โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘ค่ายแดง’พิงหลัง‘พรรคร่วมฯ’ ดินเนอร์‘รักแท้ในคืนหลอกลวง’ ?

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กลเกมการเมืองเดินเข้าสู่ “เรดโซน” แดนอันตราย สำหรับ“ตระกูลชินวัตร” เนื่องจากคดีของ “นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และ “นายกฯอิ๊งค์”แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ รมว.วัฒนธรรม จะถูกชี้ขาดในเดือน ส.ค.

“ทักษิณ - เพื่อไทย” จัดงานดินเนอร์ สส. พรรคร่วมรัฐบาล โดยมี “แกนนำ - สส.” มาร่วมงานกันอย่างคึกคัก ไล่เช็คชื่อกันแล้ว ทุกพรรคแถวตรง “บิ๊กเนม” แทบไม่มีใครขาด ลา มาสาย

ยิ่ง “ค่ายสีแดง” ขน สส. มาประชุมพรรคกันที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท คึกคัก ก่อนจะมีมติให้ “ฉลาด ขามช่วง” สส.ร้อยเอ็ด เขต 2 พรรคเพื่อไทย นั่งเก้าอี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 จากนั้น สส.ได้ยกขบวนไปร่วมงานดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลทันที

ขณะที่แขกรับเชิญ อย่างเป็นทางการของพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ ชินวัตร” เข้าร่วมงานสังสรรค์เต็มภาคภูมิ และพรรคร่วมรัฐบาลจะเข้าร่วมงานกันทุกพรรค แต่หลายพรรคก็หวั่นใจว่า จะมี “มือดี” หาช่องทางกฎหมายยื่นร้องเรียนประเด็นครอบงำ นำไปสู่การยุบพรรคอีกคดีหรือไม่

โดยงานดินเนอร์ดังกล่าว ได้มีคิวให้ทักษิณ ปาฐากถาในหัวข้อว่า “สามัคคีประเทศไทย ปกป้องอธิปไตย แก้ปัญหาเพื่อประชาชน” โดยมีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง

ประกอบด้วย พรรครวมไทยสร้างชาติ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรมว.พลังงาน เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม พรรคชาติไทยพัฒนา วราวุธ ศิลปะอาชา รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พรรคประชาชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พรรคกล้าธรรม อรรถกร ศิริลัทธยากร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชัยชนะ เดชเดโช รมช.สาธารณสุข พรรคชาติพัฒนา เทวัญ ลิปตพัลลภ รมช.ศึกษาธิการ และสุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา เป็นต้น

ก่อนเข้างานสองพ่อลูกนายกฯ“ทักษิณ- เเพทองธาร” มีซีนสวมกอด โดย “ทักษิณ” คอนเฟิร์มว่า “มาคุยกับพรรคการเมืองก็ต้องพูดเรื่องการเมือง”

ทั้งนี้รูปแบบงาน จัดในลักษณะ “วงปิด” ไม่อนุญาตให้คนนอก และสื่อร่วมรับฟัง มีเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล ระดับแกนนำ และสส. เท่านั้น

ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จัดงานกระชับสัมพันธ์ หลังจาก“พรรคภูมิใจไทย” ถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แม้บรรยากาศจะคึกคัก แต่เสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มั่นคง ดังนั้น หัวข้อสนทนาส่วนใหญ่ของ “แกนนำ-สส.” ต่างพากันประเมินเรื่องคดี “แพทองธาร” จะได้ไปต่อในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือต้องหลุดจากเก้าอี้

“ทักษิณ - เพื่อไทย” รู้ดีว่า ก่อนวัน ว. เวลา น. ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ”จะตัดสินคดีคลิปสนทนา“ฮุน เซน” ประธานวุฒิสภากัมพูชา ข่าวลือ - ข่าวปล่อย เรื่องสูตรสลับจับขั้วรัฐบาล จะถูกปล่อยออกมาทั่วทุกสารทิศ

โดยวิธีกำราบ “พงศาวดารกระซิบ” คือ การชิงจังหวะโชว์พลัง โชว์ปึ้กของบรรดา “พรรคร่วมรัฐบาล” เพื่อให้ภาพแถวตรง “แกนนำ - สส.” เป็นการส่งสัญญาณให้ “หัวขบวนอนุรักษนิยม” ไว้เนื้อเชื่อใจได้ว่า หากเลือก “ค่ายแดง” จะสามารถยื้อเกมอำนาจไปได้อีกนาน อาจไปต่อได้จนใกล้ครบวาระปี 2570

แต่หากเลือกเปลี่ยนขั้ว เปลี่ยนตัวนายกฯ โอกาสที่จะทำให้เสถียรภาพทางการเมืองสั่นคลอนได้ และอาจเดินเข้าสู่โหมด “ยุบสภา” เร็วกว่าที่คาด ซึ่ง “หัวขบวนอนุรักษ์” ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

เนื่องจาก “ขุมกำลัง” ของบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้ เสียเปรียบ“กระแสสีส้ม” ที่พร้อมลงสนามเลือกตั้งทันที และเมื่อนั้นอำนาจการเมืองบนกระดาน ก็ยากจะควบคุมได้

ขณะเดียวกัน “ทักษิณ” ต้องการให้เพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล ช่วยกันผนึกเสียงในสภาฯ ให้เข้มแข็ง เนื่องจากจำนวนเสียง สส. ปริ่มน้ำอย่างมาก ทำให้การทำงานในสภาฯ มีโอกาสสะดุดสูง และเสี่ยงถูกฝ่ายค้าน ฝ่ายแค้นเล่นงานได้

ตอนหนึ่งในการปาฐากถาของทักษิณ ได้ย้อนถึงการเข้าใกล้การเมืองว่า เมื่อ 51 ปีที่แล้ว ขณะอายุได้ 25 ปี ยังไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง ตอนนั้นมีโอกาสช่วยราชการอยู่กับ ปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สมัยนั้น ในรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกฯ

ทักษิณ เห็นว่า บรรยากาศคล้ายกันกับวันนี้ เพราะมีพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค มีผลต่อเสียงรัฐบาล มีผลต่อการออกกฎหมาย การเมืองอยู่ในสภาพ ที่ไม่มีพรรคใหญ่มาก แต่วันนี้มีปัญหาท้าทาย คือการสร้างปึกแผ่น ความแข็งแรงของพรรคร่วมรัฐบาล แม้เสียงจะเกินกึ่งหนึ่งไม่มาก แต่ถ้าสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะแก้ปัญหาของชาติ แม้จะมียุทธการ ซึ่งไม่ค่อยพึงปรารถนาเท่าไหร่

ทักษิณ ระบุด้วยว่า วันนี้พรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ในจังหวะที่ได้เปรียบทางการเมือง แต่วันนี้พรรคร่วมฯ ยังเป็นปึกแผ่น ทุกคนยืนยันจะไปด้วยกัน เขาจึงได้บอกลูกสาว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยว่า ทั้งหมดนี้จะเป็น Positions กันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไม่ทิ้งกันขนาดนี้ ก็ต้องไม่ทิ้งกันตลอดไป

"ผมมีประสบการณ์ 11 ปีที่แล้ว วันนี้ดีกว่าวันนั้นเยอะ มั่นใจว่าเราจะสามารถประคองรัฐบาลได้ ผมเชื่อทฤษฎี Setback เวลาถอย เหมือนตีลูกเทนนิส การที่เราแก้ปัญหาของเราวันนี้ เมื่อปัญหาเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่ารัฐบาลจะแข็งแรงกว่าที่แล้วมา เพราะว่ามีความสามัคคีกัน และไม่มากเกินไป ไม่ทิ้งกันไป น่าจะทำงานได้ดีขึ้น"

ความพยายามกระชับอำนาจของ “ทักษิณ-เพื่อไทย” สะท้อนให้เห็นว่า ชั่วโมงนี้รัฐบาลแพทองธาร อยู่ในสภาพพิงหลัง “พรรคร่วมรัฐบาล” เพราะหาก “แพทองธาร” ได้ไปต่อ ก็จำเป็นต้องร่วมด้วยช่วยกัน โดยเฉพาะงานนิติบัญญัติในสภาฯ

แม้แต่ในทางร้าย หากคดีของ “แพทองธาร” ส่งผลให้ต้องหลุดเก้าอี้นายกฯ เพื่อไทยก็จะขอใช้บริการพรรคร่วมผนึกกันไปต่อ ด้วยการโหวต“ชัยเกษม นิติสิริ” แคนดิเดตคนที่ 3 ของเพื่อไทย ขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกฯคนใหม่แทน

ต้องจับตาว่าดินเนอร์เพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล จะสามารถผนึกกันแข็งแกร่งมากขึ้น หรือจะเป็นแค่รักแท้ในคืนหลอกลวง เมื่อ “ค่ายสีน้ำเงิน”ไม่ยอมจำนน แต่ซุ่มขยับหมาก โชว์ศักยภาพ เพื่อขอเป็นตัวเลือกให้ “หัวขบวนอนุรักษนิยม” เรียกใช้บริการเช่นกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เฝ้าระวัง แต่อย่าวิตก! ทบ. แจงข่าว ทหารไทย สอย PHL03 กัมพูชา

22 นาทีที่แล้ว

มทร.ธัญบุรี เปิดพื้นที่รองรับผู้ลี้ภัย 2,000 คน พร้อมชวนบริจาคสิ่งของ

25 นาทีที่แล้ว

‘วาสนา วงศ์สุรวัฒน์’ ถอดรหัสทรัมป์โทรคุยผู้นำไทย-กัมพูชา จีนอยู่ตรงไหนในสมการ

39 นาทีที่แล้ว

'โฆษกรัฐบาล' ซัด 'ฮุน มาเนต' โกหกรายวัน หลังใช้กำลังทหารโจมตีไทย

41 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘ธีรรัตน์’ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา แนะจัดกิจกรรมคลายกังวล

เดลินิวส์

จัดหนัก! ทอ. ส่ง F-16 จำนวน 4 ลำ ทิ้งบอมบ์พื้นที่ยุทธ หลังเขมรยิงจรวด BM21 ใส่ปราสาทตาเมือนธม

ไทยโพสต์

ทหารไทย ยิงอาวุธหวังทำลาย PHL-03 กัมพูชา

INN News

สาธารณสุข เผยมีผู้บาดเจ็บเหตุชายแดนไทย-กัมพูชาเพิ่ม

เดลินิวส์

"ก.ต่างประเทศ" เตรียมส่งหนังสือ "กาชาดระหว่างประเทศ" ประณาม "เขมร" โจมตีเป้าหมาย "พลเรือน-โรงพยาบาล"

สยามรัฐ

“อิ๊งค์” เยี่ยมให้กำลังใจชาวสุรินทร์ ที่ได้รับกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย- กัมพูชา

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม