โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นวัตกรรมและความร่วมมือ: กลยุทธ์การเติบโตของอาเซียน

THE STANDARD

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
นวัตกรรมและความร่วมมือ: กลยุทธ์การเติบโตของอาเซียน

ความตึงเครียดทางการค้าโลก ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย และการชะลอตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้สร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทายต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากความพยายามในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน และการลดความยากจนต่างได้รับผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้หลายประเทศต้องปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลง – และอาเซียนก็ไม่มีข้อยกเว้น

หลายประเทศทั่วทั้งภูมิภาค ตั้งแต่ไทย เวียดนาม ไปจนถึงอินโดนีเซียและมาเลเซีย ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ท่ามกลางอุปสรรคเหล่านี้ ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือของอาเซียนขึ้นอยู่กับการลงทุนในนวัตกรรม การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง ตลอดจนการกระชับความร่วมมือระดับภูมิภาคให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การลงทุนด้านเทคโนโลยี

เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนนี้ เศรษฐกิจของอาเซียนต้องสร้างความสามารถในการปรับตัว หัวใจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายนี้คือ ความร่วมมือในการลงทุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคมีความพร้อมมากขึ้นในการรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการผลิตขั้นสูง

อาเซียนได้เดินหน้าอย่างก้าวกระโดดในการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี หนึ่งในพัฒนาการสำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนคือ การเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัล (DEFA) ซึ่งคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงในปี 2025 ภายใต้การนำของมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียน DEFA จะทำหน้าที่เป็นโรดแมปเชิงกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยเป็นข้อตกลงด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาคฉบับแรกของโลก มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการกฎเกณฑ์การค้าดิจิทัลและปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030

รัฐบาลมาเลเซียยังเป็นผู้นำในการเข้าร่วม เครือข่ายศูนย์การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (C4IR) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มของ World Economic Forum ที่มีเป้าหมายเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเทคโนโลยีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วโลก เพื่อผลักดันและขยายโครงการผ่านศูนย์อิสระในแต่ละประเทศ โดยศูนย์ C4IR แห่งแรกของอาเซียนก่อตั้งขึ้นในมาเลเซียเมื่อปี 2023 และในปี 2024 เวียดนามได้ก่อตั้ง ศูนย์ C4IR แห่งที่สอง ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นครโฮจิมินห์ (Saigon Hi-Tech Park) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

เปลี่ยนจากกลยุทธ์ผู้ตามที่รวดเร็ว สู่การก้าวขึ้นสู่ห่วงโซ่คุณค่าเซมิคอนดักเตอร์

เพื่อต่อยอดแรงขับเคลื่อนนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามได้ประกาศสองนโยบายเชิงรุกที่สำคัญ นโยบายแรกคือ มติ 57 ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลผ่านโครงการที่ครอบคลุมทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาบุคลากร และนโยบายที่สองคือ มติ 68 เป็นนโยบายสำคัญที่ตั้งเป้าให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยการส่งเสริมการเติบโตของ 20 บริษัทขนาดใหญ่ภายในปี 2030

ขณะเดียวกันประเทศไทยผู้ผลิตข้าวส่งออกประมาณ 15% ของตลาดโลก กำลังเดินหน้ายกระดับบทบาทในตลาดอาหารโลก ด้วยการเปลี่ยนผ่านจากฐานะผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ สู่การเป็นผู้นำด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร (agro-processing) การทำเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นสู่ห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรได้อย่างมีกลยุทธ์ (agriculture value chain) เสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร และส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น ในโครงการนำร่องหนึ่งซึ่งตั้งอยู่พื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของไทย ชุมชนท้องถิ่นกำลังร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ทวีความรุนแรงขึ้น ผ่านการบริหารจัดการน้ำท่วมและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

อาเซียนกำลังวางตำแหน่งตนเองให้เป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลก โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมที่จีนเสียเปรียบจากความตึงเครียดทางการค้าในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันอาเซียนมีส่วนร่วมจำกัดแค่ปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่าในกระบวนการประกอบ ตรวจสอบ และบรรจุภัณฑ์ ทว่าด้วยความก้าวหน้าของ AI อาเซียนจึงมีโอกาสทองที่จะก้าวขึ้นสู่ห่วงโซ่คุณค่าที่สูงขึ้น โดยประเทศสมาชิกต่างเสนอมาตรการจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น

ความสำคัญของความร่วมมือในระดับภูมิภาค

ศักยภาพที่แท้จริงของอาเซียนจะปลดล็อกได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อประเทศสมาชิกทำงานร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะตลาดรวมขนาดใหญ่ การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้มากขึ้น การรับมือกับแรงกระแทกทางเศรษฐกิจจากภายนอก การบูรณาการด้านดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ หรือการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน

ภูมิภาคอาเซียนตระหนักถึงความสำคัญนี้เป็นอย่างดี จึงได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้าง ‘อาเซียนที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ มีพลวัต และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง’ ผ่านการรับรอง วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2045 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะสร้าง ระบบการค้าระหว่างประเทศ ที่ยึดกฎเกณฑ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่ออาเซียนโดยรวม

ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นจะทำให้ภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในโครงการริเริ่มระดับภูมิภาคที่สำคัญอย่างโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) ซึ่งปัจจุบันได้นำทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในอาเซียนมาใช้ประโยชน์แล้ว ด้วยการอำนวยความสะดวกในการส่งออกพลังงานสะอาดส่วนเกินจากประเทศ สปป.ลาว ไปยังศูนย์กลางที่มีความต้องการสูง เช่น สิงคโปร์ APG ได้ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่ใหญ่ขึ้นและบูรณาการมากขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอุปทานพลังงานและสนับสนุนการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน

การขยายความร่วมมือในระดับภูมิภาคเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนและเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายสำคัญ ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค รวมถึง ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ การใช้ศักยภาพและอิทธิพลของอินโดนีเซียอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในฐานะที่อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่เป็นสมาชิก G20 อีกทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญ โดยเฉพาะ นิกเกิล ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

การประชุมประจำปีครั้งที่ 16 ของ World Economic Forum Annual Meeting of the New Champions 2025 เมื่อวันที่ 24 – 26 มิถุนายน ที่เทียนจิน ประเทศจีน ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจะต้องมีบทบาทนำในการผลักดันให้ภูมิภาคมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิผลสูงสุด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

มติ ครม. มอบหมาย ‘ภูมิธรรม’ เป็นรักษาการนายกฯ ลำดับที่ 1 ชี้มีอำนาจเต็มตามระเบียบสำนักนายกฯ

45 นาทีที่แล้ว

สมศักดิ์เผย ก.ค.นี้ อบรมร้านกัญชาทำตามข้อกำหนด-เงื่อนไข ไม่ปล่อยตามยถากรรม บอกภูมิใจไทยปล่อยตามมีตามเกิดแล้วมาโวยวายคนอื่น

53 นาทีที่แล้ว

DSI บุก 4 จุด จับแก๊งรีดหัวคิวต่อใบอนุญาตแรงงานต่างชาติ พบเงินสะพัดร้อยล้านโยงเจ้าหน้าที่กัมพูชา คาดเจ้าหน้าที่ 2 ชาติเอี่ยว

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ฝ่ายค้านเขย่ารัฐบาลตั้งแต่นัดแรก เสนอนับองค์ประชุม ทำเอา รมต. ต้องรีบเข้าสภา ก่อนพิเชษฐ์สั่งปิดประชุมทันที

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

LINE เปิดตัว “LINE GIFT” เปลี่ยนบทสนทนาให้มีความหมายกว่าเคย สร้างเทรนด์ใหม่แห่งการให้ของขวัญผ่านแชท

TODAY

ศึกษาพบ ‘ฝุ่นพีเอ็ม’ เอี่ยว ‘มะเร็งปอด’ ในคนไม่สูบบุหรี่กลายพันธุ์เพิ่มขึ้น

Xinhua

ผู้สืบทอด ‘หุ่นละครเงาทงเว่ย’ มรดกพื้นบ้านในกานซู่

Xinhua

ชูศักดิ์ ยอมรับคิดถอนร่างกฎหมาย Entertainment Complex เหตุปรับ ครม.ใหม่ ต้องคุยให้สะเด็ดน้ำก่อน

THE STANDARD

ฉลองวันเกิด “หมูเด้ง” เด็กเที่ยวฟรี

THE PATTAYA NEWS

นักวิทย์ออสซี่พบ ‘กลุ่มโปรตีน’ ที่อาจช่วยต้านมะเร็ง-ชะลอวัย

Xinhua

อินโดฯ หวังได้ข้อตกลงการค้าสหรัฐดีกว่าเวียดนาม

สำนักข่าวไทย Online

“อายิโนะโมะโต๊ะ” หนุนสตาร์ทอัพไทย ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่ออนาคต จัดงาน TECHBITE Innovation ดัน 10 สตาร์ทอัพ ครีเอทโซลูชั่นอาหาร-ไบโอเทคเพื่อสุขภาพ

TODAY

ข่าวและบทความยอดนิยม

แบรนด์หรูเบนเข็มเข้าไทย ปลายทาง Luxury Hub แห่งใหม่ใน SEA

THE STANDARD

ดีลภาษีสหรัฐฯ เสี่ยงล่ม? โลกจับตาทรัมป์อาจยืดเวลาเจรจาแลกเกมเดิมพัน ‘ปฏิรูปการค้าโลก’

THE STANDARD

Gen Z อเมริกัน ‘หมดหวัง’ กับอนาคต เกือบครึ่งมองแผนชีวิต ‘ไร้จุดหมาย’ Credit Karma ชี้ ปัญหาหนี้-ว่างงานรุมเร้า

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...