โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“อาเซียน”แกร่ง“FDI”เพิ่ม10%ผล“ซัพพลายเชน”เปลี่ยน-สวน“ลงทุนโลก”ลด11%

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด เผยแพร่รายงาน World Investment Report 2025 : International investment in the digital economy สาระส่วนหนึ่งระบุว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลกในปี 2024 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 4% มูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขหลักนี้เพิ่มขึ้นจากธุรกรรมทางการเงินที่ผันผวนผ่านเศรษฐกิจยุโรปหลายแห่งที่มีกระแสเงินไหลเข้าสูง ดังนั้นหากไม่นับรวมเงินเหล่านี้ ก็จะพบว่าเนื้อแท้ของการลงทุนโลกเมื่อปีที่ผ่านมา อยู่ในอาการน่าเป็นห่วงคือ FDI ทั่วโลกลดลง 11% และถือเป็นปีที่สองติดต่อกันที่มีการมีการติดลบเป็นเลขสองหลัก

สำหรับแนวโน้มการลงทุนระหว่างประเทศในปี 2025 รายงานชี้ว่าก็อยู่ในในอาการ“เป็นลบ” แม้ว่าจะมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย

ในช่วงต้นปี แต่ความตึงเครียดด้านการค้าทำให้มีการปรับลดตัวชี้วัดส่วนใหญ่ของแนวโน้ม FDI ลง รวมถึงการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การสร้างทุน การส่งออกสินค้าและบริการ อัตราแลกเปลี่ยนและความผันผวนของตลาดการเงิน และความรู้สึกของนักลงทุน ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่ทำให้ปี 2525 การลงทุนโลกก็ยังไม่สดใส

“แม้ว่าการกำหนดภาษีศุลกากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐจะทำให้เกิดการประกาศแผนการลงทุนใหม่ๆ เพื่อการห่วงโซ่อุปทานสอดรับกับสถานการณ์ทางภาษีแต่มีสิ่งที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือความรู้สึกไม่แน่นอนที่นักลงทุนกำลังเผชิญคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้การลงทุนทั่วโลกมีทิศทางเป็นลบ”

ข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกของปี 2025 ชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมในข้อตกลงและโครงการต่างๆ อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์

การเงินโครงการระหว่างประเทศ (International Project Finance: IPF) ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2024 มูลค่าของ IPF ซึ่งมีความสำคัญต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ลดลง 26%

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทข้ามชาติ (MNE) คาดการณ์ถึงความจำเป็นในการปรับสมดุลเชิงกลยุทธ์ของสถานที่ผลิต โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปตะวันออก และอเมริกากลางเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์หลัก โดยในเอเชียตะวันออก (ส่วนใหญ่คือจีน) โดยFDI ยังคงกระจุกตัวอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ไม่กี่ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยผู้รับ 10 รายคิดเป็นสามในสี่ของกระแสเงินลงทุนจากประเทศกำลังพัฒนา

กระแสเงินลงทุนFDI ไหลเข้าสู่เอเชีย ลดลง3% โดยเฉพาะในจีนลดลงเป็นปีที่สอง ที่29% แต่ในอาเซียน เพิ่มขึ้น 10% เป็น 225 พันล้านดอลลาร์

ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ ส่วนในอินเดีย ลดลง 2% แม้จะมีการประกาศโครงการกรีนฟิลด์เพิ่มขึ้นอย่างมาก กระแสเงินลงทุนไปยังเอเชียตะวันตกยังคงอยู่ในระดับสูง โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากกระแสเงินลงทุนไหลเข้าจำนวนมากในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

แนวโน้มตามภาคส่วนแสดงให้เห็นถึงการลงทุนที่ลดลงในภาคส่วนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีจำนวนโครงการลดลง 9 %อันเป็นผลจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ แต่ยกเว้นการลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 4% แม้ว่ามูลค่าเฉลี่ยจะลดลงก็ตาม

"ภาคส่วนดิจิทัลรวมถึงแพลตฟอร์มและบริการต่างๆ มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 17% และมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทางตรงกันข้าม การประกาศโครงการด้านพลังงานหมุนเวียนลดลง 12% และโครงการด้านแร่ธาตุที่สำคัญลดลงเกือบ 50% การประกาศโครงการใหม่ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ห่วงโซ่อุปทานอย่างเข้มข้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องจักร และสิ่งทอ ยังคงทรงตัว"

อุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนในช่วงต้นทศวรรษนี้และปัจจุบันได้รับผลกระทบจากแรงกดดันด้านนโยบายจนต้องย้ายฐานการผลิต ก็มีการประกาศโครงการขนาดใหญ่อีกครั้ง จาก 10 โครงการใหญ่ที่ประกาศไป มี 4 โครงการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดย 3 โครงการอยู่ในสหรัฐ และ 1 โครงการอยู่ในอินเดีย โดยมีการลงทุนรวม 7 หมื่นล้านดอลลาร์

การวิเคราะห์แนวโน้มภาคส่วนในระยะยาวในภูมิภาคกำลังพัฒนาแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการดึงดูดการลงทุนที่หลากหลายในแต่ละขั้นตอนการพัฒนา การเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของภาคส่วนและส่วนแบ่งของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในช่วงห้าปีที่ผ่านมากับช่วงห้าปีจากนี้เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการลงทุนไปสู่ภาคบริการ พลังงานสะอาด และโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาของภาคส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลและโอกาสที่เกิดจากการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิต และการพึ่งพาอุตสาหกรรมการสกัดแร่ในประเทศที่มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง

ในทางตรงกันข้ามพบว่า การลงทุนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนาลดลงอีกครั้งในปี 2024 โดยลดลง 35%ในโครงสร้างพื้นฐาน ,31% ในพลังงานหมุนเวียน ,30% ในน้ำและสุขาภิบาล และ19% ในระบบเกษตรและอาหาร

มีเพียงภาคส่วนสุขภาพเท่านั้นที่มีการเติบโตในเชิงบวกทั้งจำนวนและมูลค่าของโครงการ นับเป็นกลุ่าที่มีมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เพียงแต่ในการจัดหาเงินทุนโครงการในบริการด้านสุขภาพ (เช่น โรงพยาบาล) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมยาด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘สานสุขไทอีสาน’ขับเคลื่อนกลไก 'สุขภาวะเชิงพื้นที่'ยกระดับการมีส่วนร่วม

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผุดเมือง 'สแกมเมอร์' ใหม่ ตรงข้ามช่องจอม รับย้ายฐาน 'ชเวโก๊กโก่-ปอยเปต'

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

หยุดยาว 10-11 ก.ค.นี้! ขึ้นทางด่วนฟรี 3 เส้นทาง

สยามรัฐ

“ธนวัฒน์ ปัญญาสกุลวงศ์” ลาออกบอร์ด EASTW มีผลพรุ่งนี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

THG แจ้ง “จิระพงษ์ วินิชบุตร” ลาออกกรรมการอิสระ หลังเกษียณอายุ มีผล 16 ก.ค.นี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ปักกิ่งขู่ตอบโต้เด็ดขาด! หากชาติพันธมิตรหนุน “ทรัมป์” ลดบทบาท “จีน” จากห่วงโซ่เศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

Reciprocal Tariff ที่ 36% ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยความเสี่ยง GDP โตต่ำกว่า 1.4%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออก PCB ไทยปีนี้ อาจไม่เป็นตามคาด หากไทยโดนภาษี 36% ตลอดทั้งปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ส่งออกน้ำมันรำข้าวไทยปี 2568 มูลค่าโตพุ่ง 12.8% สูงสุดในรอบ 3 ปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สหรัฐฯ ปรับภาษีนำเข้าใหม่ มีผล 1 ส.ค.2025 ใครขึ้น ใครลด?

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...