โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

KKP ผนึก Goldman Sachs Asset Management เปิดมุมมองลงทุนครึ่งปีหลัง

การเงินธนาคาร

อัพเดต 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 22.57 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

KKP ผนึก Goldman Sachs Asset Management เปิดมุมมองลงทุนครึ่งปีหลัง ชูพอร์ตคุณภาพ–หุ้นเด่น–ทองคำ–เทคโนโลยี เจาะโอกาสทองฝ่าคลื่นความผันผวนโลกปี 69

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ร่วมกับGoldman Sachs Asset Management ชี้เศรษฐกิจโลกครึ่งหลังปี 2568 อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ท่ามกลางแรงกดดันจากภูมิรัฐศาสตร์และการค้าสหรัฐ–จีน คาดดอกเบี้ยนโยบายไทยมีแนวโน้มลดลงแตะ 1.0%

แนะกลยุทธ์ปั้นพอร์ต เน้นหุ้นคุณภาพ (Quality) และ หุ้นกลุ่มป้องกันความเสี่ยง (Defensive) เพื่อรักษาเสถียรภาพพอร์ตท่ามกลางความผันผวน

พร้อมชู 4 กลุ่มดาวเด่นปี 2569 ได้แก่ Healthcare, หุ้นยุโรป, หุ้นอินเดีย และพลังงานนิวเคลียร์ ณ งานสัมมนา KKP 2025 Mid-Year Review: The Power of Two ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568

ไฮไลท์หนึ่งจากงานสัมมนาได้แก่เวทีของTimothy Moe, Chief Asia Pacific Regional Equity Strategist and Co-Head of Macro Research in Asia, Goldman Sachs ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังเติบโตแต่เริ่มชะลอตัว โดยมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนด้านภาษีและภูมิรัฐศาสตร์

พร้อมแนะนำให้นักลงทุนเน้นโอกาสเฉพาะตัว (idiosyncratic opportunities) ที่ไม่พึ่งพาปัจจัยมหภาคมากนักในกรณีที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากความขัดแย้งในอิหร่าน หากน้ำมันพุ่ง 10% อาจฉุด GDP โลกลง 0.1% และดันเงินเฟ้อเพิ่ม 0.2%

อย่างไรก็ดี ในภาวะที่น้ำมันแพงและภูมิรัฐศาสตร์ผันผวน ตลาด ASEAN-4 หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ และหุ้นกลุ่มป้องกันความเสี่ยง (Defensive) มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นเอเชียในภาพรวม

สำหรับฝั่งสหรัฐฯ Goldman Sachs ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP และลดโอกาสเกิดภาวะถดถอยเล็กน้อย จากแรงกดดันภาษีที่ผ่อนคลายลง แต่ยังคงกังวลเรื่องวินัยการคลังที่อาจกดดันค่าเงินดอลลาร์และตลาดพันธบัตร

“คาดว่า S&P 500 จะให้ผลตอบแทนราว 4-5% ในอีก 12 เดือน หากไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และประเมินเป้าดัชนีที่ระดับ 6,500 จุด”

สำหรับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์แนะนำลงทุนทองคำในภาวะที่ความไม่แน่นอนยังสูง ตลาดกังวลความเสี่ยงด้านสถาบันในสหรัฐฯ และแรงซื้อจากธนาคารกลางทั่วโลกที่ยังแข็งแกร่ง

สำหรับตลาดหุ้นเอเชีย ให้ปรับน้ำหนักโดยเพิ่มเกาหลีใต้ ไต้หวัน และกลุ่มเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และลดน้ำหนักสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ส่วนจีนและญี่ปุ่นยังแนะนำให้คงถือมากกว่ามาตรฐานเช่นกัน

กลยุทธ์การลงทุนครึ่งปีหลังเน้นไปที่หุ้นที่ได้อานิสงส์จากเงินดอลลาร์อ่อน หุ้นที่มีการคืนกำไรผู้ถือหุ้นสูง กำไรคุณภาพดี แนวโน้มถูกปรับประมาณการขึ้น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Aerospace & Defense กลุ่ม AI และกลุ่มที่ได้แรงหนุนจากนโยบายรัฐจีน

นายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน (CIO Office)บล.เกียรตินาคินภัทร เผยว่าตลาดหุ้นทั่วโลกอาจเผชิญแรงขายในระยะสั้นจากผลกระทบภาษีนำเข้าและนโยบายกีดกันการค้า แต่คาดว่าตลาดจะฟื้นตัวได้ดีในปี 2569 หนุนโดยมาตรการกระตุ้นจากสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะการลดภาษีในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะหนุน GDP ปี 2569 เพิ่ม 0.5% และกำไรต่อหุ้นปรับขึ้นกว่า 5%

บล.เกียรตินาคินภัทร ยังคงคำแนะนำการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างเต็มที่ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ (fully invest) และมองว่าระดับดัชนี S&P 500 ที่ 5,800 จุดเป็นโอกาสในการทยอยเข้าลงทุน โดยมีเป้าหมายกลางปี 2569 ที่ระดับ 6,500 จุด

พร้อมเน้นการถือหุ้นคุณภาพ (Quality) และ หุ้นกลุ่มป้องกันความเสี่ยง (Defensive) ซึ่งมีพื้นฐานค่อนข้างแข็งแกร่ง ความเสี่ยงต่ำ และมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เพื่อรักษาเสถียรภาพพอร์ตท่ามกลางความผันผวน

หุ้นดาวเด่นที่ควรมีในพอร์ตลงทุน

  • หุ้น Healthcare: เด่นจาก valuation ที่ยังต่ำ กำไรฟื้นตัว และแนวโน้มการเติบโตระยะยาวจากโครงสร้างประชากรสูงวัย รวมถึงโอกาสควบรวมกิจการในกลุ่ม Biotech ที่จะเป็นแรงส่งเพิ่มเติม
  • หุ้นยุโรปในสกุลเงินยูโร: ได้อานิสงส์จากนโยบายการคลังของเยอรมนี การลดดอกเบี้ยของ ECB และ P/E ยังต่ำกว่าหุ้นโลกเฉลี่ย 10% ทำให้น่าสนใจทั้งด้าน valuation และแนวโน้มกำไรเป็นได้ทั้งการลงทุนเชิงรุกในหุ้นโลกและช่วยกระจายความเสี่ยงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • หุ้นอินเดีย: ได้แรงหนุนจากโครงสร้างประชากร เสถียรภาพการเมือง และการกระจายฐานการผลิตจากจีน แม้ valuation สูง แต่ยังน่าสนใจจากศักยภาพการเติบโตที่ 10–15% ต่อปี
  • หุ้นพลังงานนิวเคลียร์: เป็นโอกาสลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจจากแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าที่เติบโตเร็วตามเทรนด์ electrification และความต้องการของ data center มีจุดเด่นคือผลิตไฟฟ้าได้เสถียร ต้นทุนต่ำและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการแร่ยูเรเนียมขยายตัวขึ้น

บล.เกียรตินาคินภัทรลดน้ำหนักตราสารหนี้โลกลงมาเป็น “Neutral” จากความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะสหรัฐฯ และแรงกดดันเงินเฟ้อ แต่ยังแนะนำลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูง อายุ 3–5 ปี ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ขณะที่ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์

หุ้นไทย แนวโน้มยังอ่อนแรง

คงมุมมองระมัดระวังต่อหุ้นไทยในครึ่งปีหลัง โดยประเมินกรอบดัชนีที่ 1,000–1,300 จุด จากแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศ ความไม่แน่นอนทางการเมือง และแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ แนะนำกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มดีกว่า

[caption id="attachment_182618" align="aligncenter" width="1000"]

KKP ผนึก Goldman Sachs Asset Management

Ronald Lee, Head of Goldman Sachs Private Wealth Management in Asia Pacific and Co-Head of the Client Solutions Group in Asia Pacific, Goldman Sachs Asset Management[/caption]

ทั้งนี้ ภายในงานนายณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนลูกค้าบุคคล บล.เกียรตินาคินภัทร และ Ronald Lee, Head of Goldman Sachs Private Wealth Management in Asia Pacific and Co-Head of the Client Solutions Group in Asia Pacific, Goldman Sachs Asset Management ร่วมเปิดงานโดยกล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ตอกย้ำแนวทางบริหารความมั่งคั่งสำหรับนักลงทุนไทย

ในขณะที่ภายในงานสัมมนา ผู้เชี่ยวชาญของทั้งสององค์กร ร่วมถ่ายทอดมุมมองเศรษฐกิจและกลยุทธ์การลงทุนเช่น การจัดพอร์ตให้ตอบโจทย์ตลาดจริงกลยุทธ์การเลือกหุ้นเชิงรุกทั้งหุ้นนอกและหุ้นไทย ตลอดจนการลงทุนทางเลือกในสินทรัพย์นอกกรอบแบบเดิม เพื่อช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพรวมและปรับใช้กับแนวทางการลงทุนของตนได้มีประสิทธิภาพ

ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บล.เกียรตินาคินภัทร เผยว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงต้านรอบด้าน โดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งเคยเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก กลับเริ่มชะลอตัวลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ความไม่แน่นอนจากการเจรจาการค้าแบบต่างตอบแทน (reciprocal trade) ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกัน การก่อหนี้ที่ลดลงในภาคการเงิน (financial deleveraging) ได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ

ในอีกทางหนึ่ง แม้จะมีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นโยบายการคลังก็มีข้อจำกัด เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะที่สูง การออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมอาจต้องพิจารณาการปรับเพิ่มเพดานหนี้ โดยควรมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว

ด้านนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้วทำให้มีขอบเขตในการดำเนินนโยบายจำกัด ธนาคารกลางอาจต้องพิจารณาแนวทางที่แตกต่างจากเดิม (unconventional policy) เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ โดยยังคงประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจลดลงสู่ระดับ 1.0%

ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศยังคงสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอ สะท้อนถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจในภาพรวม ไทยจึงจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าวาระการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ทั้งในด้านแรงงาน การศึกษา นวัตกรรม กฎระเบียบ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์หุ้นไทย-ตลาดหุ้นไทย ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

รมว.คลัง เผย เจรจาภาษีสหรัฐฯ ยังไม่ได้ข้อสรุปเตรียมทำข้อเสนอเพิ่มเติม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไฮไลท์โปรโมชั่นจาก ธนาคารกรุงเทพ ในงาน MONEY EXPO 2025 HATYAI

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“แพทองธาร” ดันต่อ 4 ซอฟต์พาวเวอร์ Quick win “ภาพยนตร์-อาหาร-มวยไทย-สุขภาพ”

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หุ้นไทย ปิดลบ 7.27 จุด ขายลดเสี่ยงวันหยุด ลุ้นเจรจาการค้าไทย-สหรัฐสรุปก่อนเส้นตาย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

เมืองไทยประกันชีวิต เปิดเผยรายงานความยั่งยืนประจำปี 2567ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและโปร่งใส

สยามรัฐ

GUNKUL ยังน่าลงทุนไหม? จากต้นปีร่วงแล้ว 30% โบรกฯ ยังประสานเสียงแนะ “ซื้อ” มองพื้นฐานแกร่ง-มีแนวโน้มโตต่อเนื่อง

Wealthy Thai

KTC รายงาน "มงคล ประกิตชัยวัฒนา" สัดส่วนถือหุ้นเหลือ 5.1376%

ประชาชาติธุรกิจ

‘พิชัย’ อัปเดตเจรจาภาษีสหรัฐ ชี้ยกแรกยังไม่จบ เตรียมปรับเงื่อนไขข้อเสนอใหม่!

The Bangkok Insight

ค่าเงินบาท ปิดวันนี้ 4 ก.ค. ที่ 32.34 บาท คาดกรอบสัปดาห์หน้า 32.30-32.50 บาท

The Bangkok Insight

ตลาดแรงงานสหรัฐยังแข็งแกร่ง จับตาการเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ

ไฮไลท์โปรโมชั่นจาก ธนาคารกรุงเทพ ในงาน MONEY EXPO 2025 HATYAI

การเงินธนาคาร

สภาผู้แทนสหรัฐฯ ไฟเขียวร่างกม.ลดหย่อนภาษี-การใช้จ่าย ทรัมป์เตรียมลงนามบังคับใช้

ฮั่วเซ่งเฮง

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...