โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เมื่อมังกรทะยานฟ้า ( 4)

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นวัตกรรมโดรนอีกรุ่นหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอเป็น “โดรนพลังงานไฮโดรเจน” ซึ่งจีนเปิดตัวเมื่อต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมาช้ากว่าของหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของเกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ สหรัฐฯ แต่โดรนพลังงานไฮโดรเจนจากแดนมังกรนี้ ก็มีจุดเด่นซ่อนอยู่มากมายเช่นกัน …

โดรนตัวนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาร่วมกันอย่างบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua) และ Chengdu Aircraft Industrial Group Co (CAIG) องค์กรภายใต้ Aviation Industry Corporation of China (AVIC) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจด้านการบินและอวกาศของภาครัฐ
จุดเด่นประการหนึ่งของโดรนรุ่นนี้ได้แก่ การขับเคลื่อนอัตโนมัติและระบบควบคุมการไหลเวียนของเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน รวมทั้งยานพาหนะภาคพื้นดินไร้คนขับและอากาศยานไร้คนขัน

ทั้งนี้ ในการทดสอบระบบดังกล่าวที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นพื้นฐานของเชื้อเพลิง AVIC ประสบความสำเร็จในการแสดงและตรวจสอบความสามารถในการปฏิบัติงานของโดรนรุ่นนี้ ในหลายมิติ แม้กระทั่งในจุดขึ้นลงที่ไม่ได้มาตรฐาน

ในระหว่างการบิน โดรนรุ่นนี้ยังสามารถลาดตระเวนภาคพื้นดินและเฝ้าระวังขณะแบกน้ำหนักสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน โดยอาศัยโมดูลออนบอร์ดระบบ 5G และเครือข่ายสาธารณะ โดรนรุ่นนี้ยังสามารถส่งข้อมูลและภาพถ่ายสินค้าที่ขนส่งแบบเป็นปัจจุบัน (Real Time) ไปยังแพลตฟอร์มระยะไกลได้อีกด้วย

รูปแบบการทํางานร่วมกันนี้ รวมกับการตรวจสอบส่วนหน้าและการตัดสินใจส่วนหลัง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ดีในหลายด้าน อาทิ การสื่อสารเหตุฉุกเฉิน การตรวจสอบสภาพแวดล้อม และ การลาดตระเวณชายแดนในระหว่างภารกิจกู้ภัยจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ประการสำคัญ การขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจนระดับ 50 กิโลกรัม ยังทำให้โดรนนี้สามารถสร้างสถิติใหม่ระดับโลกในด้าน “ความอึด” ด้วยการบินต่อเนื่องถึง 30 ชั่วโมง

ความสำเร็จของความสามารถในการบินต่อเนื่อง 30 ชั่วโมงยังเท่ากับว่า โดรนนี้สามารถครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติงานที่กว้างขวางและสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญของสถาบันฟิสิกส์เคมีแห่งต้าเหลียน ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์จีน ที่ระบุว่า การออกแบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนของโดรนรุ่นนี้ มุ่งเน้นไปที่น้ำหนัก ความหนาแน่น ความทนทาน และประสิทธิภาพในสภาวะอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำมาก

ผู้เชี่ยวชาญในวงการยังเสริมว่า เมื่อเทียบกับโดรนที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมแบบดั้งเดิมแล้ว ระบบพลังงานไฮโดรเจนให้ความหนาแน่นของพลังงานที่สูงขึ้น ความทนทานที่ยาวนานขึ้น และการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาการบินสีเขียวได้อย่างสมบูรณ์แบบ

โดรนอีกตัวหนึ่งที่ผมอยากจะพูดถึง นับว่ามีความพิเศษในด้าน “ขนาด” และ “หน้าที่การใช้งาน” อันที่จริง ผมเองก็ทราบข่าวนี้โดยบังเอิญเมื่อจีนเผยแพร่ภาพข่าวการทดสอบการบินครั้งแรกของโดรนไร้คนขับขนาดยักษ์รุ่น “SS-UAV” ในงานจูไห่แอร์โชว์ครั้งที่ 15 (Zhuhai Airshow) และถูกนำไปเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีน (CCTV) ช่อง 11 และสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2025

โดรนขั้นสูงรุ่นใหม่นี้มีชื่อว่า “จิ่วเทียน” (Jiutian) ซึ่งแปลตรงตัวว่า “9 สววรค์” และที่เป็นข่าวใหญ่ครึกโครม ก็ไม่ใช่เพียงเพราะการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่ออันทรงพลังของจีนเท่านั้น แต่เพราะการมีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายประการของโดรนยักษ์รุ่นนี้นั่นเอง

ภายหลังความร่วมมือของ 3 องค์กรสำคัญ อันได้แก่ AVIC, Shaanxi Unmanned Equipment Technology และ Haige Communications ผ่านห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศแบบ 100% และการทุ่มเททรัพยากรมหาศาล

อาทิ เงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านหยวนเป็นเวลา 18 เดือน โดรนรุ่นนี้ถือเป็น “ต้นแบบ” เจนที่ 4 ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องบินไอพ่น มีปีกกว้าง 25 เมตร สามารถบรรทุกได้ถึง 6 ตัน และบิน ณ ระดับความสูง 15,000 เมตร ทำให้ทำงานเหนือระบบการป้องกันภัยทางอากาศแบบดั้งเดิมจำนวนมาก

รวมทั้งยังสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้นานถึง 26 ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงระยะทางการบินที่ไปได้ไกลถึง 7,000 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นการยกระดับเทคโนโลยีการบินแบบไร้คนขับของจีนอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ โดรนรุ่นนี้ยังทำหน้าที่เป็นเสมือน “ยานแม่” ที่สามารถขนส่ง และปล่อยโดรนขนาดเล็กกว่าร้อยลำ หรือ อาวุธนำวิถีพิสัยไกลจำนวนหลายชุดได้ในเวลาเดียวกัน คล้ายกับโดรนโมเดล RQ-4 Global Hawk และ MQ-9 Reaper ของสหรัฐฯ

โดยที่ “จิ่วเทียน” เป็นของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อปรับปรุงความสามารถในการต่อสู้ทางอากาศอย่างมีนัยสำคัญ จึงนับเป็นเครื่องมือเอนกประสงค์ในการปฏิบัติการทางทหาร และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มขีดความสามารถในการต่อสู้ทางอากาศของจีน

สำหรับผมแล้ว การเปิดตัว “โดรนยักษ์” ที่มีสมรรถนะพิเศษดังกล่าว ในช่วงเวลาที่โดรนถูกใช้เป็นอาวุธในสงครามสมัยใหม่ ที่จะช่วยลดการพึ่งพารถถัง เครื่องบินรบ และ ขีปนาวุธที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า

ขณะเดียวกัน การเปิดตัว“จิ่วเทียน” จึงเหมือนเป็นการ “ส่งสัญญาณ” แรกไปยังนานาประเทศและภูมิภาคใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ไต้หวัน หรือ แม้กระทั่งเกาะกวม

อย่างไรก็ดี โดรนนี้ยังต้องถูกทดสอบทดลองด้านเทคนิคในอีกหลายชุด ก่อนที่กองทัพอากาศจีนจะนำไปใช้จริง หลายฝ่ายคาดว่า “จิ่วเทียน” จะถูกบรรจุเข้าไปในคลังสรรพาวุธได้ภายในสิ้นปี 2025 และประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ การค้นหาและช่วยเหลือ การตรวจชายแดน ลอจิสติกส์ฉุกเฉิน และการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติต่อไปในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “อนาคตของสงครามทั้งหมดอยู่ในมือของโดรน” เราจึงน่าจะเห็น “ฝูงโดรน” ในรูปแบบต่างๆ ที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระอีกมากในอนาคต อาทิ โดรนยานแม่ที่ใหญ่และระดับการบินสูงขึ้น โดรนติดอาวุธ โดรนสอดแนมขนาดจิ๋วความเร็วเหนือเสียง หรือแม้กระทั่งโดรนล่องหน

กำลังสนุกเลย ผมขอคุยต่อตอนหน้าอีกสักตอนครับ …

เมื่อมังกรทะยานฟ้า ( 4) : คอลัมน์มังกรกระพือปีก โดย…ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 4114

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 17ก.ค.ที่ระดับ 32.52 บาทต่อดอลลาร์

59 นาทีที่แล้ว

"รฟท." เปิดเกมรุก สัญญาเช่า "ที่ดินรัชดาฯ-ตลาดศาลาน้ำร้อน" ปั้นรายได้ปี 69 พุ่ง 1 หมื่นล้าน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"รฟท." ปักธง ส.ค.นี้ ลุยเซ็นสัญญาเอกชน สร้าง "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน"

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมชลฯ จับมือท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาน้ำเสียไหลลงอ่างฯ มาบประชัน วอนทุกภาคส่วน ช่วยดูแลคุณภาพน้ำ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

BBL โชว์ครึ่งแรกปี 68 มีกำไร 24,458 ล้านบาท โต 9.5% จากปีก่อน รับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยพุ่งแรง

Wealthy Thai

พด.101 ร่วมโครงการ ‘คลีนิคเกษตรเคลื่อนที่’ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

The Bangkok Insight

จับสัญญาณทองคำครึ่งปีหลัง InterGOLD ชี้การย่อลึกไม่ใช่จบรอบ แนะปรับกลยุทธ์ลงทุนรับความผันผวน

สยามรัฐ

‘GenAI’ สุดฮิต! ยอดลงทะเบียนเรียนออนไลน์คนไทยทะลุ 1 แสนครั้ง

กรุงเทพธุรกิจ

‘กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ’ เผยรายชื่อ 5 บริษัทไทย-เทศ ยื่นขอสิทธิสัมปทานปิโตรเลียมบนบก คาดเคาะชื่อ ธ.ค.68

THE STATES TIMES

‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไร้อนาคต การรถไฟฯ เคว้ง แก้สัญญาไม่จบ

กรุงเทพธุรกิจ

รฟท.เข็นรายได้หมื่นล้านปีหน้า รื้อสัญญาเช่าที่ดินเชิงพาณิชย์

กรุงเทพธุรกิจ

JKN เผยจนท.พิทักษ์ทรัพย์เลื่อนประชุมเจ้าหนี้เป็น 25 ก.ย.68

ทันหุ้น

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...