โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘พิชัย’สั่งแบงก์รัฐลุยอัดมาตรการช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

ไทยโพสต์

อัพเดต 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘พิชัย’ สั่งแบงก์รัฐลุยอัดมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ‘ออมสิน’ สั่งพักชำระเงินต้นจนถึง ธ.ค. 2568 ‘ธอส.’ เตรียม 200 ล้านบาทรองรับเต็มสูบ

25 ก.ค. 2568 - นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากเหตุปะทะกันระหว่างกำลังความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่และขยายวงกว้างไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนโดยรอบ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ในการนี้ รัฐบาลตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนในพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรการพักชำระหนี้ มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างครอบคลุมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

ธนาคารออมสิน จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ประกอบด้วย 1. มาตรการพักชำระเงินต้น สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา จนถึงงวดเดือนธ.ค. 2568 และให้จ่ายดอกเบี้ยเพียงบางส่วน เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระหนี้ 2. มาตรการสินเชื่อเพื่อรายย่อย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสำหรับประชาชนรายย่อย : ระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน และสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับประชาชนรายย่อย : ระยะเวลาผ่อนชำระ 60 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ 0.75% ต่อเดือน 3. สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินงวดไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 = MLR – ที่ 2.65% ปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR ยกเว้นค่าธรรมเนียม Front End Fee และ Prepayment Fee โดยสามารถแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการผ่านทางเว็ปไซต์ของธนาคารออมสินหรือติดต่อสาขาของธนาคารออมสินในพื้นที่ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย - กัมพูชา ประกอบด้วย 1. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2568 เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ของ ธ.ก.ส. เท่ากับ 6.725% ต่อปี) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก 2. โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าลงทุนในการซ่อมแซมบ้านเรือนทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย วงเงินต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR - 2 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 15 ปี

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าของธนาคารจากเหตุการณ์ชายแดน วงเงินโครงการ 200 ล้านบาท ดังนี้ 1. กรณีผู้กู้บาดเจ็บสาหัส หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธอส. กำหนด 2. กรณีผู้กู้ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือเสียชีวิต หรือที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา และ 3. กรณีกู้เพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารเดิมจะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือนแรก และเดือนที่ 7 - 12 จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2 เป็นต้นไป สามารถยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 2567

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการ พัก ลด ขยาย เติม ให้เอสเอ็มอีไปต่อได้ แม้เจอวิกฤต โดยการ 1. พัก ชำระเงินต้น 2. ลด ค่างวดการชำระ 3. ขยาย ระยะเวลาการชำระหนี้ 4. เติม ทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โครงการสินเชื่อปลุกพลัง SME และสินเชื่อ Beyond ติดปีก SME อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี และ 5. สินเชื่อ SME Refinance ลดต้นทุนธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% ต่อปี

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น 1. มาตรการบรรเทาผลกระทบเร่งด่วน ขยายระยะเวลาชำระหนี้สูงสุด 365 วัน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสูงสุด 20% จากอัตราเดิม และเพิ่มวงเงินชั่วคราว 1 ปี สูงสุด 30% ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น2.99% ต่อปี 2. มาตรการเสริมสภาพคล่องและละต้นทุนทางการเงินสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ ได้แก่ มาตรการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อออกงานแสดงสินค้า (EXIM-DITP Empower Financing) อัตราดอกเบี้ย 6.15% ต่อปี, มาตรการเงินทุนหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออก (EXIM Export Booster) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.99% ต่อปี, เงินทุนหมุนเวียนหลังการส่งออกพร้อมประกันการส่งออก (EXIM Safe Trade) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.99% ต่อปี พร้อมการชดเชยจาก ธสน. หากไม่ได้รับชำระค่าสินค้าจากคู่ค้า

Export Credit Insurance ยกเว้นค่าวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้เอาประกัน 5 ราย, สินเชื่อระยะยาวร่วมกับสำนักงานประกันสังคม อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นคงที่ 2% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี และสินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต (Transformation Loan) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยสำหรับเอสเอ็มอี 5.68% ต่อปี

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีมาตรการ ‘ไอแบงก์เราไม่ทิ้งกัน’ ประกอบด้วย 1. พักชำระเงินต้นและกำไร กำหนดอัตรากำไรตามสัญญาสินเชื่อเดิม ระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน ขยายระยะเวลาออกไปสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน หรือไม่เกินค่างวดชำระเดิม 2. ให้วงเงินเพิ่มเพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟู ที่อยู่อาศัยและกิจการลูกค้า สำหรับสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัยอัตรากำไรเริ่มต้น 1.99% ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 20 ปี และสำหรับสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ อัตรากำไรเริ่มต้น 3.25% ในปีแรก วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเดิมและมาตรการภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” ได้แก่ 1. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และลูกค้าเดิมของ บสย. ประกอบด้วย ผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน และค่าจัดการค้ำประกันโดยพักชำระออกไปอีก 6 เดือน นับจากวันถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม, พักชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน 2. มาตรการเสริมสภาพคล่องภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” ได้แก่ มาตรการ SMEs Power Trade & Biz วงเงินค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 500,000 – 10 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชา และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Micro Biz วงเงินค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 10,000 – 500,000 บาท ตอบโจทย์กลุ่มรายย่อย (Micro SMEs) ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน แต่ขาดคนค้ำประกัน และขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน

“ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถขอรับความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมได้ทันท่วงทีต่อไป” นายพิชัย กล่าว.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

โฆษกรัฐบาล อัดสื่อเทศ! ลงภาพมั่ว-พาดหัวข่าวผิด ชี้ไทยโดนยิงก่อน ไม่ใช่ผู้รุกราน

15 นาทีที่แล้ว

เปิดถ้อยแถลง! ไทยฟาดเดือดกลาง UNSC ประณามกัมพูชายิงพลเรือน ย้ำสิทธิ์ป้องกันตัวตามกฎ UN

31 นาทีที่แล้ว

เตือนสติวัยรุ่น! หยุดคอนเทนต์ทำร้ายคนเขมร ไม่เกี่ยวกับเหตุปะทะชายแดน

42 นาทีที่แล้ว

รัฐบาลเร่งด่วน! เปิดมาตรการดอกเบี้ย 0.01% ช่วยผู้เดือดร้อนชายแดนไทย-กัมพูชา

51 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

สุโขทัย ‘แม่น้ำยม’ ล้นคันกัน ทะลักท่วมพื้นที่เศรษฐกิจอำเภอเมืองเช้านี้

ประชาชาติธุรกิจ

"บิ๊กต๋อง" ควง "บิ๊กแบน" ถกประชุมติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ทางไกลผ่านจอภาพ

สยามรัฐ

รัฐระดมมาตรการลดผลกระทบการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา

The Better

ราคาทองวันนี้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2568 ราคาปรับลดลง 100 ราคาทองรูปพรรณ บาทละ 52,050 บาท

Thairath Money

“ไมเดีย” มั่นใจศักยภาพไทย เดินหน้าลงทุน ลุ้นรัฐเจรจาภาษีสหรัฐฯ

ฐานเศรษฐกิจ

“No Spend Challnge” ภารกิจพิชิตเป้าหมายการเงิน l What's up Wealth

TNN ช่อง16

ราคาทองวันนี้ (26 ก.ค.) เปิดตลาด ปรับลง 100 บาท/บาททองคำ ราคาทองรูปพรรณ ขายออกบาทละ 52,050.00

การเงินธนาคาร

ราคาทองวันนี้ 26 ก.ค. 68 ครั้งที่ 1 ลดลง 100 บาท ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 52,050 บาท

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...