โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

นวัตกรรมแพทย์ 'เมดอินไทยแลนด์' ลดนำเข้า-หนุนใช้เพิ่มขึ้นในประเทศ

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เพื่อให้สตาร์ตอัปและเอสเอ็มอีไทยกลุ่มนวัตกรรมการแพทย์มีโอกาสขยายตลาดมากขึ้น ในปีนี้ NIA จึงได้ร่วมกับ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย และภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน นำสตาร์ตอัปภายใต้การสนับสนุนของ NIA จำนวน 8 ราย เข้าร่วม MEDICAL FAIR THAILAND 2025 นำเสนอนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด เชื่อมเครือข่ายพันธมิตรด้านการแพทย์ระดับภูมิภาค ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโมเดลธุรกิจ ควบคู่กับการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ไทยอย่างยั่งยืน

เนื่องจากนวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูงเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่มีส่วนช่วยทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างมูลค่าเศรษฐกิจระดับสูง และสอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Wellness and Medical Service Hub) โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ การผลิตเครื่องมือแพทย์ และโซลูชันการดูแลผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มศักยภาพที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดในประเทศเฉลี่ยปีละ 5.5-7.0% ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่อัตรา 6.5-7.5% ต่อปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'รพ.เวชธานี'ดูแลคนไข้แบบองค์รวม ดึง AI- หุ่นยนต์สมัยใหม่ ช่วยบำบัด รักษา

"จีโนมิกส์’ป้องกันโรคแม่นยำ ลดภาระค่าใช้จ่ายในรักษา

สร้างแบรนด์นวัตกรรมไทยเป็นที่ยอมรับนานาชาติ

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA กล่าวว่า การสร้างแบรนด์นวัตกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ หัวใจสำคัญคือ การยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ซึ่ง NIA สนับสนุน Deep Tech ด้านการแพทย์ เช่น ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวินิจฉัย (AI Diagnostics) เทคโนโลยีจีโนมิกส์ (Genomics) หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics) และวัสดุทางชีวภาพขั้นสูง (Advanced Biomaterials) เป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราการเติบโตสูงทั่วโลก หากไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างต่อเนื่อง จะไม่เพียงช่วยลดการนำเข้า แต่ยังจะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาค จะทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโตได้อีกด้วย

โดยส่งเสริมเทคโนโลยีเชิงลึกด้านการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด 4G ได้แก่ Groom การสร้างย่านนวัตกรรมด้านการแพทย์เพื่อจุดประกายแนวทางการสร้างนวัตกรรม และการทดสอบการใช้งานในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีย่านนวัตกรรมการแพทย์ 4 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีและย่านนวัตกรรมการแพทย์ ศิริราช จ.เชียงใหม่ 1 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก และจ.ขอนแก่น 1 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมการแพทย์กังสดาล

ผลงานวิจัยสาขาการแพทย์และสุขภาพกว่า 700 เรื่อง

ส่งต่อด้วย Grant การสนับสนุนเงินทุนพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมทางการแพทย์ผ่านกลไกในหลากหลายรูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Growth ด้วยโปรแกรมเร่งสร้างการเติบโตด้านการแพทย์ ‘Spear H’ ที่จะขยายผลต่อยอดการลงทุน และสามารถออกสู่ตลาดต่างประเทศ Global และสร้างแบรนด์นวัตกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก เช่น การเข้าร่วมงาน Medica 2024 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ถือเป็นตลาด MedTech ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและอยู่ในระดับต้นๆ ของโลก

รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบัน สวทช. มีฐานข้อมูลองค์ความรู้และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาการแพทย์และสุขภาพกว่า 700 เรื่อง ครอบคลุมตั้งแต่งานวิจัยด้านวัสดุชีวภาพ (biomaterials), อุปกรณ์ฝังร่างกาย (implants), เทคโนโลยีการวินิจฉัยและตรวจโรค, ไปจนถึงเทคโนโลยีชีวภาพและเวชศาสตร์ฟื้นฟู งานวิจัยจำนวนมากพร้อมถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

ตัวอย่างเช่น M-Bone ‘วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์’ ซึ่งเป็นวัสดุทดแทนกระดูกชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยลดการนำเข้าวัสดุปลูกกระดูกจากต่างประเทศได้มากกว่าร้อยล้านบาทต่อปี ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ระบบสุขภาพยุคใหม่ โดยเฉพาะในบริบทของสังคมผู้สูงอายุ การแพทย์เฉพาะบุคคล และระบบสุขภาพเชิงป้องกัน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สอดรับกับเทรนด์ใหม่ เช่น IoT, 5G, AI เป็นต้น

โอกาสทางด้านการแพทย์ของไทย

ซี เลย์ อิง Deputy Portfolio Director MEDICARE ASIA บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เปิดเผยว่าโอกาสทางด้านการแพทย์ของไทยซึ่งพบอานิสงส์และดีมานด์สำคัญได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ ภูมิภาคอาเซียนเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ โดยมีประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นผู้ให้บริการชั้นนำ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ด้วยทางเลือกการรักษาที่ราคาไม่แพง มาตรฐานที่ได้การยอมรับ และการดูแลแบบองค์รวม

สำหรับประเทศไทยเป็นในปี 2567 ตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีมูลค่า 433.81 ล้านดอลลาร์ในปี 2567 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ 15.24% ไปถึง 1,349.10 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2575 การเติบโตนี้บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นในคุณภาพและราคาที่เหมาะสมของบริการทางการแพทย์ของไทย

ตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศ เติบโตเฉลี่ยปีละ 7%

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ของไทย ปัจจุบันตลาดเครื่องมือแพทย์ภายในประเทศคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 7% ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวถึง 7.5% ต่อปี สะท้อนบทบาทของไทยในฐานะผู้ส่งออกรายสำคัญของอาเซียน กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีศักยภาพโดดเด่น ได้แก่ เวชภัณฑ์สิ้นเปลือง (consumables) อุปกรณ์วินิจฉัยโรค และเครื่องมือฟื้นฟูสมรรถภาพ

นอกจากนี้ยังมีมาตรการจูงใจด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมภายในประเทศ ขณะเดียวกัน การวิจัยและพัฒนาในด้านวัสดุชีวภาพ รากฟันเทียม การวินิจฉัยโรค และเทคโนโลยีการผลิต ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยในภาคการผลิตเครื่องมือแพทย์มูลค่าสูงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการตอกย้ำบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางสำคัญในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีการแพทย์ (MedTech) ในภูมิภาค

การแพทย์เพื่อรองรับประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่ในภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยประชากรสูงอายุเพิ่มอย่างเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งทางเลือกการดูแล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันเพื่อการรักษาต่างๆ รวมทั้งยังช่วยผลักดันการเติบโตในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ โรงพยาบาล คลินิก บ้านพักคนชรา และบริการดูแลที่บ้าน อีกด้วย

Medical Fair Thailand 2025 จะจัดร่วมกับงาน GITEX Digi Health และ Biotech Thailand นำเสนอเทคโนโลยีล้ำสมัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพในระดับสากล สัมมนาและเวิร์กชอปนวัตกรรมและเทรนด์ในอุตสาหกรรมสุขภาพ เวชศาสตร์ฟื้นฟู เทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลระยะยาว เครื่องมือแพทย์มูลค่าสูง ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีระบบการผลิตขั้นสูง อุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบอัตโนมัติ และนวัตกรรมด้านวัสดุระหว่างวันที่ 10-12 ก.ย. 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ติดตามการจัดงาน MEDICAL FAIR THAILAND 2025 ได้ที่ www.medicalfair-thailand.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เวสต์เทกซัส 67.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เบรนท์ 69.21 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล

22 นาทีที่แล้ว

เปิดเหตุผล ครม.เลือก วิทัย รัตนากร เป็น ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่

27 นาทีที่แล้ว

'มาเลย์' ขอภาษี 20% แต่ปฏิเสธเงื่อนไขเปิดตลาด EV - กฎต่างชาติถือที่ดิน

34 นาทีที่แล้ว

“ฉันทวิชญ์” หารือ USABC – BCIU ดึงลงทุนในอุตฯเป้าหมายในไทย

36 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

คุณแม่ในสหรัฐหัวใส ขายนมแม่ออนไลน์ เตือนผู้ใหญ่ดื่ม เสี่ยงติดเชื้อ HIV-ซิฟิลิส

TNN ช่อง16

เศรษฐกิจสุขภาพ 'เวลเนส' กำลังใหม่ 'ทางรอด' ของชาติ

MATICHON ONLINE

ปลัด สธ. ย้ำ 8 ข้อสั่งการรับมือ "พายุวิภา" ถล่ม 49 จังหวัด

ฐานเศรษฐกิจ

ฉีดวัคซีน HPV ฟรี 2568 เช็กสถานที่ฉีด วัน-เวลา วอล์คอิน

Amarin TV

กรมควบคุมโรค เตือน ฤดูฝน ช่วงฤดูการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส RSV

TNN ช่อง16

สปสช. ยัน "ตรวจเวชระเบียน" ไม่ใช่จับผิด 3 กองทุนสุขภาพใช้เกณฑ์ สธ.

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวจริง! เชื้อวิบริโอแฝงตัวในหอยนางรมดิบ เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด

PPTV HD 36

โรคไหล่ติด : FM91 ก้าวทันโรคกับแพทยสภา : 22 กรกฎาคม 2568

สวพ.FM91

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...