โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

สหรัฐฯ เขี่ยแรง! กดดันพันธมิตร ให้ชี้แจงบทบาทตัวเอง

มุมข่าว

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • ทีมข่าวสยามนิวส์
สหรัฐฯ เขี่ยแรง! กดดันพันธมิตร ให้ชี้แจงบทบาทตัวเอง

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เดินหน้าเร่งผลักดันพันธมิตรสำคัญในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ให้ระบุบทบาทและท่าทีของตนเอง หากเกิดเหตุสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในประเด็นไต้หวัน ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองประเทศรู้สึกไม่พอใจอย่างมากต่อท่าทีแข็งกร้าวนี้

รายงานระบุว่า เอลบริดจ์ คอลบี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงกลาโหมฝ่ายนโยบาย เป็นผู้ผลักดันประเด็นนี้โดยตรงในการหารือกับเจ้าหน้าที่กลาโหมของญี่ปุ่นและออสเตรเลียตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เร่งเสริมสร้างศักยภาพการป้องปราม และเตรียมพร้อมรับมือความเป็นไปได้ของสงครามในอนาคต

แม้เจ้าหน้าที่กลาโหมสหรัฐฯ จะปฏิเสธให้ความเห็นตรงไปตรงมาเกี่ยวกับคำขอให้พันธมิตรแสดงท่าทีต่อสถานการณ์ไต้หวัน แต่ย้ำว่าจุดเน้นสำคัญของการหารือครั้งนี้คือ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสมดุลในการป้องปรามร่วมกัน คำขอแบบกดดันตรงๆ ให้พันธมิตรเปิดเผยบทบาทตัวเอง หากเกิดสงครามไต้หวัน ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้ญี่ปุ่นกับออสเตรเลียรู้สึกกังวล เนื่องจากที่ผ่านมา สหรัฐฯ ดำเนินนโยบาย ความคลุมเครือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Ambiguity) มาโดยตลอด ไม่เคยให้คำมั่นอย่างชัดเจนว่าจะเข้าปกป้องไต้หวันหรือไม่

แม้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน จะเคยกล่าวในหลายโอกาสว่าสหรัฐฯ พร้อมปกป้องไต้หวัน แต่ในยุคของ โดนัลด์ ทรัมป์ กลับเลี่ยงแสดงท่าทีใดๆ อย่างชัดเจน

แซ็ก คูเปอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียจากสถาบันวิเคราะห์ความมั่นคงระบุว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่จะให้พันธมิตรให้คำมั่นอะไรในสถานการณ์ที่ยังไม่รู้รายละเอียดหรือท่าทีของสหรัฐฯ เอง เพราะแม้แต่ในรัฐบาลทรัมป์ ก็ยังไม่เคยกำหนดท่าทีแน่ชัด ขณะที่ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ชี้ว่า การตอบสนองใดๆ ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินไต้หวันต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในประเทศ ส่วนออสเตรเลียแม้จะยังไม่ให้ความเห็นทางการ แต่ก็มีแนวโน้มสอดคล้องกับจุดยืนของญี่ปุ่น ในด้านการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ซึ่งเป็นอีกประเด็นหลักในการเจรจา เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ มองว่าน่าจะกดดันได้ง่ายกว่าการผลักดันพันธมิตรยุโรป เพราะทั้งญี่ปุ่นและออสเตรเลียต่างแสดงสัญญาณเชิงบวกในการขยายงบกลาโหม ท่ามกลางภัยคุกคามจากจีนที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาค

อย่างไรก็ดีสื่อต่างประเทศระบุว่า สหรัฐฯ ต้องการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากกว่าคำสัญญา และพร้อมทำงานร่วมกับพันธมิตรในการรับมือปัญหาความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมในภูมิภาค

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก มุมข่าว

หมอไก่ เปิด 3 ราศี มีเกณฑ์สมหวังเรื่องการเงิน ดวงเสี่ยงโชคมาแรงที่สุด

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดอาชีพล่าสุด เจ๊อ๋อ ที่เคยถูกลอตเตอรี่ 90 ล้าน หลังประกาศเงินหมดแล้ว

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หนุ่มไทยเครียดจัด ติดด่านปอยเปตวีซ่าหมด-ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ซดน้ำยาล้างห้องน้ำหวังจบชีวิต

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระผู้ใหญ่ฉาว! บิ๊กเต่า แฉเกิน 20 รูป เสียศักดิ์ศรีสงฆ์ สั่งสึกยกก๊วน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

หมอยังยกนิ้วให้! ผักชนิดนี้เป็น "ผักเสริมพลังชาย" คนไทยรู้จักดี ราคาถูก มีทุกตลาด

sanook.com

ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์เผยความจริงเบื้องหลัง "กลิ่นรถใหม่" เป็นอันตรายต่อสุขภาพไหม?

sanook.com

แฉชีวิตรักบนเรือสำราญ! พนง.เผยความลับ เฉลย "สามี-ภรรยาบนเรือ" คืออะไร?

sanook.com

EIC วิเคราะห์การเจรจาสหรัฐฯ ที่ยังไม่ลุล่วงกับเส้นตาย 1 ส.ค. : นัยต่อไทย

ไทยพับลิก้า

ทรัมป์สั่งเก็บภาษีนำเข้า 30% จาก EU และเม็กซิโก เริ่ม 1 ส.ค.นี้

TNN ช่อง16

ฮีโร่ตัวจิ๋ว! ลูกหมาวัย 5 เดือน ช่วยชาวบ้าน 63 ชีวิต รอดตายดินถล่ม ตัวเองติดอยู่ใต้ซาก

sanook.com

ทรัมป์ประกาศเก็บภาษี 'อียู-เม็กซิโก' 30% เริ่ม 1 ส.ค. นี้

กรุงเทพธุรกิจ

ลาวปัดข่าวลือส่งทหารช่วย ‘รัสเซีย’ ร่วมรบในยูเครน ชี้เป็นข่าวปลอม!! หวังบ่อนทำลายภาพลักษณ์ประเทศ

THE STATES TIMES

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...