โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รศ.ดร.ทวิดา เปิดแผน กทม. ใช้เครื่องมืออะไร? รับมือน้ำท่วม-ฝุ่น-แผ่นดินไหว

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในงาน SITE 2025 (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2025) วันที่ 6 กรกฎาคม 2568 "รศ.ดร. ทวิดา กมลเวชช" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้บรรยายในหัวข้อ “Designing Sustainable Cities for Disaster” เผยแนวคิดเชิงลึกในการขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่การเป็นเมืองที่ยั่งยืนและน่าอยู่สำหรับทุกคน โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของนวัตกรรม การบริหารจัดการภัยพิบัติ และความสำคัญของพื้นที่สีเขียว

กรุงเทพฯ มุ่งสู่ 'Smart Enough City'

"รศ.ดร. ทวิดา" ย้ำชัดว่า กรุงเทพมหานครไม่ได้มุ่งเป้าเป็นเพียง 'Smart City' แต่จะเป็น 'Smart Enough City' คือเป็นเมืองที่ 'พอดี' ซึ่งให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในเมือง ไม่ใช่การถล่มทลายด้วยเทคโนโลยีจนผู้คนอยู่อาศัยได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนบางกลุ่มที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึง

แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนนวัตกรรมเชิงกระบวนการ (process innovation) และนวัตกรรมเชิงสถาบัน (institutional innovation) เพื่อให้เมืองสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นที่สีเขียว เกราะป้องกันที่ดีที่สุด

หนึ่งในกลไกสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่และยั่งยืนคือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว "รศ.ดร. ทวิดา" เผยว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีเป้าหมายปลูกต้นไม้ถึง 3 ล้านต้น ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายหาเสียงเดิมที่ 1 ล้านต้นไปแล้ว การปลูกต้นไม้นี้ไม่เพียงช่วย 'กันฝุ่น' PM 2.5 แต่ยังต้องมีการออกแบบและเลือกชนิดต้นไม้ให้เหมาะสม ทั้งขนาดใบที่ส่งผลต่อการดักจับฝุ่น และการจัดการใบไม้ร่วงเพื่อไม่ให้ไปอุดตันท่อระบายน้ำ

นอกจากนี้ ยังมีการนำ Porus Asphalt (แอสฟัลต์ที่มีรูพรุน) มาใช้ เพื่อให้น้ำและอากาศซึมลงสู่ดินได้ ช่วยบังคับพฤติกรรมรากต้นไม้ให้ลงใต้ดิน ไม่ทำลายพื้นผิวถนน ถือเป็นการใช้มาตรการแบบ 'แครอท' ที่ให้แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น

แพลตฟอร์มข้อมูล รับมือภัยพิบัติ

ในด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ "รศ.ดร. ทวิดา" เน้นย้ำการใช้นวัตกรรมและข้อมูล โดยเฉพาะกรณีแผ่นดินไหว ซึ่งกรุงเทพมหานครประสบภัยที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ได้มีการติดตั้ง 'ไซส์ มอนิเตอร์' (หรือ ไซส์ เซ็นเซอร์) เพื่อจับการเคลื่อนไหวของอาคาร เช่นที่อาคารธานีนพรัตน์ ความสูง 35 ชั้น

อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยบันทึกการเคลื่อนไหวของอาคารใน 3 ทิศทาง และบอกได้ว่าอาคารเคลื่อนไหวเกินค่าเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎกระทรวงหรือไม่ ข้อมูลนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับโรงพยาบาล ที่หากมีการติดตั้งเครื่องนี้ จะสามารถบอกได้ว่าอาคารปลอดภัยหรือไม่ และไม่จำเป็นต้องดึงปลั๊กของผู้ป่วยวิกฤต หรืออพยพผู้ป่วยออกทั้งหมดโดยไม่จำเป็น รายงานที่พิมพ์ออกมาหลังจากเหตุการณ์ยังช่วยให้วิศวกรระบุจุดวิกฤตที่ต้องซ่อมแซมได้ง่ายขึ้น

'ฟองดูว์' รับแจ้งปัญหา 1 ล้านเรื่อง

อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญคือแพลตฟอร์ม 'ฟองดูว์' (FonDuu) ซึ่งไม่ใช่แค่นวัตกรรมของ กทม. แต่เป็นกระดูกสันหลังในการแก้ปัญหาของกรุงเทพมหานคร ฟองดูว์เปิดให้ประชาชนแจ้งปัญหาได้กว่า 1 ล้านเรื่อง ในยามวิกฤต เช่น แผ่นดินไหว ประชาชนสามารถส่งรูปถ่ายความเสียหายของอาคารผ่านปุ่ม 'รอยร้าวอาคาร'

โดยมีวิศวกรอาสาช่วยกลั่นกรองรูปภาพ ทำให้ กทม. สามารถจัดการกับความตระหนกของประชาชนได้ และที่สำคัญ ช่วยให้ข้อมูลแก่บริษัทประกันภัยว่าเหตุการณ์นี้ไม่ได้ถูกประกาศเป็นสาธารณภัย ซึ่งอาจส่งผลต่อการยกเลิกประกัน

นอกจากนี้ ยังมี 'RIS Map' (แผนที่ความเสี่ยง) ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นแผนที่วิเคราะห์ความเสี่ยง 10 ประเภทภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ อาชญากรรม รวมถึงตำแหน่งของถังดับเพลิงกว่า 74,000 ถัง และหัวดับเพลิง (ประปาหัวแดง) ทั่วกรุงเทพฯ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้การบริหารจัดการเมืองมีประสิทธิภาพและสามารถหาคำตอบในการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

ประตูน้ำใช้รีโมตสั่งการจากมือถือ

Things (IoT) โดยประตูน้ำใช้รีโมตสั่งการจากโทรศัพท์มือถือ และมีเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำในถนนสายหลักแบบเรียลไทม์ ในการพยากรณ์ฝน กทม. ใช้ระบบ Xand และ Candar ที่สามารถระบุกลุ่มฝนและพื้นที่ตกได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นภายใน 3 ชั่วโมง ซึ่งแม่นยำกว่าการพยากรณ์ของกรมอุตุฯ ที่ครอบคลุมช่วงเวลา 24-72 ชั่วโมง ทำให้สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ดีขึ้น

เซ็นเซอร์วัด PM 2.5 + มาตรการ 'แครอท 2 ชิ้น'

สำหรับปัญหา PM 2.5 มีการติดตั้ง เซ็นเซอร์วัดค่า PM 2.5 ถึง 71 ตัว ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อความแม่นยำในการคาดการณ์ และได้นำมาตรการ 'แครอท 2 ชิ้น' (double carrot) มาใช้ คือ หากรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป เปลี่ยนไส้กรองและน้ำมันเครื่องล่วงหน้า จะได้รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ได้ในช่วงที่ประกาศงดรถบรรทุก

ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้รถสะอาดต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝุ่นครั้งถัดไป นอกจากนี้ยังมี Fondoo Plus ที่ช่วยให้ประชาชนเลือกรับข่าวสารและข้อความแจ้งเตือนเหตุการณ์ในพื้นที่ที่สนใจได้สูงสุด 5 แห่ง

ความร่วมมือแบบ 'สี่เกลียว'

รศ.ดร. ทวิดา ยังกล่าวถึง นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) อาทิ ความร่วมมือกับ Airbnb.org ที่จัดหาที่พักฟรีให้แก่ผู้ประสบภัยกว่า 8,451 คืน และเน้นย้ำว่า การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของความร่วมมือแบบ 'สี่เกลียว' ที่ประกอบด้วยภาครัฐ (Public) ภาคเอกชน (Private) ประชาชน (People) และภาควิชาการ (Academia)

โดยกรุงเทพมหานครตั้งใจใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว มาเปลี่ยนเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็น 'City of Life' หรือ 'ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว' ที่สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนได้อย่างยั่งยืน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ถอดรหัสดีล‘เวียดนาม-สหรัฐ’ไทยตกที่นั่งลำบากการเมืองไร้เสถียรภาพ

41 นาทีที่แล้ว

เบสเซนต์ขู่ภาษีศุลกากรจะกลับไปสูง หากไม่มีข้อตกลงภายใน 1 ส.ค.

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หนี้ครัวเรือน กับ ดอกเบี้ยนโยบาย ในมุมมอง ‘รุ่ง มัลลิกะมาส’

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ภัยมิจฉาชีพออนไลน์พุ่ง! เฉลี่ยคนไทยถูกหลอกวันละกว่า 3,000 เคส

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

วันที่ 7 กรกฎาคม เทศกาลทานาบาตะ ห้วงเวลาความรักของดวงดาว

ศิลปวัฒนธรรม

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันจันทร์ที่ 7 ก.ค. 68

PostToday

“Dating Game เดทเกมนี้ ต้องได้ใจนาย” ซีรีส์สุดคิวท์ฟีลกู๊ด นัดเดทแรก 14 ก.ค. นี้

Insight Daily

Sinners เริ่มสตรีมแบบเอ็กซ์คลูซีฟบน Max แล้ววันนี้!

Insight Daily

รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แนะนำบน Prime Video ประจำเดือนกรกฎาคม 2568

Insight Daily

เฉลิมฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน เปิดตัว DIMOO Thailand Limited Edition

Manager Online

“เพิร์ท-แซนต้า” ชวนแฟนๆ ปลุกความฟูของเส้นผมและหัวใจ พร้อมเซอร์ไพรส์แบบจัดเต็มทั้งโชว์

Manager Online

คำทำนายดวงชะตาระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2568 โดย อ.ณัฐกฤตา นาควัชระ

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...