โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

บิ๊กธุรกิจอุ้มร้านค้า อัดแคมเปญ-ขยายเครดิตเทอม ต่อลมหายใจรายย่อย

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงส่งแรงกระเพื่อมมายังเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง การเติบโตที่ชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับอัตราการบริโภคภายในประเทศที่ลดลง กลายเป็นแรงกดดันสำคัญต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยอย่างร้านอาหาร ร้านค้า และผู้ขายออนไลน์

การคาดการณ์ล่าสุดระบุว่า GDP ไทยในปี 2568 จะเติบโตเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่เคยสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ กลับถูกปรับลดอัตราการเติบโตลงเหลือเพียง 2.8% จากเดิมที่คาดว่าจะโตถึง 4.6%

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนถึงความท้าทายที่ผู้ประกอบการรายย่อยต้องเผชิญ ซึ่งในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มร้านอาหารระดับล่าง ต้องปิดกิจการไปแล้วเกือบ 50% ขณะที่บางรายกัดฟันรัดเข็มขัดเพื่อความอยู่รอด ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายต้อง “ขยับตัว” ไม่ใช่เพื่อเอาตัวรอดเพียงลำพัง แต่เพื่อพยุงห่วงโซ่ธุรกิจทั้งหมดให้เดินหน้าต่อไป

Grab ทำแคมเปญร่วม-หนุนสินเชื่อร้านอาหาร

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่า แกร็บ ประเทศไทย ประกาศเดินหน้าโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ทั้งการทำแคมเปญการตลาดร่วมกับร้านอาหารรายเล็ก การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามายกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ

“จากความผันผวนของเศรษฐกิจและการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยว แกร็บมองว่าร้านอาหารขนาดเล็กคือส่วนสำคัญของห่วงโซ่ธุรกิจ เราจึงออกแบบโซลูชันเพื่อสนับสนุนพวกเขาโดยตรง”

แกร็บเปิดตัวแคมเปญ “ร้านเล็กแกร็บช่วยลด” ที่ช่วยสมทบส่วนลดค่าอาหารให้กับร้านเล็ก เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกค้าสั่งซื้อ และพบว่ายอดคำสั่งซื้อของร้านที่เข้าร่วมแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่า 70% นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม “ร้านเล็กดันลูกค้าใหม่” ที่ช่วยขยายฐานลูกค้าด้วยโค้ดส่วนลด และแคมเปญ “เปิดร้านง่าย โตไวไปกับแกร็บฟู้ด” ที่ให้สิทธิประโยชน์กับร้านใหม่แบบไม่เสียค่าคอมมิชชันในช่วงแรก

ในด้านเงินทุน แกร็บยังเดินหน้าโครงการสินเชื่อ “เงินสดทันใจ” วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2.75% ต่อเดือน ซึ่งเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าถึงแหล่งทุนผ่านแกร็บถึง 40% ของผู้กู้ทั้งหมด โดยมีอัตราหนี้เสียต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์

ขณะเดียวกัน แกร็บยังพัฒนาเครื่องมือใหม่ “AI Merchant Assistant” เพื่อช่วยให้ร้านเล็กเข้าถึงข้อมูลและคำแนะนำเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นรายงานยอดขาย แนะนำเมนูยอดนิยม หรือการวางแผนการตลาด โดยทั้งหมดนี้ทำงานผ่านแชตบอทที่ขับเคลื่อนด้วย LLMs บนแอปฯ GrabMerchant

ช้อปปี้ ดันร้านค้าส่งขายต่างประเทศ

แหล่งข่าวจากช้อปปี้ ประเทศไทย ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ภาวะเศรษฐกิจผันผวนที่เกิดขึ้นช้อปปี้ เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อย ผ่านโครงการ Shopee International Platform (SIP) ภายใต้ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ขายไทยโดยเฉพาะ SMEs สามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยช้อปปี้จะดูแลทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การเปิดร้าน สื่อสารกับลูกค้า จัดส่งสินค้า และบริหารสต๊อกในต่างประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มต้นที่ตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ลาซาด้า เปิด 5 ชุดเครื่องมือสร้างยอด

ขณะที่บริษัทลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด ได้เปิดตัวชุดเครื่องมือส่งเสริมยอดขายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Lazada Promotion Tools เช่น Flash Sale, Seller Voucher หรือการแจก LazCoins เพื่อจูงใจลูกค้าประจำ ขณะที่โปรแกรมส่งฟรีพิเศษก็ถูกออกแบบมาเพื่อลดอัตราการยกเลิกคำสั่งซื้อ โดยพบว่า 46% ของนักช้อปตัดสินใจจากการมีโปรฯ ส่งฟรี

นอกจากนี้ ยังมีระบบโฆษณาในแพลตฟอร์ม (Sponsored Solutions) ที่ช่วยเพิ่มอัตราการมองเห็นแบรนด์ ซึ่งในปี 2566 มีผู้ขายกว่า 600,000 รายใช้ระบบนี้และได้ ROI สูงถึง 10 เท่า โดยเฉพาะจากกลยุทธ์ “Sponsored Discovery” และ “Sponsored Affiliates” ที่ใช้พลังของอินฟลูเอนเซอร์และคำค้นหายอดนิยมมาเสริมยอดขาย

ทั้งหมดนี้สะท้อนภาพชัดเจนว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหญ่ไม่ได้เพียงสร้างพื้นที่ขาย แต่กำลังกลายเป็น “พาร์ทเนอร์” ที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และความรู้ เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถฟื้นตัว เติบโต และแข่งขันได้ในยุคที่เศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

ชงเครดิตเทอม ต่อสายป่าน SME

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานยุทธศาสตร์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยขณะนี้อยู่ในภาวะ “สายป่านสั้น รอดยาก” โดยเฉพาะปัญหาเครดิตเทอม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักมายาวนาน โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าเอสเอ็มอีกว่า 70% ไม่มีเครดิตเทอม ต้อง ซื้อสด ขายเครดิต ทำให้เกิดขาดสมดุลทางการเงิน สุดท้ายเงินทุนหมุนเวียนไม่พอ จนต้องไปพึ่งพาแหล่งทุนอื่นนอกระบบ หรือเข้าสู่สินเชื่อที่ไม่เหมาะสมกับประเภทกิจการ เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง

“การให้เครดิตเทอม อยากให้บังคับใช้เครดิตเทอมที่เป็นธรรม โดยเฉพาะการค้าระหว่าง SME:SME และ SME:รายใหญ่ ซึ่งปัจจุบัน SME มักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะหากไม่ยอมตามเงื่อนไขเครดิตเทอมของคู่ค้า ก็เสี่ยงไม่ได้ขายของ จึงเสนอให้ สถาบันการเงินร่วมส่งเสริมเครดิตเทอมใน Supply Chain โดยเฉพาะธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ เพื่อสร้างแต้มต่อให้ SME ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมต่าง ๆ การประคองธุรกิจ SME ไม่สามารถอาศัยการตั้งรับเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป จำเป็นต้อง เร่งเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจใหม่ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน และส่งเสริมการอุดหนุนสินค้าบริการไทย ในทุกมิติ เพราะเราช้าต่อไปไม่ได้แล้ว”

แนะบริหารเครดิตเทอมเพิ่มสภาพคล่อง

นายจักรกฤติ สายสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบริหารเครดิตเทอมในบริษัท โดยมีกลยุทธ์ในการเลือกการขอเครดิตจากซัพพลายเออร์ระยะเวลาตั้งแต่ 15 วันไปจนถึง 2 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ในแต่ละแบรนด์ของบริษัท โดยเครดิตเทอมที่ยาวขึ้นจะช่วยให้บริษัทมีระยะเวลาในการบริหารกระแสเงินสดที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความยั่งยืนของธุรกิจ อย่างไรก็ตามในบางกรณีหากการจ่ายเงินสดสามารถให้ราคาที่ดีกว่าหรือมีส่วนลดจากซัพพลายเออร์ การเลือกจ่ายเงินสดแทนการใช้เครดิตเทอมก็เป็นทางเลือกที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ บริษัทมากุโระกรุ๊ปมีการตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างรอบคอบ โดยพิจารณาในมุมมองของกระแสเงินสดที่ดีและการวางแผนการเงินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว

การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเครดิตเทอมของซัพพลายเออร์ที่มักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ โดยเฉพาะการลดระยะเวลาเครดิตเทอมจาก 30 วันเหลือ 15-20 วันในบางกรณี ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจSMEs หรือธุรกิจขนาดเล็กที่พึ่งพาเครดิตเทอมจากซัพพลายเออร์ได้รับผลกระทบได้ โดยเฉพาะการขาดสภาพคล่องในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน

การปรับตัวของผู้ประกอบการในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจึงต้องใช้กลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ทั้งการบริหารจัดการเครดิตเทอมและการวางแผนกระแสเงินสดให้เหมาะสม โดยอาจต้องพิจารณาใช้วิธีการซื้อสดเพื่อลดต้นทุนในบางกรณี การขยายธุรกิจต้องมีการวิเคราะห์ตลาดอย่างรอบคอบเพื่อให้แบรนด์สามารถเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องมีการจัดการเงินทุนและเครดิตเทอมอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืนและพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต

เช่นเดียวกับนายสุรเวช เตลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด ผู้บริหารร้าน Mo Mo Paradise กล่าวว่า ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับการซื้อด้วยเครดิตและขายด้วยเงินสด ซึ่งหมายความว่า ร้านอาหารต้องซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์โดยมีเครดิตเทอมในการจ่ายเงิน เช่น 15 วัน 30 วัน หรือ 45 วัน ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และการตกลงระหว่างร้านกับซัพพลายเออร์ ส่วนลูกค้าในร้านสามารถชำระเงินด้วยเงินสดทันทีเมื่อรับประทานอาหารแล้ว ซึ่งทำให้เงินสดเข้าสู่ร้านได้ทันที

ในการสร้างเครดิตที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมและชำระเงินตามระยะเวลา ซึ่งจะช่วยให้ซัพพลายเออร์มั่นใจและให้เครดิตเทอมกับร้านในระยะยาว โดยเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและทำธุรกิจกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบต่อการชำระหนี้ การที่ร้านมีเครดิตดีทำให้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสดเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ ขณะที่บางร้านต้องจ่ายเงินสดก่อนในช่วงแรกเพราะไม่มีเครดิต

ขณะที่นายสรเทพ โรจน์พจนารัช เจ้าของร้านอาหารในเครือสตีฟ คาเฟ่ และประธานชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร กล่าวว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาและส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารอย่างหนักในขณะนี้พบว่า มีซัพพลายเออร์สินค้าสดหลายบริษัทให้เครดิตเทอมยาวขึ้นจาก 30-45 วัน เป็น 60 วัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บกระแสเงินสดไว้ โดยการขยายเครดิตเทอมนี้ช่วยให้ร้านสามารถประคองกระแสเงินสดในช่วงที่ยอดขายลดลง 40% จากผลกระทบเศรษฐกิจ

เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ ร้านอาหารจึงต้องหาวิธีปรับตัว เช่น การลดต้นทุนในส่วนต่างๆ เพื่อให้มาร์จิ้นไม่หายไปทั้งหมด มาร์จิ้นของร้านอาหารที่เคยอยู่ที่ 18-20% ตอนนี้ลดลงมาเหลือแค่ 12% ซึ่งมาจากการเพิ่มต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น อาจทำให้ร้านอาหารระดับล่างไม่สามารถประคองตัวได้ ขณะที่ร้านอาหารระดับใหญ่ที่มีทุนหนาจะยังสามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปได้ ส่วนการเปิดร้านใหม่ในไตรมาสที่ 2 ลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และกว่า 50% ของร้านที่เปิดใหม่ต้องปิดตัวภายในเวลาไม่ถึง 7-8 เดือน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

Ads ประเทศไทย รั้งอันดับ 3 สื่อดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

28 นาทีที่แล้ว

ประวัติที่ไม่ธรรมดา "พ.ต.ท.ประวุธ" กรรมการสอบอธิบดีกรมที่ดิน ปมเขากระโดง

32 นาทีที่แล้ว

อัปเดตพายุ “วิภา” ล่าสุด กฟผ. ยันเขื่อนยังมีศักยภาพรองรับน้ำได้

32 นาทีที่แล้ว

'ร่าง พ.ร.บ.หวยเกษียณ' ฉบับเต็มล่าสุด อายุ 15+ ซื้อสลาก กอช. ลุ้นทุกศุกร์

48 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

ด่วน! กำลังพลเหยียบกับระเบิดเพิ่ม ส่งรักษาแล้ว พร้อมสั่งปิด 4 ด่าน-ปราสาทตาเมือนธม-ตาควาย

THE ROOM 44 CHANNEL

พม.-สภาสมาคมสตรีฯ เตรียมจัดงานวันสตรีไทย ชู 'สตรีไทยพร้อมใจ สืบสาน รักษา ต่อยอด'

MATICHON ONLINE

ผบ.ตร. สั่งชุดควบคุมฝูงชนสแตนด์บายชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมสนับสนุนหากปะทะ

THE ROOM 44 CHANNEL

'ร่าง พ.ร.บ.หวยเกษียณ' ฉบับเต็มล่าสุด อายุ 15+ ซื้อสลาก กอช. ลุ้นทุกศุกร์

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวดี! ออมสินรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน พร้อมช่วยค่าจดจำนองสูงสุด 30,000 บาท

สยามนิวส์

ศาลยกฟ้อง! "ไทยพีบีเอส" กรณีสั่งปลด 'อดีต ผอ.ศูนย์สื่อสารภัยพิบัติ' ฐานคุกคามผู้สมัครงาน

THE ROOM 44 CHANNEL

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้2568 (24 ก.ค. 68) บางจาก ปตท. ลด 40 สตางค์

ฐานเศรษฐกิจ

ทบ. คุยสื่อฯ ปรับทิศทางข่าวสู้สงครามไอโอกัมพูชา ยัน ผบ.ทบ. อยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่นักรบห้องแอร์

THE ROOM 44 CHANNEL

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...