โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กสศ. ร่วมภาคี 4 จว.ชายแดนไทย-เขมร เปิดศูนย์ดูแลเด็ก-เยาวชนฯ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ

MATICHON ONLINE

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กสศ. ร่วมภาคี 4 จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา เปิดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กและเยาวชนฯที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบ ฉุกเฉิน สร้างพื้นที่ปลอดภัย-ป้องกันปัญหาภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) และภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) นักวิชาการกังวลทิ้งบาดแผลทางใจระยะยาว แนะระดมพื้นที่และกิจกรรมเพื่อดูแลฟื้นฟูจิตใจ

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต รวมถึงการปิดโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยง และการอพยพเด็ก ผู้สูงอายุ และประชาชนไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวนั้น กสศ.มีความห่วงใยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนด้านภาวะการเรียนรู้และพัฒนาการถดถอย (Learning Loss)

เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว กสศ.จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยอุบลธราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มูลนิธิปัญญากัลป์ และกลุ่มอาสาสมัครการเรียนรู้ หุ้นส่วนการศึกษา กลุ่มอาจารย์ นักศึกษา เยาวชน ภาคประชาสังคม จัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบ” เพื่อเป็นพื้นที่ฟื้นฟูจิตใจและจัดการเรียนรู้ทดแทนให้กับเด็กที่ต้องหยุดเรียน

ดร.ไกรยสกล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กแห่งนี้จะเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) สำหรับเด็กและเยาวชนที่ต้องเผชิญภาวะความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลจากเหตุการณ์ โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ยืดหยุ่นเพื่อฟื้นฟูเยียวยาจิตใจ ป้องกันภาวะการเรียนรู้ถดถอย ส่งเสริมทักษะชีวิต สร้างความเข้าใจของเด็กๆ ต่อสถานการณ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยดำเนินงานร่วมกับครูอาสา โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในพื้นที่

นอกจากชั้นเรียนขนาดเล็กและกิจกรรมสร้างสรรค์ ศูนย์ยังจัดให้มีการดูแลจิตใจและให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับเด็กที่อาจเผชิญกับความกลัว ความเศร้า หรือความไม่มั่นคง พร้อมเชื่อมโยงการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากเครือข่ายหากพบปัญหาซับซ้อนในด้านอื่นๆ

“โดยเฉพาะภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder) หรือ PTSD จากการที่เด็กและเยาวชนจำนวนมากเผชิญกับผลกระทบกระเทือนจิตใจ ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของพวกเขา ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย และภาวะ PTSD ยังเป็นปัจจัยหนึ่งสามารถทำให้เด็กและเยาวชนมีปัญหาด้านอารมณ์ สังคม และการเรียนรู้ อาจนำไปสู่การหลุดออกจากระบบการศึกษา แม้สถานการณ์ยังไม่แน่นอน แต่เราต้องเร่งสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กๆ ได้เรียน เล่น และรู้สึกมั่นคงต่อเนื่อง” ดร.ไกรยสกล่าว

ขณะนี้เครือข่ายอาสาสมัครได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและจำเป็นเร่งด่วนในแต่ละศูนย์อพยพของทั้ง 4 จังหวัด เช่น สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์จำเป็นต่างๆ และร่วมออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท เช่น ดนตรีบำบัด กิจกรรมสร้างความเข้าใจสถานการณ์ สร้างความสัมพันธ์ และส่งเสริมจินตนาการ โดยศูนย์จะตั้งใกล้พื้นที่พักพิงชั่วคราว พร้อมแผนขยายความช่วยเหลือไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อไม่ให้เด็กคนใดต้องเสียโอกาสจากความขัดแย้ง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call center กสศ. โทรศัพท์ 0-2079-5475

รศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เปิดเผยว่า
จากการลงพื้นที่ศูนย์อพยพ 4 จุดในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับผลกระทบจากกรณีพิพาทบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่าหลังเหตุการณ์ในช่วงเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม โรงเรียนหลายแห่งต้องปิดอย่างไม่มีกำหนด ส่วนประชาชนจำนวนมากจำเป็นต้องอพยพไปอาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยคาดการณ์ไม่ได้เลยว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป

ซึ่งถึงตรงนี้นับว่าทุกคนในพื้นที่ชายแดนล้วนได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยเฉพาะถ้าพูดถึงเด็กๆ ที่แม้ไม่ได้แสดงออกทางพฤติกรรมให้เห็น แต่ลึกลงไปในการรับรู้ของเด็กเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีโอกาสมากที่จะทิ้งร่องรอยไว้ในความทรงจำระยะยาว ในบางพื้นที่เช่นที่อำเภอโนนคูณ เป็นเรื่องดีที่มีหน่วยงานที่เข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก จึงมีทีมงานเข้าไปดูแลจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆ ได้ผ่อนคลาย เช่น วาดภาพหรือเล่นเกมต่างๆ ส่วนที่อำเภอกันทรารมย์ที่มีจำนวนเด็กถึง 111 คน จากคนในศูนย์พักพิงราว 400 คน นอกจากยังต้องการการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับเด็กแล้ว ก็ยังต้องการสิ่งของจำเป็น เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กเล็กจำนวนมาก

“สิ่งหนึ่งที่บอกได้ว่าเด็กจะเจอแน่ๆ คือความตกใจ เพราะเหตุการณ์นี้กำลังเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเขา ทั้งการนอนการกิน การเล่น หรือการไปโรงเรียน นั่นจะทำให้เกิดความกังวลหรือความเครียดสะสมระดับลึก ซึ่งในวันข้างหน้าอาจกลายเป็นบาดแผลที่จะทิ้งร่องรอยไว้ในความทรงจำระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กตอนนี้ คือการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งเครือข่ายคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น สถาบันอุดมศึกษา สกร. รวมถึงมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก หรือ กสศ. เราคุยกันว่าจะลงพื้นที่ไปหาเด็กๆ ไปเล่น ไปพูดคุยกับเขา คือเรามองว่าในภัยพิบัติใดก็ตาม เด็กๆ คือผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด จึงจำเป็นมากๆ ที่ต้องมีพื้นที่และกิจกรรมเพื่อดูแลฟื้นฟูจิตใจ” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าว

รศ.ดร.ประจวบกล่าวว่า หลังลงพื้นที่ศูนย์อพยพทั้ง 4 แห่ง คณะทำงานจะนำข้อมูลกลับมาเพื่อออกแบบกิจกรรม และวางแผนการดูแลที่ครอบคลุมเด็กในทุกช่วงวัย ทุกสภาวะอาการ และไม่เพียงเด็กๆ เท่านั้น หากการรับฟังปัญหาและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับครูและโรงเรียนในพื้นที่ก็ถือเป็นความสำคัญเร่งด่วนเช่นกัน โดยเท่าที่คุยกับครูในพื้นที่ทุกคนต่างกังวลว่าสถานการณ์อาจรุนแรงขึ้น และจะทำให้เด็กกลุ่มนี้ถูกตัดขาดจากการเรียนรู้ หรือบางคนอาจหลุดจากระบบการศึกษาไปเนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : กสศ. ร่วมภาคี 4 จว.ชายแดนไทย-เขมร เปิดศูนย์ดูแลเด็ก-เยาวชนฯ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.matichon.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก MATICHON ONLINE

ศาลาเฉลิมกรุง เชิญชมลิเกโรงใหญ่ คณะพงษ์ศักดิ์ สวนศรี เรื่อง “ลิขิตรัก” วันอาทิตย์นี้

31 นาทีที่แล้ว

นะโม-ฮั่งตู๋ ฟอร์มเฉียบ ขึ้นแท่นลุ้นแชมป์เบลเยียม กรังด์ปรีซ์

39 นาทีที่แล้ว

ฟรีน-เบ็คกี้ ส่งโฟโต้บุ๊ก เปิดโลกของไอดอลผ่านโปรเจค MY LIFE

45 นาทีที่แล้ว

เอาไม่อยู่ แม่น้ำยมล้นตลิ่ง ทะลักท่วมเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เร่งนำบิ๊กแบ๊กกั้น

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

SOCIETY: ไม่ใช่วัยทอง! ให้เรียกว่าวัยแรกรุ่นของสาวใหญ่ ‘Cougar Puberty’ ศัพท์ใหม่ไวรัลใน TikTok ไว้เรียกปลอบใจสาวๆ วัยก่อนหมดประจำเดือน

BrandThink

แครอทกินดิบหรือกินสุกดี? เผยวิธีกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

sanook.com

เฉลิมพระเกียรติในหลวง สยามพารากอนจัดงาน “ทั่วหล้า เทิดไท้ ถวายใจสดุดี”

ประชาชาติธุรกิจ

ดินเนอร์ทอล์ก 3 ผู้นำไทย-จีน ฉายสัมพันธ์ ‘ฝ่าวิกฤต-สร้างโอกาส’

ประชาชาติธุรกิจ

Madame Tussauds เปิดตัวหุ่นขี้ผึ้ง 13 ตัวของ Taylor Swift ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก The Eras Tour

THE STANDARD

ทำความรู้จัก 10 สัตว์โลกสุดมีม ที่ชาวโซเชียลหลงรัก

กรุงเทพธุรกิจ

“The Louis” เซี่ยงไฮ้ จองไม่ทัน? แจกวิธีเข้าได้แม้ออนไลน์ขึ้นเต็ม!

SpringNews

โรคติดต่อที่ต้องระวังในหน้าฝน

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

เทศบาลตำบลบางปู ระเบิดศึกบาสเกตบอล 3x3 เปิดรับสมัครทีมร่วมชิงชัยถึง 31 ก.ค.นี้

MATICHON ONLINE

แกรนด์เซนเตอร์พอยต์พัทยา-กทม. คึกคัก นักท่องเที่ยวไทย-เทศ แห่พัก เร่งเปิดรร.หรูราชดำริธ.ค.นี้

MATICHON ONLINE

ด่วน!! ทร.ประกาศกฎอัยการศึก จันทบุรี-ตราด ติดชายแดนกัมพูชา บางพื้นที่ มีผลทันที

MATICHON ONLINE
ดูเพิ่ม
Loading...