โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรม จำเป็นต้องตรวจทุกคนไหม?

Amarin TV

เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
NIPT คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องตรวจทุกคนไหม ใครบ้างที่อาจได้ผลตรวจที่ไม่แม่นยำ

NIPT คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องตรวจทุกคนไหม ใครบ้างที่อาจได้ผลตรวจที่ไม่แม่นยำ ทำอย่างไรหากผลพบเด็กผิดปกติ

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 เพจฯ หมอสูติคู่มือถือคุณ เผยว่า

สิ่งที่คุณแม่ควรรู้ก่อนตัดสินใจตรวจ NIPT

ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ล้ำหน้า การตรวจคัดกรองพันธุกรรมของทารกในครรภ์โดยไม่ต้องเจาะถุงน้ำคร่ำ หรือที่เรียกว่า NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณแม่หลายคนสนใจ เพราะตรวจจาก เลือดของแม่เพียงเล็กน้อย แต่สามารถให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพทางพันธุกรรมของลูกน้อยได้

แต่ก่อนตัดสินใจตรวจ NIPT คุณแม่ควรทำความเข้าใจหลายเรื่องให้ชัดเจน ทั้งเรื่องของ "ตรวจอะไรได้บ้าง" "ตรวจแม่นยำแค่ไหน" "ตรวจได้เมื่อไหร่" และ "ตรวจแล้วต้องทำอะไรต่อ" เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างเหมาะสม

NIPT ตรวจหาอะไรได้บ้าง?

NIPT ออกแบบมาเพื่อตรวจหา ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยในทารก ได้แก่

• กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21)

• Trisomy 18 (Edwards syndrome)

• Trisomy 13 (Patau syndrome)

นอกจากนี้ แพ็กเกจบางรายการยังสามารถตรวจโครโมโซมเพศ (X, Y) และความผิดปกติที่เกิดจากการขาดหายของชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของโครโมโซม (microdeletions) ได้อีกด้วย เช่น DiGeorge syndrome หรือ Cri-du-chat syndrome (แต่ในส่วนที่บริการฟรีนี้เชื่อว่ายังไม่มีการตรวจเพิ่มเติมฟรีในกลุ่ม microdeletions นะครับ)

อย่างไรก็ตาม NIPT ไม่สามารถตรวจหาทุกโรคหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ทั้งหมด และมีข้อจำกัดที่ควรทราบ เช่น

• ไม่สามารถตรวจหากลุ่มอาการ ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ได้

• ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติของ พัฒนาการทางสมองหรือสติปัญญา ในทุกๆอย่างได้

• ไม่สามารถตรวจหาโรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย ได้ในการบริการปัจจุบันเพราะต้องแยกตรวจต่างหากโดยการตรวจเลือดพ่อแม่

ความแม่นยำของการตรวจ NIPT

การตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูงมาก โดยเฉพาะในโรคที่เกี่ยวกับจำนวนโครโมโซมผิดปกติ เช่น

• ความแม่นยำในการตรวจ Trisomy 21 (ดาวน์ซินโดรม) สูงกว่า 99%

• Trisomy 18 และ 13 มีความแม่นยำประมาณ 90–97%

แต่ถึงแม้จะมีความแม่นยำสูง NIPT ก็ยังไม่ใช่การวินิจฉัย (diagnostic test) หากผลตรวจออกมาว่าผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาแนะนำให้คุณแม่ ยืนยันผลด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือเก็บเนื้อเยื่อจากรก เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอนก่อนตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครับ

ตรวจ NIPT ได้เมื่อไหร่?

NIPT สามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะช่วงนี้ cfDNA จากทารกจะเริ่มมีปริมาณมากพอในเลือดคนท้องให้วิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ

การตรวจเร็วเกินไป (ก่อน 10 สัปดาห์) อาจทำให้ได้ผลที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ชัดเจน (เรียกว่า “no-call”) ซึ่งต้องตรวจซ้ำ ดังนั้นอย่ารีบร้อนนะครับ รอให้อายุครรภ์เหมาะสมก่อนครับ

ใครบ้างที่อาจได้ผลตรวจที่ไม่แม่นยำ?

แม้การตรวจจะปลอดภัยและให้ผลแม่นยำสูง แต่ก็มีบางปัจจัยที่อาจทำให้ผลตรวจ NIPT ไม่ชัดเจนหรือคลาดเคลื่อนได้ เช่น

• คุณแม่ที่มี น้ำหนักตัวมาก (BMI สูง) อาจมี cfDNA จากทารกในกระแสเลือดต่ำกว่าปกติ

• ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดต่างเพศ อาจทำให้การวิเคราะห์สับสน การตั้งครรภ์แฝดที่ตัวอ่อนหยุดเติบโตก็อาจทำให้ผลไม่แม่นได้

• คนท้องเคยได้รับการ ปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

• เคยเป็นหรือกำลังเป็นหรือกำลังรักษา โรคมะเร็งบางชนิด

• เพิ่งได้รับ การให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือดจากผู้อื่น

ในกรณีเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตรวจ เพราะอาจจำเป็นต้องเลือกวิธีอื่นที่แม่นยำกว่า เช่น การเจาะน้ำคร่ำครับ

ต้องตรวจ NIPT ทุกคนหรือไม่?

NIPT เป็น “การตรวจคัดกรองระดับสูง” (advanced screening) แนะนำให้ทำกับคนท้องที่มีโอกาสและหลังการคุยอย่างเข้าใจถึงข้อดีข้อจำกัดในทุกคนก่อนตัดสินใจเสมอ

สรุป: NIPT เหมาะกับใคร และควรตรวจหรือไม่?

NIPT เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณแม่ที่ต้องการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในครรภ์โดยไม่เสี่ยงกับการเจาะน้ำคร่ำ แต่ต้องเข้าใจว่า:

• ไม่ได้ตรวจได้ทุกโรค

• ไม่ได้ตรวจโครโมโซมทุกคู่ และไม่ได้ตรวจลึกลงไปในทุกตำแหน่งของ gene การตรวจนี้เป็นการตรวจร่องรอยของ cell free DNA ของรกที่เข้ามาวนเวียบในเลือดคนท้อง บางกรณีรกที่ผิดปกติเด็กในท้องอาจไม่ได้ผิดปกติด้วยก็ได้นะ

• ไม่ได้แทนการตรวจธาลัสซีเมีย อัลตราซาวด์ หรือการตรวจวินิจฉัย

• หากผลผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันต่อก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อกับการตั้งท้อง

ฝากช่วยกันส่งข่าวดีเรื่อง "บริการฟรี" ที่กำลังจะมา และช่วยกันประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีและข้อจำกัดเหล่านี้ล่วงหน้ากันนะครับ เป็นเรื่องดีกว่าไม่ได้ตรวจอะไรเลย แต่การตรวจนี้ไม่ได้แทนทุกอย่างและยังบอกอะไรไม่ได้อีกหลายๆ อย่างครับ"

และอีกหนึ่งข้อควรรู้สำคัญ ข้อมูลจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึง

ข้อแตกต่างสำคัญ สิทธิ สปสช. vs. บริการภาคเอกชน

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนคือขอบเขตการสนับสนุนของ สปสช.

• นโยบายของ สปสช. : เป็นการสนับสนุน ค่าตรวจคัดกรอง และ ค่าตรวจวินิจฉัย (หากจำเป็น) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการเท่านั้น แต่ ไม่ครอบคลุมถึงการชดเชยหรือเงินประกัน ในกรณีที่เกิด "ผลลบปลอม"

• บริการของภาคเอกชน : การตรวจ NIPT กับสถานพยาบาลเอกชนบางแห่ง มักจะรวมค่าประกันความเสี่ยง ในกรณีเกิดผลลบปลอมไว้ในค่าบริการด้วย ซึ่งอาจมีการจ่ายเงินชดเชยประมาณ 1-2 ล้านบาท (ตามเงื่อนไข)

ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการหลักประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงในส่วนนี้ อาจต้องพิจารณาเลือกใช้บริการของภาคเอกชนและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

ทรัมป์เฮ สภาคองเกรสเคาะตัดงบ 9 พันล้าน เลิกช่วยต่างชาติและสื่อสาธารณะ

30 นาทีที่แล้ว

ฉางอานผนึกกำลังไทย 50 ปี ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การเติบโตยั่งยืนในประเทศ

35 นาทีที่แล้ว

รู้จัก "มะพร้าวทะเล" ปาล์มหายาก เมล็ดราคาหลักแสน ในไทยพบแค่ 2 แห่ง!

57 นาทีที่แล้ว

บุกจับผับกลางกรุง! ยึดปืน ยาเสพติดอื้อ ฉี่ม่วง 40 ราย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

เรื่องใหม่ คุณแม่ต้องรู้ เพิ่มวันลาคลอด- ปรับเกณฑ์น้ำหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

ภาวะเลือดหนืด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง

สยามรัฐวาไรตี้

ฝันถึงแฟนเก่า ไม่ใช่เพราะคิดถึง แต่สมองกำลังเคลียร์ความจำ

TNN ช่อง16

แพทย์เตือน! น้ำผลไม้ 1 ชนิด ไม่ผ่านการรับรองอันตรายถึงชีวิต

News In Thailand

ไอเดียปรับ “อาหารนอกบ้าน” ให้คลีนได้! เพิ่มใยอาหาร โปรตีนคุณภาพ

PPTV HD 36

"สมศักดิ์" ลุยใต้ จัด 11 คลินิกเชิงรุกบริการทุกช่วงวัยฯ

ฐานเศรษฐกิจ

“แคริว่า” คว้าใบรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ตอกย้ำผู้นำ AI ทางการแพทย์

ฐานเศรษฐกิจ

ข้อแนะนำการออกกำลังกายฉบับ “ผู้ป่วยโรคหัวใจ” ช่วยเสริมสุขภาพ

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

เปิด 10 อันดับ โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินสูงสุด

Amarin TV

ตรวจ NIPTฟรี คัดกรอง ดาวน์ซินโดรม ขั้นตอนขอเข้ารับบริการ ทุกสิทธิรักษา

Amarin TV

"30 บาทรักษาทุกที่" เดินหน้าดูแลประชาชน ยกระดับหลักประกันสุขภาพ

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...