โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

บทวิเคราะห์ จีนมีบทบาทแข็งขันเพื่อธำรงไว้ซึ่งกฎบัตรสหประชาชาติ

China Media Group

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บทวิเคราะห์ จีนมีบทบาทแข็งขันเพื่อธำรงไว้ซึ่งกฎบัตรสหประชาชาติ

เมื่อ 80 ปีก่อน หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาคมระหว่างประเทศได้ร่วมลงนามใน “กฎบัตรสหประชาชาติ” ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ นับเป็นความพยายามในการเปิดศักราชความร่วมมือระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติแบ่งออกเป็น 19 หมวด รวม 111 มาตรา สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันไม่ให้มนุษยชาติต้องเผชิญภัยสงครามอีก กฎบัตรกำหนดวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติอันได้แก่ “ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ” “หยุดยั้งการรุกราน” “พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศต่างๆ โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกันและสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของประชาชนทุกประเทศ” “ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ” ฯลฯ นอกจากนี้ กฎบัตรยังกำหนดด้วยว่าสหประชาชาติและประเทศสมาชิกจะต้องยึดมั่นตามหลักการความเสมอภาคทางอธิปไตยของทุกประเทศ ทุกประเทศแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลังอาวุธหรือการคุกคามด้วยกำลังอาวุธในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงสหประชาชาติจะต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของทุกประเทศ เป็นต้น

กฎบัตรสหประชาชาติได้วางรากฐานของระเบียบระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งกำเนิดระบบต่างๆของลัทธิพหุภาคี ระบบระหว่างประเทศที่ถือสหประชาชาติเป็นแกนหลัก และบรรทัดฐานที่เป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยึดตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฏบัตรสหประชาชาตินั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั่วโลกยังคงเผชิญกับความขัดแย้งบ่อยครั้ง ความไม่เท่าเทียมและความไม่เป็นธรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายมิติ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความล้าสมัยของกฎบัตรสหประชาชาติ แต่เกิดจากการที่หลักการของกฎบัตรไม่ได้รับการปฏิบัติตามอย่างทั่วถึง มหาอำนาจบางประเทศไม่เพียงไม่ปกป้องกฎบัตรเท่านั้น แต่ยังกลับดำเนินลัทธิการครองความเป็นเจ้าและลัทธิฝ่ายเดียวอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งได้บั่นทอนความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของกฎบัตรสหประชาชาติ

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การรักษาหลักการพื้นฐานของกฎบัตรจึงกลายเป็นภารกิจเร่งด่วนของประชาคมโลกในการเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ในปัจจุบัน โดยจีนในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ใช้ความพยายามด้วยความทรหดอดทนอย่างต่อเนื่อง

บนหนทางที่ยากลำบากในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง จีนกลายเป็นผู้ปฏิบัติที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่สุดในการยึด “แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ” ด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม กองกำลังรักษาสันติภาพของจีนได้ปฏิบัติภารกิจในหลายพื้นที่ความขัดแย้งทั่วโลก ตลอดกระบวนการรักษาสันติภาพที่ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี จีนได้ส่งกำลังพลกว่า 50,000 นาย และมีทหาร 16 นายที่เสียชีวิตในภารกิจเพื่อสันติภาพ นอกจากนี้ ในด้านการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยวิถีทางการเมือง จีนยึดหลัก “ส่งเสริมการเจรจา-ยุติการสู้รบ” มาโดยตลอด และในที่ประชุมด่วนที่คณะมนตรีความมั่นคงจัดขึ้นอย่างเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้แทนถาวรของจีนประจำสหประชาชาติได้ประณามอย่างรุนแรงต่อพฤติกรรมของอิสราเอลและสหรัฐอเมริกาที่ใช้กำลังอาวุธต่ออิหร่านโดยอ้าง “ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” ซึ่งละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง

ในด้านการปกป้องลัทธิพหุภาคีและการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลกซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งนั้น จีนในฐานะผู้พิทักษ์ “ลัทธิพหุภาคี” อย่างแน่วแน่ ได้มีบทบาทในการเสริมสร้างเสถียรภาพให้กับระเบียบระหว่างประเทศมาโดยตลอด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้เสนอแนวคิดริเริ่ม ข้อเสนอและแนวทางใหม่สำหรับการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและการตอบรับอย่างกระตือรือร้นจากประชาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่การเสนอแนวคิดว่าด้วยการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ไปจนถึงข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงโลก และข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมโลก จีนได้ขยายความหมายของลัทธิพหุภาคีให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น ข้อริเริ่มว่าด้วยการร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หลักการร่วมปรึกษา ร่วมสร้าง และร่วมแบ่งปัน และแนวคิด “ขจัดความยากจนอย่างตรงจุดอย่างมีเป้าหมาย” เป็นต้น ล้วนถูกบรรจุไว้ในเอกสารขององค์การสหประชาชาติหลายครั้ง ซึ่งแนวคิดเหล่านี้สอดคล้องอย่างลึกซึ้งกับวัตถุประสงค์ของกฎบัตรสหประชาชาติในการ “ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ” และได้นำเสนอภูมิปัญญาจีนในการผลักดันการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลกและส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาของทั่วโลก

จีนเป็นประเทศที่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างจริงจัง และเดินอยู่แถวหน้าเสมอ ปัจจุบัน จีนได้เข้าร่วมองค์การรระหว่างประเทศระหว่างรัฐบาลเกือบทั้งหมด รวมถึงเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศและฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมากกว่า 600 ฉบับ และสนับสนุนสหประชาชาติในการแสดงบทบาทสำคัญในกิจการระหว่างประเทศมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติจึงกล่าวว่า จีนได้ให้การสนับสนุนอย่างมั่นคงและเข้มแข็งต่อภารกิจของสหประชาชาติมาโดยตลอด เป็นเสาหลักสำคัญในการปกป้องลัทธิพหุภาคีและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก China Media Group

จีนเปิดตัวสัญญาซื้อขายเบนซินล่วงหน้า

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนผลิตถ่านหินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หนุนไฟฟ้าหน้าร้อน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘จีน’ เสร็จสิ้นการก่อสร้างกำแพงกั้นทราย ในทะเลทรายเขตมองโกเลีย 3 แห่ง

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนใหญ่สุด รับมือไฟฟ้าพุ่งหน้าร้อน

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

รัสเซียเดินหน้าไม่สนคำขู่ ‘ทรัมป์’ และชาติตะวันตก ลั่น!! บุกถล่มต่อจนกว่ายูเครนจะยอมรับเงื่อนไข

THE STATES TIMES

“จีน-อียู” เดินหน้าฟื้นสัมพันธ์ ยกเลิกข้อจำกัดทางการเมืองก่อนซัมมิตใหญ่

เดลินิวส์

มองมหาอำนาจ "สหรัฐอเมริกา" ใช้อะไรกดดันต่างชาติ ?

Thai PBS

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศเผยภายในปี 2042 เอเชีย-แปซิฟิก ต้องการนักบินหน้าใหม่เพิ่มนับแสนคน

TNN ช่อง16

สาวโพสต์เทียบรูปตา ถามเป็นอะไร โซเชียลรีบเตือน ให้หาหมอด่วน รอดตายฉิวเฉียด

Khaosod

'เทสลา' ทดลองตลาด ขาย Model Y ในอินเดีย ราคากว่า 2 ล้านบาท

กรุงเทพธุรกิจ

นโยบายคุมมะเร็งของออสเตรเลีย ช่วยชีวิตแล้วมากกว่า 230,000 คน

เดลินิวส์

ตำรวจเกาหลีใต้รวบ ‘ครู-ผู้ปกครอง’ คาโรงเรียน ฐานร่วมกันงัดห้องขโมยข้อสอบตอนกลางคืน

THE STATES TIMES

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...