โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

หนี้ครัวเรือน กับ ดอกเบี้ยนโยบาย ในมุมมอง ‘รุ่ง มัลลิกะมาส’

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เศรษฐกิจไทยเผชิญกับความท้าทายรอบด้านทั้งปัญหาระยะสั้นอย่างความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าที่กระทบภาคการส่งออกและปัญหาเชิงโครงสร้างจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ “หนี้ครัวเรือน” ที่เป็นความท้าทายเรื้อรังของประเทศไทยจนกระทบความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน

รายงาน Thailand Economic Monitor ฉบับล่าสุดเดือน ก.ค. ของธนาคารโลก รายงานว่า ถึงแม้ล่าสุดหนี้ครัวเรือนจะลดลงมาเล็กน้อยอยู่ในระดับ 87.9% ของจีดีพี แต่ก็ยังเป็นระดับที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน มิหนำซ้ำหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างหนี้เพื่อการบริโภคเป็นต้น

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ในประเด็นดังกล่าวว่า คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่เป็นหนี้เร็วและนานขึ้นรวมทั้งหลายคนในวัยเกษียณก็ยังไม่สามารถออกจากวังวนของหนี้ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดความรู้ด้านการเงินและอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดซึ่งบังคับให้หลายคนต้องเป็นหนี้สิน

ธปท. มองปัญหาหนี้แบบครบวงจร

หลักการสำคัญที่ธปท.ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือการ “แก้ปัญหาอย่างครบวงจร” ไม่ว่าจะเป็นการดูฝั่งรายได้ที่เติบโตช้า กำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแบบมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) ผ่านการให้ความรู้ประชาชน เป็นต้น

หนึ่งในโครงการที่ธปท. พยายามทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนปัจจุบันคือ “โครงการคุณสู้เราช่วย” ที่พยายามเข้าไปประคับประคองลูกหนี้ที่ยังต้องการสู้อยู่ ถึงแม้ในเฟสแรกของโครงการจะสามารถช่วยลูกหนี้ได้รวมประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ของยอดหนี้ซึ่งบางกลุ่มอาจมองว่าไม่ประสบความสำเร็จ แต่ในมุมมองของธปท. มองว่าก็เป็นตัวเลขที่ “พอใจ” เพราะต้องยอมรับว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย “เจตจำนงของลูกหนี้” ที่ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้ของตัวเองด้วย

“ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโครงการ ‘คุณสู้ เราช่วย’ ชื่อบอกอยู่แล้ว คุณต้องสู้ก่อน มันไม่ได้ดีไซน์มาสำหรับทุกคน ลูกหนี้มีสิทธิ์เลือกว่าจะสู้หรือไม่ ถ้าสู้แปลว่ายังต้องผ่อนอยู่ แต่โครงการให้ผ่อน 50% ของงวดผ่อนเดิมในช่วงหนึ่งปีแรก แล้วค่อยขยับขึ้นเป็น 70%”

ดร.รุ่ง อธิบายต่อว่า ข้อดีของโครงการคุณสู้ เราช่วยคือถ้าลูกหนี้ยังสู้อยู่ จะได้รับ “โปรแรง” เพราะดอกเบี้ยจะพักไว้ข้างๆ ถ้าทำได้ตามเงื่อนไข คือผ่อนได้ครบและไม่ก่อหนี้ใหม่ในช่วง 12 เดือน ดอกเบี้ยนั้นจะยกให้ทันที กลายเป็นเสมือนคิดดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

“อย่างไรก็ตาม โปรแรงที่ว่ามาก็ต้องมาพร้อมกับวินัยและความสู้ ถ้าไม่สู้ เราเข้าใจ บางคนรายได้น้อยเกินไป ก็ต้องเลือกใช้วิธีอื่นซึ่งมีกระบวนการแก้หนี้แบบอื่นอยู่ แต่โปรอาจไม่แรงขนาดนี้” ดร.รุ่งกล่าว

นอกจากนี้ สำหรับโครงการในระยะที่สองรองผู้ว่า ธปท. ผู้นี้อธิบายว่า เห็นช่องโหว่ของระยะแรกที่มีลูกหนี้กว่าสองในสามส่งคำขอเข้ามาแต่ไม่เข้าเงื่อนไขโครงการ ดังนั้นในโครงการเฟสที่สองก็จะพิจารณาช่องโหว่เหล่านี้ให้ถี่ถ้วนมากขึ้น เช่น ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 30 วันเป็นต้น

ดอกเบี้ยกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ?

เมื่อถามถึงการให้ความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์กับโครงการดังกล่าวว่ามีมากน้อยเพียงใด ดร.รุ่ง กล่าวว่า ในช่วงแรกธนาคารพาณิชย์ให้ความร่วมมือมากน้อยไม่เท่ากัน เพราะจากข้อมูลของธปท. จะพบว่าลูกหนี้ที่ก่อ “ประเภทหนี้ที่แตกต่างกัน” ก็มีอัตราการตอบรับเข้าโครงการแตกต่างกันมาก

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นหนี้บ้านที่หยุดจ่ายไม่เกินสามเดือนจะมีอัตราการตอบกลับเร็วมากแต่พอเริ่มเป็นหนี้เสียตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปก็จะมีอัตราการตอบรับที่ลดหลั่นลงไป ในขณะที่หนี้รถจะมีอัตราการตอบกลับเข้าร่วมโครงการที่น้อยมาก ยิ่งถ้าเป็นหนี้รถที่เสียเกิน 6 เดือนแทบจะไม่มีการตอบรับเข้าโครงการเลย

อีกทั้ง พอร์ตหนี้ของแต่ละธนาคารก็แตกต่างกัน อย่างธนาคารของรัฐก็จะไม่มีพอร์ตรถยนต์เลย ดังนั้นอัตราการตอบรับเข้าโครงการคุณสู้ เราช่วยก็จะสูงกว่าพอร์ตของธนาคารพาณิชย์ที่มีสัดส่วนหนี้รถยนต์ในพอร์ตมากกว่า

“จากเหตุผลที่เล่ามา การตั้ง KPI ให้ธนาคารพาณิชย์ในการรับลูกหนี้เข้าโครงการอาจยากในลักษณะที่สัดส่วนพอร์ตเขาไม่เท่ากัน ไปตั้ง KPI เป็นตัวเลขเดียวกันอาจยาก แต่เรา (ธปท.) มองไปที่ Best Effort (ความพยายามสูงสุด) คือในพอร์ตลักษณะของคุณ เราในฐานะผู้กำกับ ในฐานะคนที่ผลักดันโครงการนี้ร่วมกับกระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานอื่น เราอยากเห็น Best Effort จากธนาคารพาณิชย์มากกว่า” ดร.รุ่งกล่าว

เมื่อถามว่า “การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” จะสามารถแบ่งเบาภาระให้กับลูกหนี้อีกทางนอกจากโครงการคุณสู้ เราช่วยหรือไม่ ดร.รุ่งกล่าวว่า การลดดอกเบี้ยช่วยแบ่งเบาภาระได้อย่างแน่นอน แต่หากมองในเชิงเศรษฐกิจภาพใหญ่ ประเทศไทยอาจต้องการ “อะไร” มากกว่าแค่การเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชน

“ [การลดดอกเบี้ยเพิ่มสภาพคล่อง] สภาพคล่องเหมือนให้เลือด แต่มันไม่ได้ทำให้คุณแข็งแรงขึ้นมา สิ่งที่เศรษฐกิจไทยน่าจะต้องการมากกว่าในยามนี้คือธุรกิจในรูปแบบที่จะไปต่อได้อย่างยั่งยืน และ investment cycle ใหม่ที่เราไม่มีมาเป็นเวลาหลายสิบปี” ดร.รุ่งกล่าว

ทำไมธปท. ลดดอกเบี้ยแต่ส่งผ่านไปแบงก์พาณิชย์น้อย ?

มากไปกว่านั้น ตั้งแต่ปลายปีที่ 2567 ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง แต่การส่งผ่านไปสู่เศรษฐกิจจริงค่อนข้างล่าช้า ในประเด็นนี้ ดร.รุ่ง เห็นด้วยว่าเป็นความจริง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะดอกเบี้ยของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำหรือใกล้ Lower Bound

“จากประสบการณ์ทั่วโลก เวลาที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หรือเริ่มใกล้ lower bound การส่งผ่านโดยทั่วไปจะช้าลง และนั่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ในวงวิชาการหรือด้านนโยบายการเงินก็พูดกันว่าเมื่อดอกเบี้ยมันอยู่ต่ำมากๆ ประสิทธิผลของมันจะเริ่มน้อยลง นี่เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนว่าทำไมธนาคารพาณิชย์ตอบสนองน้อยลงด้วย”

อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับช่วงโควิด ดร.รุ่งกล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ธปท.ลดดอกเบี้ยไป 3 ครั้ง transmission (อัตราการส่งผ่านสู่เศรษฐกิจจริง) ยังดีกว่าช่วงโควิดเล็กน้อย แต่ก็ต้องยอมรับว่า transmission ไม่ได้เยอะมาก และไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นจริง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Credit Risk (ความกังวลที่ลูกหนี้จะไม่สามารถคืนหนี้ได้) คือต้นทุนที่ว่าธนาคารยังกังวลว่าลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสีย

‘ข้อมูล’ เครื่องมือสำคัญของลูกหนี้

ดังนั้นที่ผ่านมา ธปท. จึงพยายามทำโครงการ Your Data ซึ่งเป็นความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการสร้าง “ถังข้อมูล” ให้ลูกหนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ โดยเมื่อลูกหนี้มีข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของตัวเองชัดเจน ธนาคารพาณิชย์ก็จะมีความกล้าในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

สุดท้าย สำหรับลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือที่ปรึกษาทางการเงินเบื้องต้น ล่าสุด ธปท. “โปรแกรมแก้หนี้ DIY” ที่สามารถดาวน์โหลดได้ทางโทรศัพท์มือถือ ที่จะให้ลูกหนี้เข้าไปกรอกข้อมูลเบื้องต้น ลักษณะของหนี้ ลักษณะของรายได้ จากนั้นโปรแกรมจะช่วยคำนวณสถานะหนี้ของคุณเบื้องต้นว่าอยู่ในลักษณะที่ไปไหวหรือเริ่มขลุกขลักมีปัญหาแล้ว

รวมทั้งจะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้น ให้คำแนะนำว่าหนี้ก้อนไหนน่าจะเป็นหนี้ที่เข้าไปบริหารจัดการก่อน เช่น ก้อนนี้ดอกเบี้ยสูง ควรจะบริหารจัดการยังไง เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ในแง่ที่เป็นตัวเริ่มต้น

รวมทั้งจากข้อมูลที่ลูกหนี้กรอกเข้าไปจะสามารถทำเป็นจดหมาย สมมุติถ้าเราจะไปเจรจากับสถาบันการเงิน ก็ออกจดหมายเพื่อการเจรจาเป็นเบื้องต้นให้เราได้ ทั้งหมดถือว่าเป็น “สารตั้งต้น” ที่จะทำให้ลูกหนี้ช่วยเหลือตัวเองในการที่ไปสานต่อกับสถาบันการเงินในการแก้ไขหนี้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

หุ้นไทยเปิดเช้าร่วง 8.67% ความไม่แน่นอนของภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ใกล้กำหนดเส้นตาย 9 ก.ค.นี้

16 นาทีที่แล้ว

เศรษฐกิจไทยจะเกิดวิกฤติหรือไม่ เรียนรู้จากวิกฤติปี 40

17 นาทีที่แล้ว

เดินทางฟรี! ดีต่อใจ ใน 'กทม.' รถบัสไฟฟ้า ‘BMA Feeder’ กับ 7 เส้นทาง

17 นาทีที่แล้ว

ไทยยื่นข้อเสนอเพิ่มเจรจาภาษีสหรัฐแล้ว ลุ้นขยายเส้นตายไป 1 ส.ค.

21 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

WHA นำทีม AMATA-LTS ร่วง! หลัง “สหรัฐ” จำกัดส่งชิปเข้าไทย-มาเลเซีย หวั่นผู้ผลิตย้ายฐาน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ADVANC-TRUE กอดคอบวก รับข่าวบอร์ด “กสทช.” รับรองผลประมูลคลื่นใหม่

ข่าวหุ้นธุรกิจ

เศรษฐกิจไทยจะเกิดวิกฤติหรือไม่ เรียนรู้จากวิกฤติปี 40

กรุงเทพธุรกิจ

ไทยยื่นข้อเสนอเพิ่มเจรจาภาษีสหรัฐแล้ว ลุ้นขยายเส้นตายไป 1 ส.ค.

กรุงเทพธุรกิจ

"ทีมไทย" เร่งเจรจา !!! ขอลดภาษีตอบโต้ให้ต่ำสุดที่ 10% อเมริกากำหนดเส้นตายเจรจา 9 ก.ค. พร้อมเตรียมเก็บภาษีจริงวันที่ 1 ส.ค. นี้

Finnomena

เปิด 20 อันดับหุ้นถูก “Cover-Short” สูงสุด ณ 4 ก.ค.68

ข่าวหุ้นธุรกิจ

Thai ESGX ยอดเงินเข้า 3.14 หมื่นลบ. ต่ำเป้า! บลจ.มั่นใจไม่กระทบตลาด

ข่าวหุ้นธุรกิจ

CGSI มอง SET แกว่งตัว 1,100–1,135 จุด แนะลงทุน PR9-MOSHIเด่น

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...