โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

แม่ฮ่องสอน เมืองปราบเซียนสายการบิน

Reporter Journey

อัพเดต 3 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.12 น. • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Reporter Journey

1 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่สายการบินที่เปิดให้บริการเชื่อมท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนกับโลกภายนอกต้องยุติการให้บริการอีกครั้ง หลัง "บางกอกแอร์เวย์" ที่เปิดเส้นทางบินเชื่อมระหว่าง กรุงเทพฯ - ลำปาง - แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถยืนระยะเส้นทางบินได้ยาวนานไปกว่านี้เหมือนกับทุกๆ สายการบินที่เคยเปิดให้บริการในช่วงที่ผ่านมา และทำให้สนามบินแม่ฮ่องสอนกลับเข้าสู่ความเงียบเหงาอีกครั้ง

ตลอดระยะเวลากว่า 86 ปีนับตั้งแต่ปี 2482 สนามบินแม่ฮ่องสอนมีสายการบินหมุนเวียนมาให้บริการหลายสายการบินได้แก่ เดินอากาศไทย การบินไทย นกแอร์ กานต์แอร์ พีบีแอร์ วิสดอมแอร์เวย์ เอสจีเอแอร์ไลน์ แอร์อันดามัน แฮปปี้แอร์ และบางกอกแอร์เวย์ โดยสายการบินเหล่านี้ต่างต้องยุติการให้บริการในเส้นทางดังกล่าวในระยะเวลาไม่นาน ทั้งจากการปรับเปลี่ยนเส้นทางไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่คุ้มค่าและสร้างรายได้มากกว่า หรือไม่เกิดจากการปิดตัวลงของสายการบินเอง ทำให้แม่ฮ่องสอนไม่มีเที่ยวบินประจำที่ยืนระยะได้ยาวนานมาตลอดระยะเวลาการมีสนามบินของจังหวัดนี้

เชื่อว่าหลายคนต่างเสียดายที่เส้นทางดังกล่าวถูกยกเลิกอีกครั้ง เพราะนอกจากจะทำให้การเดินทางเข้าออกแม่ฮ่องสอนต้องกลับไปใช้ถนนที่ผ่านเทือกเขาสูงเต็มไปด้วยทางโค้งสลับคดเคี้ยวถึง 4,088 โค้ง ซึ่งต้องใช้เวลาค่อนวันกว่าจะเดินทางไปถึง ยังทำให้การท่องเที่ยวและการติดต่อค้าขายมีความยากลำบากมากขึ้น ทำให้โอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดนี้ยิ่งน้อยลงไปอีก

ผู้คนจำนวนไม่น้อยตั้งคำถามว่า ทำไมจังหวัดที่มีฉายาว่า "เมืองสามหมอก" ซึ่งมีธรรมชาติอันสวยงาม และเป็นจุดหมายปลายทางที่ใครหลายคนอยากมาเยือนสักครั้ง กลับไม่สามารถยืนระยะในด้านการเดินทางทางอากาศได้ ในบทความนี้ผู้เขียนจะวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงบริบทของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองปราบเซียนสายการบินให้เข้าใจกัน

1.ค่าโดยสารแพงจากการใช้เครื่องบินขนาดเล็ก

การเดินทางสู่แม่ฮ่องสอนด้วยเครื่องบินโดยสารนับว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการเดินทางในระยะทางเท่ากันหรือไกลกว่าไปสนามบินภูมิภาคอื่นๆ สาเหตุมาจากเครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องบินใบพัด เช่น รุ่น ART 72 จำนวนเพียง 72 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งขนาดของเครื่องบินและจำนวนที่นั่งมีผลต่อราคาค่าโดยสาร ยิ่งเครื่องบินที่มีจำนวนนั่งน้อย ยิ่งส่งผลมีต่อค่าโดยสารต่อที่นั่งต่อเที่ยวบินยิ่งแพง เพราะการบินขึ้นในแต่ละครั้งสายการบินมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมามากมายนอกจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งค่าบริหารจัดการเส้นทางบิน ค่าพนักงานบริการทั้งบนเครื่องบินและภาคพื้นดิน และค่าหลุมจอดที่ท่าอากาศยาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนที่สายการบินจะเรียกเก็บผ่านค่าตั๋วโดยสารทั้งสิ้น

แล้วทำไมการบินไปแม่ฮ่องสอนถึงต้องใช้เครื่องบินใบพัดขนาดเล็กแทนเครื่องบินเจ็ทที่พบเห็นได้ทั่วไปตามสนามบินแห่งอื่นๆ ? คำตอบก็คือ สนามบินแม่ฮ่องสอนไม่สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่กว่านี้ได้ ด้วยกายภาพของสนามบินที่มีอาคารผู้โดยสารอยู่ 1 หลัง รองรับผู้โดยสารได้ 840,000 คนต่อปี แต่ในความเป็นจริงมีผู้โดยสารน้อยกว่าที่ควรจะเป็นโดยปี 2544 มีผู้โดยสาร 235,920 คน แต่ปี 2563 เหลือเพียง 17,768 คนเท่านั้น อีกทั้งยังรองรับเครื่องบินขนาดเล็กแบบ ATR 72 ได้ 4 ลำ ส่วนทางวิ่งมีขนาดกว้างเพียง 30 เมตร และยาว 2,000 เมตร ทำให้ไม่เพียงพอที่จะรองรับการขึ้นบินหรือร่อนลงอย่างปลอดภัยของเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น Airbus A320 หรือ Boing 737 ที่สายการบินต่างๆ นิยมให้บริการเส้นทางภายในประเทศโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้สายการบินที่สามารถบินเส้นทางดังกล่าวมีจำนวนจำกัด และไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา จึงทำให้ค่าโดยสารต่อเที่ยวเพื่อเดินทางไปหรือกลับจากแม่ฮ่องสอนมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่ระหว่าง 2,500 - 3,900 บาทต่อเที่ยวในช่วงเวลาปกติ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับการเดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ที่อยู่ติดกันและมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ มีเที่ยวบินให้เลือกหลากหลายสายการบินและช่วงเวลา ซึ่งค่าโดยสารเฉลี่ยมีตั้งแต่ 800 - 2,300 บาทในช่วงเวลาปกติ

อีกทั้งการขยายสนามบินแม่ฮ่องสอนก็เป็นเรื่องยาก เนื่องจากถูกล้อมด้วยภูเขาทุกด้าน เนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่กลางหุบเขา อีกทั้งยังมีตัวเมืองล้อมเอาไว้ 3 ด้าน ดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ในการขยายสนามบิน เพื่อรองรับเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้สายการบินอยู่รอดได้ยากในเส้นทางนี้ แม้จะมีความพยายามเปิดเส้นทางบินหลายรูปแบบมาหลายครั้งแล้วก็ตามทั้งบินตรงจากกรุงเทพ หรือบินจากเชียงใหม่แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวในภาคเหนือส่วนใหญ่มักเลือกไปตั้งต้นที่เชียงใหม่ และค่อยเดินทางต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ รอบข้างผ่านทางรถยนต์แทน ซึ่งแม่ฮ่องสอนกับเชียงใหม่ก็มีบริการรถขนส่งระหว่างเมืองจำนวนทั้งรถตู้ รถมินิบัส และรถทัวร์ การเลือกเดินทางโดยการบินไปลงเชียงใหม่ เที่ยวที่เชียงใหม่ แล้วค่อยไปต่อที่แม่ฮ่องสอนจึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะค่าใช้จ่ายคุ้มค่ากว่าไปแม่ฮ่องสอนที่เดียวที่มีแหล่งท่องเที่ยวน้อยและเหมาะสมกับการท่องท่องเที่ยวเพียงแค่ไม่กี่เดือนต่อปี

2.แม่ฮ่องสอนกับปัญหาความยากจนเรื้อรังยาวนานกว่า 20 ปี

สภาพเศรษฐกิจของแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นจังหวัดที่จัดอยู่ในกลุ่มประชาชนมีรายได้ต่ำที่สุดของประเทศ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุว่า แม่ฮ่องสอนนอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดในประเทศถึง 24.64% แล้ว ตลอดห้วงระยะเวลาระหว่างปี 2546 - 2565 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 5 จังหวัดแรกที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดติดต่อกันเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 19 ปี ซึ่งคนจนในจังหวัดนี้มีสัดส่วนถึง 70% โดยประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือเพียง 18,509 บาทต่อเดือนน้อยเป็นอันดับ 76 ของประเทศ และน้อยกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรไทยที่ 29,030 บาทต่อเดือน ขณะที่หนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ยที่ 123,968 บาท คิดเป็นเป็นเกือบ 7 เท่าของรายได้

ทำให้กำลังซื้อ กำลังจับจ่ายไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้แต่ห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่ในตัวเมืองก็ยังไม่มี อีกทั้งจำนวนประชากรที่เบาบางราว 287,000 คน ตรงกันข้ามกับขนาดที่พื้นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศ ทำให้การกระจายตัวของประชากรสูงและเบาบางซึ่งมีผลต่อความคึกคักของเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะสามารถใช้บริการเครื่องบินในจุดที่สายการบินคุ้มทุนได้นั่นเอง

3.พึ่งพาการท่องเที่ยวแต่เที่ยวไม่ได้ทั้งปี

สำหรับแม่ฮ่องสอนมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพียง 15,670 ล้านบาท (ปี 2566) น้อยที่สุดในบรรดา 77 จังหวัดของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 0.1% ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศ โดยส่วนใหญ่มาจากภาคบริการราว 68% เกษตรกรรม 26 และอุตสาหกรรม 6% ซึ่งภาคบริการรวมไปถึงการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้หลักของจังหวัดนี้ ด้วยชื่อเสียงของสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง เช่น อำเภอปาย บ้านรักไทย ปางอุ๋ง แต่จำนวนนักท่องเที่ยว ก็ยังไม่ได้มากเหมือนจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เหาะแก่การท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ หรือเพียงแค่ประมาณ 4 เดือนเท่านั้นที่เป็นช่วง High Season ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยว ยังมีจำนวนน้อยและกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่เท่านั้น

ส่วนภาคเกษตรกรรม ที่เป็นรายได้อันดับ 2 รองลงมา คนแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่ ทำอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นสัดส่วนถึง 81% ของประชากรทั้งหมด โดยผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ของแม่ฮ่องสอนที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม ข้าวโพด กะหล่ำปลี และถั่วเหลือง แต่ปัญหาก็เหมือนกับเกษตรกรในจังหวัดอื่น นั่นคือ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ทำให้รายได้ส่วนใหญ่มีความไม่แน่นอน และเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่ได้มีพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตรของตนเอง ทำให้มีต้นทุนในการทำเกษตรกรรมที่สูงมาก

เมื่อรายได้หลักทั้งภาคบริการและภาคเกษตรกรรม ที่คิดเป็น 94% ของจังหวัด ไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนที่น้อยมากพอเป็นแบบนี้ ทำให้ขนาดเศรษฐกิจของแม่ฮ่องสอนที่มีมูลค่าน้อยที่สุดในประเทศ ส่งผลโดยตรงไปยังรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ของคนแม่ฮ่องสอนอีกด้วย

ฉะนั้นการเดินทางโดยเครื่องบินจึงคึกคักแค่ช่วงไฮซีซั่นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา แต่หลังจากนั้นบรรยากาศเมืองก็จะเงียบเหงาลง ทำให้สายการบินไม่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ในเส้นทางบินดังกล่าวนั่นเอง

จากประสบการณ์ของสายการบินแล้ว สายการบินเล่าที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเปิดเส้นทางบินนี้ ก็คงจะทำให้ท้องฟ้าของแม่ฮ่องสอนเงียบลงอีกครั้ง

ขอบคุณภาพจาก Bangkok Airways

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Reporter Journey

รักต่างชนชั้นของลูกเศรษฐีกับช่างยนต์ ความโรแมนติกที่เป็นจุดกำเนิดของ ‘Mercedes-Benz’

1 วันที่แล้ว

เธอมี ฉันก็ต้องมี ‘ปรากฎการณ์ตามกระแส’ วังวนทำคนไทยจน

2 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ดัชนีหุ้นวันนี้ปิดบวก 11.52 จุด จากแรงซื้อหุ้นท่องเที่ยว

เดลินิวส์

"ไฮเออร์" บุกตลาดเครื่องซักผ้า 1.6 หมื่นล้าน! อัด 3 เรือธงดันยอดขาย

ฐานเศรษฐกิจ

อัดงบฯ 3,960 ล้าน ปลุกท่องเที่ยวปี’68 คาดเงินสะพัด 2 แสนล้าน

ประชาชาติธุรกิจ

ประเด็นร้อนเศรษฐกิจรอบวัน 3 ก.ค.68

สยามรัฐ

AOT เปิดประมูลเอกชนรายที่ 2 ให้บริการภาคพื้น “สนามบินสุวรรณภูมิ” มูลค่า 9,000 ล้านบาท

การเงินธนาคาร

วิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกละลาย กระทบใคร-ชาติใด? มนุษย์และสัตว์เตรียมอพยพด่วน

Amarin TV

JUBILEE DIAMOND 96 ปี แห่งความเปล่งประกาย ฉลองสุดยิ่งใหญ่ในงาน “The Biggest Midyear Grand Sale of the Year”

Positioningmag

หุ้นไทยปรับตัวบวก สหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงการค้าเวียดนาม | 3 ก.ค. 68

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูเพิ่ม
Loading...