โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MIND: ‘ถ้าคุณไม่ยอมรับความจริง คนจะเลิกพูดความจริงกับคุณ' แล้วเราจะเปิดใจรับ 'คำวิจารณ์' อย่างไร ให้ดีกับตัวเราเอง?

BrandThink

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

ในยุคปัจจุบันที่โลกเต็มไปด้วย ‘ห้องเสียงสะท้อน’ ของคนกลุ่มต่างๆ คนที่หัวแข็งปากร้ายยืนยันสิ่งที่ตัวเองพูดหัวชนฝาได้เสียงเชียร์ถล่มทลาย สิ่งที่หายไปคือทักษะการ ‘รับฟังคำวิจารณ์’ และนี่ก็ในระดับที่นักจิตวิทยาจากวิทยาลัยธุรกิจวอร์ตันถึงกับพูดว่า “มันเป็นทักษะที่คนไม่ค่อยกันมีแล้ว” คนปัจจุบันไม่ฟังคำวิจารณ์แบบตั้งใจ และรอเถียงตลอด และเขาก็บอกว่า “ถ้าคุณไม่ยอมรับความจริง ผู้คนจะเลิกพูดความจริงกับคุณ” ความหมายก็คือ ถ้าคุณรับคำวิจารณ์จากคนเจตนาดีไม่ได้ สุดท้ายเขาก็จะเลิกวิจารณ์คุณ และคุณก็จะไม่ได้เห็นข้อบกพร่องของตัวเอง

ในโลกธุรกิจ การที่คนเริ่มรับคำวิจารณ์ไม่ได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ มันสร้างปัญหาการทำงานมากมาย และนั่นไม่ใช่ ‘วัฒนธรรมคนรุ่นใหม่’ ที่จะยอมรับได้ เพราะสังคมมนุษย์ปัจจุบันมันวางอยู่บนฐานของการแลกเปลี่ยนความคิด การวิจารณ์ และพัฒนาร่วมกัน อย่างน้อยๆ ระบอบเสรีประชาธิปไตยแบบรัฐสภามันก็ต้องการ ‘การวิจารณ์’ เพื่อให้มันทำงานได้ปกติ

ดังนั้น ในทุกระดับ การทำให้คนรับคำวิจารณ์ได้ถึงสำคัญ

แต่ก่อนอื่น คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมคนยุคใหม่ๆ รับคำวิจารณ์ได้น้อยลง? แน่นอน ด้านหนึ่งก็คือผู้คนมักชอบอยู่ใน ‘ห้องเสียงสะท้อน’ ที่ทุกคนคิดไปในทางเดียวกันหมดจนไร้คำวิจารณ์ แต่อีกด้าน โลกนอกห้องที่ว่าก็น่ากลัวสุดๆ เอาง่ายๆ คือทุกอย่างที่ถูกเผยแพร่เป็นสาธารณะบนโซเชียลมีเดีย มันมักจะได้รับการ ‘ตัดสิน’ และ ‘วิจารณ์’ จากคนที่ไร้ความรับผิดชอบจำนวนมาก และการไปเดินเล่นในช่องคอมเมนต์ในบัญชีโซเชียลมีเดียของคนดังทั้งหลายก็น่าจะรู้ว่า ‘คำวิจารณ์’ แบบนี้โหดแค่ไหน

ดังนั้นว่ากันแฟร์ๆ โลกทุกวันนี้ไม่ได้ขาดคำวิจารณ์ แต่มันมีเยอะเกินไปต่างหาก

และมันก็เยอะขนาดที่ว่าตัวผู้เชี่ยวชาญเองก็รู้สึกว่าไม่ต้องฟังทั้งหมดก็ได้

แต่กลับไปที่ประเด็นแรก คือถ้าคนไม่ฟังคำวิจารณ์เลย กลไกของการพัฒนาการทางสังคมทั้งหมดก็จะหยุดลง

ดังนั้นคำถามคือ จะ ‘เลือก’ ฟังคำวิจารณ์อย่างไร? และจะฟังมันอย่างไร?

ผู้เชี่ยวชาญเขาให้ถามตัวเองง่ายๆ 3 คำถามเวลาโดนวิจารณ์

คำถามแรก คนวิจารณ์เขามีความรู้หรือความเข้าใจพอในสิ่งที่วิจารณ์เราหรือเปล่า?

คำถามที่สอง เขาวิจารณ์เราว่าอะไร?

คำถามที่สาม เราจะพัฒนาได้จากคำวิจารณ์ของเขาอย่างไร?

คำถามแรกสำคัญที่สุด คือเขาบอกว่าในบรรดาคำวิจารณ์มากมาย สิ่งที่เราไม่ต้องให้ราคาเลยคือคำวิจารณ์จากคนที่ไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูด ซึ่งก็ต้องเน้นว่าเป็นเรื่องของ ‘ความรู้’ ไม่ใช่ ‘ตัวตน’ คนวิจารณ์ เพราะก็ต้องยอมรับว่าแม้แต่คนดัง หรือ ‘ผู้นำทางความคิดหลัก’ (Key Opinion Leader) บางทีจริงๆ เขาก็ไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูดเลย แค่เขาพูดแล้วคนเชื่อ และถ้าเราคิดว่าเขาไม่ได้มีความรู้ เราก็ควรจะทำเป็นหูทวนลมในสิ่งที่คนเหล่านี้พูด

คำถามที่สอง เราต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เขาพูดมันหมายความอย่างไร คือฟังดีๆ ว่าเขาพูดอะไร อย่าให้ความพยายามที่จะปกป้องตัวเองและความพยายามจะเถียง ทำให้เราไม่เห็นว่าเขาพยายามจะพูดอะไร ซึ่งนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะคนจำนวนมากก็ชอบไปจับผิดจุดเล็กน้อยในคำวิจารณ์ เพื่อดิสเครดิตคนวิจารณ์ ทั้งๆ ที่ประเด็นหลักที่เขาวิจารณ์ มันอาจเป็นจริงทุกประการแบบเถียงไม่ได้ก็ได้

คำถามที่สาม เราต้องคิดต่อว่า สิ่งที่วิจารณ์มานั้นมันนำไปสู่ปฏิบัติการใดๆ ได้บ้าง คือคำวิจารณ์ที่ดีมีคุณภาพและสร้างสรรค์จริง คือฟังแล้วเราจะรู้ว่าเราต้องทำอะไรต่อ ซึ่งเราก็ต้องคิดจากมุมของเราว่า เราจะทำได้แค่ไหน อย่างไร

ทั้งหมดนี้คือ ‘พื้นฐาน’ ของการฟังคำวิจารณ์ แน่นอนว่าคนสมัยก่อนน่าจะทำได้โดยไม่ต้องไล่ข้อ 1 2 3 แต่ยุคนี้ คำวิจารณ์มันแทบจะล้นเกิน ดังนั้น ‘การคัดกรอง’ คือเรื่องสำคัญ และกระบวนการง่ายๆ นี้ก็ทำให้เราคัดคำวิจารณ์ที่ดี และเอามาสกัดเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาตัวเราเองได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MIND: ยิ่งเล่าเยอะยิ่งรู้จักกันดีจริงหรือ? รู้จัก ‘Floodlighting’ พฤติกรรมแชร์ข้อมูลลงลึกเกินความสัมพันธ์ จนละเลยว่ามันอ่อนไหวและไม่ควรพูด

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ซีรีส์จีนแนวตั้ง รวมครบเนื้อเรื่องสนุก เข้มข้น จะกี่เรื่องก็ไม่มีเบื่อ !

SistaCafe

หยุดซักผ้าร่วมคนอื่น! อาจนำเชื้อโรคร้ายสู่ร่างกายและครอบครัว

Thai PBS

‘ประมูลศิลปะไทย’ ประเด็นร้อนในวงการ จะถกเถียงกันกี่ครั้งก็วนลูป?

ONCE

อากาศดี 'ธุรกิจรุ่ง' สิ่งที่ต้องรู้เรื่องคุณภาพอากาศ

กรุงเทพธุรกิจ

เลิกเหล้ากินอะไรแทน? เปิดลิสต์ของกินลดความอยากแอลกอฮอล์

sanook.com

ก้าวใหญ่ของ Enhypen K-Pop Gen 4 วงแรกที่จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวบนราชมังฯ

The Momentum

“โมเมนต์นี้จะคงอยู่ตลอดไป” Miley Cyrus เผยความรู้สึกหลังจะได้รับดาว Hollywood Walk of Fame

THE STANDARD

MIND: ทำไมลูบหัวแมวแล้วชอบโดนงับ? ถอดรหัส ‘ภาษากาย’ เจ้าเหมียว พร้อมปรับวิธีลูบไล้เจ้านายให้ฟินขึ้น!

BrandThink

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...