โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สิทธิบัตรทอง รักษาไตฟรี! ครอบคลุม 4 วิธี สปสช.ย้ำ! เริ่มใช้ได้เลย

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สิทธิบัตรทอง รักษาไตฟรี! ครอบคลุม 4 วิธี คือ ปลูกถ่ายไต ล้างไตทางช่องท้อง ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการดูแลแบบประคับประคองสปสช.ย้ำ! เริ่มใช้ได้เลย

สปสช. ยืนยันผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองรายใหม่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แจงแนวทางตั้งแต่ 1 เม.ย. 68 มีกระบวนการดูแลความเหมาะสมของผู้ป่วย ก่อนเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสม ทั้ง 4 วิธีคือ ปลูกถ่ายไต ล้างไตทางช่องท้อง ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการดูแลแบบประคับประคอง

พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นมา ผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองรายใหม่ที่ฟอกไตจะต้องจ่ายค่าฟอกไตรวมค่ายา รายละไม่ต่ำกว่า 2,500 บาทนั้น สปสช. ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยในการใช้สิทธิบัตรทองนั้น ผู้ป่วยไตไม่ต้องจ่ายค่ารักษา สิทธิประโยชน์คุ้มครองทั้งหมด

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2568 ที่ผ่านมานี้ ผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองรายเดิมยังคงได้รับสิทธิบริการทดแทนไตด้วยวิธีเดิม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่ที่ต้องรับบริการบำบัดทดแทนไต จะมีกระบวนการดูแลความเหมาะสมของผู้ป่วย กล่าวคือผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้ว่าวิธีบำบัดทดแทนไตวิธีไหนเหมาะกับบริบทของตัวเอง

โดยแพทย์จะให้ข้อมูลกับคนไข้ว่าวิธีบำบัดทดแทนไตมีวิธีไหนบ้าง แล้วจะดูความเหมาะสมกับบริบทของคนไข้ในการบำบัดทดแทนไตเอง ไม่ว่าจะเรื่องสภาพร่างกาย โรคร่วม อายุ ข้อห้ามทางการแพทย์ ที่อยู่ของผู้ป่วย เช่น กรณีบำบัดด้วยฟอกเลือด การเดินทางจากบ้านคนไข้มาหน่วยบริการมีระยะทางใกล้หรือไกลแค่ไหน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลตัวเองระหว่างการฟอกเลือดสูงเพียงใด

ส่วนกรณีการล้างไตทางหน้าท้อง จะพิจารณาว่าคนไข้มีความสามารถในการดูแลตัวเองหรือมีครอบครัวช่วยดูแลหรือไม่ เพราะโรคไตวายเรื้อรังเป็นโรคเรื้อรังและต้องมีการดูแลต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการที่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองหรือครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล จะเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไต

“จุดสำคัญคือการมีส่วนร่วม ดึงทุกภาคส่วนทั้งหมอ พยาบาล ผู้ป่วย ผู้ประกอบการมาช่วยกัน มีคณะกรรมการไตเขตทำหน้าที่กลั่นกรองให้สิทธิดีที่สุดให้กับผู้ป่วย โดยมองระยะยาวทั้งส่วนของผู้ป่วยเองและของตัวระบบด้วย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว

พล.อ.นพ.ถนอม สุภาพร ประธานกรรมการสนับสนุนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในการเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น จะต้องเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะท้าย ซึ่ง สปสช. อยากให้คนไข้เข้ามาสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเข้าสู่การลงทะเบียนตั้งแต่ภาวะไตวายเรื้อรังอยู่ในระยะที่ 4 เพื่อจะได้มีการเตรียมการเข้าสู่การรักษาในระยะท้าย ทั้งด้วยวิธีการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ล้างไตทางช่องท้องหรือฟอกเลือด และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพมากเกินกว่าจะดูแล เช่น มีโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง นอนติดเตียง หรือเป็นโรคที่รู้แน่ว่าจะมีชีวิตอยู่ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีข้างหน้า ก็อาจจะไม่เหมาะที่จะดูแลด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ก็จะใช้แนวทางการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งอาจเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า

ทั้งนี้ เมื่อผู้ป่วยลงทะเบียนมาตั้งแต่ระยะ 4 คณะกรรมการฯ จะทำการแยกคนไข้ออกเป็นคนไข้ที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดทดแทนไตแต่ละวิธี หากมีสุขภาพแข็งแรง เหมาะสมกับการปลูกถ่ายไต ก็จะตรวจสอบว่ามีญาติพี่น้องที่อยากบริจาคไตหรือไม่ ถ้ามีก็จะได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว แต่ถ้าไม่มี ก็จะให้ลงทะเบียนแล้วรอไตบริจาคจากสภากาชาดไทย ซึ่งในระหว่างที่รอก็ต้องใช้วิธีล้างไตทางช่องท้องหรือฟอกเลือดไปก่อน

"หากคนไข้สามารถบำบัดด้วยการล้างทางช่องท้องและไม่มีข้อห้ามอะไร ก็จะเป็นการรักษาที่เหมาะมากเพราะผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อยๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาไม่สามารถล้างไตทางช่องท้องได้ ก็จะใช้วิธีการฟอกเลือด นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม แม้จะเหมาะกับการล้างไตทางช่องท้องแต่ไม่มีคนช่วยดูแลที่บ้าน หรืออยู่กันอย่างแออัด ไม่มีพื้นที่วางน้ำยาล้างไต แบบนี้ก็จะให้ฟอกเลือดได้" ประธานกรรมการสนับสนุนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายฯ กล่าว

สิทธิบัตรทอง บำบัดไตฟรี ครอบคลุม 4 ทางเลือก ดังนี้

1.การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)

- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโอกาสได้รับไตจากผู้บริจาค และสุขภาพโดยรวมแข็งแรงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัด

- ให้คุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

2.การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง (CAPD)

- ผู้ป่วยสามารถทำการล้างไตเองที่บ้านวันละหลายรอบ

- ลดภาระการเดินทางไปโรงพยาบาล

- เป็นวิธีที่ สปสช. ส่งเสริมมากที่สุด

3.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis – HD)

- ทำที่สถานพยาบาลที่มีเครื่องไตเทียม

- ต้องเข้ารับบริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง

4.การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)

- สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออายุสูง ไม่เหมาะกับการล้างไต

- เน้นการดูแลคุณภาพชีวิตและลดทุกข์ทรมานในระยะสุดท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

"อินเตอร์โกลด์" คาดราคาทอง "พักฐาน" รอบใหญ่ ครึ่งปีหลังเสี่ยงหลุด 50,000 แนะ DCA ระยะยาวเป็นขาขึ้น

15 นาทีที่แล้ว

เข้าสู่ครึ่งหลังก.ค. เตือนฝนเพิ่มทั่วไทย

15 นาทีที่แล้ว

หุ้นไทยวันนี้ 14 กรกฎาคม 2568 ปิดเพิ่มขึ้น 22.18 จุด ตลาดรอความคืบหน้าเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ

22 นาทีที่แล้ว

ประวัติ พรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กับบทบาทกลางคดีร้อนเขากระโดง

31 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

เผยเหตุ ที่ทำให้การแพ้อาหารเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ทั้งที่ตอนเด็กไม่เคยแพ้

News In Thailand

ม็อบกัญชา 16 ก.ค.นี้! รมว.สธ.ไม่หวั่น สั่งเพิก-ถอนใบอนุญาตเพียบ

กรุงเทพธุรกิจ

PRINC Group ลุยจัดมหกรรมเสริมแกร่งด้านสุขภาพ พร้อมรักษาทันท่วงที

ฐานเศรษฐกิจ

"ศิครินทร์" ติดทำเนียบ "ESG100" 5 ปีซ้อน เดินหน้าพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ฐานเศรษฐกิจ

ประโยชน์ “แคร์รอต” ต้านมะเร็ง เคล็ดลับปรุงให้ได้เบตาแคโรทีนสูงสุด

PPTV HD 36

เตือน 5 พฤติกรรมตอนเช้า ทำร้ายตับไม่รู้ตัว หลายคนทำเป็นชีวิตประจำวันไปแล้ว

News In Thailand

ขุมทรัพย์สุขภาพ ไหมข้าวโพด ที่หลายคนมองข้าม มีประโยชน์ต่อไหลเวียน

News In Thailand

นโยบาย PD First สปสช. ช่วยผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตตามความเหมาะสม

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปิดตำนาน 120 ปี โรงพยาบาลนครคริสเตียน ประกาศเลิกกิจการ 1 ส.ค.68

TNN ช่อง16

โรคไต เริ่มต้นไม่มีอาการ ปัสสาวะตอนกลางคืนเกิน 2 รอบต้องระวัง

TNN ช่อง16

วิจัยชี้ ไวต่อรสขมเชื่อมโยงความเสี่ยง โรคไต-ไบโพลาร์ เพิ่มขึ้น

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...