 13 คน มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ 2565 มาตรา 5 และมาตรา 35 วรรคสาม พิพากษาจำคุก จำเลยที่ 1 (ครูฝึก) 20 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 (ครูฝึก) 15 ปี จำคุกจำเลยที่ 1 ถึง 13 (ผู้ช่วยครูฝึก) คนละ 10 ปี
.
เมื่อเปรียบเทียบผลแห่งคดีของทั้ง 2 กรณี ก็สมควรที่ประชาชนจะตั้งข้อสังเกตถึงความลักลั่นของการพิจารณาคดีของศาลทหาร และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ อย่างมาก ซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาชน ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกองทัพอย่างมาก และทำให้วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดบั่นทอนความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
.
นอกจากคำพิพากษาที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหวแล้ว ตลอดระยะเวลา 8 ปี ในการต่อสู้คดีของครอบครัวตัญกาญจน์ ต้องเผชิญกับการขัดขวาง และการข่มขู่มาโเดยตลอด การเข้าถึงหลักฐานเอกสารต่างๆ ก็ยาก พยานที่จะมาให้ข้อมูลเพื่อความเป็นธรรมแก่คุณเมย ก็ถูกข่มขู่ เรียกได้ว่ากระบวนการยุุติธรรมถูกบ่อนทำลายมาตลอดเส้นทางในทุกขั้นตอน จนกระทั่งมีคำพิพากษา
.
ผมยืนยันว่า การปฏิรูปกองทัพ จำเป็นต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้องก่อน นั่นก็คือ “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของกองทัพ” ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559
.
อีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการก็คิอ การลงนาม และให้สัตยาบรรณในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (OPCAT) เป็นสนธิสัญญาที่มุ่งป้องกันการทรมานและการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเมื่อรัฐบาลลงนามแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะสามารถเข้าไปสุ่มตรวจค่ายทหารโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้ และสามารถดำเนินมาตรการป้องปรามต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที มีประสิทธิภาพ
.
ความยุติธรรมที่ไม่ลักลั่น การยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดเท่านั้น ที่จะทำให้กองทัพได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นกลไกในการควบคุมไม่ให้ทหารนอกรีต กระทำการอันป่าเถื่อนโหดร้ายลุแก่อำนาจ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติภารกิจทางการทหารของกองทัพมีความเคร่งครัดทางวินัย เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
.
หากมีการทุจริต ทหารต้องขึ้นศาลพลเรือน!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

กองทัพบก ประณามกัมพูชาลอบวางทุ่นระเบิดช่องอานม้า ทหารขาขาด 1 นาย

17 นาทีที่แล้ว

ด่วน! แม่ทัพภาคที่ 2 สั่งปิด 2 ปราสาท ‘ตาเมือนธม-ตาควาย’ หลังกำลังพลเหยียบกับระเบิดซ้ำ

43 นาทีที่แล้ว

นอภ.ท่าแซะ แจ้งความ ‘กำนันดัง-ผู้ใหญ่บ้าน’ โต้เถียงปมรับส่วยรถแบคโฮรุกป่าข้ามแดน

58 นาทีที่แล้ว

‘สมศักดิ์’ ลั่นพร้อมรับมือ ‘วิภา’ สั่งอพยพผู้ป่วย-คุมเข้มเวชภัณฑ์ 3 จังหวัดเหนือ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม