กัมพูชา หยิบวรรณคดีไทย ขึ้นทะเบียนยูเนสโก้ 22 เรื่อง วธ. ว่าแบบนี้
กัมพูชาขึ้นทะเบียนวรรณกรรมไทย ต่อยูเนสโก 22 เรื่อง อ้าง พื่อใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของกัมพูชา
14 กรกฎาคม 2568 – วงการวรรณกรรมและวัฒนธรรมไทยเริ่มเดือด จี้กระทรวงวัฒนธรรรมไทยทวงคืนมรดกชาติ หลังมีรายงานว่าประเทศกัมพูชาได้นำ วรรณคดีไทยจำนวน 22 เรื่อง ที่แต่งขึ้นโดยกวีและพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ไปยื่นขึ้นทะเบียนเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในนามของกัมพูชา เพื่อใช้ในการแสดง Royal Ballet of Cambodia กัมพูชาอ้างว่าได้ฟื้นฟูวรรณคดีขึ้นใหม่ตั้งแต่ปี 2522-2545 จากละครเรื่อง “พระทอง นางนาค” ในสมัยของ สมเด็จพระสีสุวัถติ์ มุณีวงศ์
วรรณกรรมไทยที่ถูกอ้างสิทธิเหล่านี้ มีทั้งบทละครรำ, นิทานพื้นบ้าน และวรรณคดีสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่
1. ไกรทอง – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 2 นิทานพื้นบ้าน
2. พระสมุท – พระนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
3. อุณรุท – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 มาจากบทละครในเรื่องอุณรุทสมัยอยุธยาตอนปลาย
4. พระสังข์ – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 2 บทละครนอก
5. พระทิณวงศ์ – นิทานพื้นบ้านภาคกลาง จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2458
6. จันทโครพ – ผู้แต่ง สุนทรภู่
7. พระเวสสันดร – ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
8. อิเหนา – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลทีี่ 2 บทละครรำ
9. อนิรุทธกินรี – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 มาจากบทละครเรื่องอุณรุทสมัยอยุธยาตอนปลาย
10. ศุภลักษณ์ – มาจากตอนศุภลักษณ์อุ้มสม เรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1
11. รามเกียรติ์ – พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 และ ในหลวงรัชกาลที่ 2
14. พระสุธน-มโนราห์ – บทละครสมัยอยุธยา มาจากพระสุธนชาดก แต่งเป็นคำฉันท์ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยาอิศรานุภาพ
15. กากี – คำกลอนวรรณคดี เจ้าพระยาพระคลัง(หน) บทเห่กล่อมพระบรรทม แต่งโดยสุนทรภู่
16. สีดาลุยเพลิง – จากรามเกียรติ์ตอนสีดาลุยไฟ พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1
17. จองถนน – จากรามเกียรติ์ตอนจองถนน พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 1
20. ทิพสังวาล – หนังสืออ่านเล่นในสมัยรัชกาลที่ 5
22. ลักษณวงศ์ – แต่งโดยสุนทรภู่
หลายเรื่องมีที่มาชัดเจนว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของกษัตริย์ไทย หรือผลงานของกวีเอกไทยอย่างสุนทรภู่
ด้าน นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมขอเรียนว่า ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว และปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบหมายให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประสานความร่วมมือกับกรมศิลปากร กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว
เนื่องจากกระบวนการพิจารณาตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูลอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ กระทรวงวัฒนธรรมขอยืนยันว่า หากได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนแล้ว จะรายงานความคืบหน้าให้ทราบในโอกาสต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง