โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

“ท๊อป จิรายุส” ย้ำ AI หุ่นยนต์ มาแน่ เตรียมรับมืออินเดียเป็นโรงงานโลกแห่งใหม่แทนจีน !?

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เข้าร่วมเวทีการประชุม Summer Davos 2025 ของ World Economic Forum และสรุป 5 ประเด็นสำคัญ ที่เจ้าตัวเชื่อว่าคนไทยจำเป็นต้องรู้

ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้เข้าร่วมเวทีการประชุม Annual Meeting of the New Champions 2025 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Summer Davos 2025 ของ World Economic Forum และสรุป 5 ประเด็นสำคัญ ที่เจ้าตัวเชื่อว่าคนไทยจำเป็นต้องรู้

5 ประเด็นเศรษฐกิจโลกจากเวทีประชุมผู้นำ Summer Davos 2025

1. จุดสิ้นสุดยุค Post-war Order สู่โลกใบใหม่

ท๊อป จิรายุส ให้ข้อมูลโลกในปัจจุบันเป็นยุคที่เรียกว่า Post-war Order หรือ “การจัดระเบียบโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2” และลักษณะ 5 อย่าง ได้แก่

  • สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจเดียว (Unilateral System) ที่ส่งเสริมโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ เติบโตได้ในด้านเศรษฐกิจและส่งผลให้เกิดโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
  • ความเชื่อมั่นในการค้าเสรีระหว่างประเทศต่าง ๆ สะท้อนจากการมีอยู่ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หรือการทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreements: FTAs)
  • าธารณรัฐประชาชนจีนเปรียบเสมือนโรงงานของโลกที่สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่เยอะและต้นทุนต่ำ
  • สาธารณรัฐประชาชนจีนมีประชากรมากที่สุดในโลก
  • ความเชื่อมั่นในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF)

อย่างไรก็ตาม โลกกำลังเข้าสู่ยุค "Pre-something World" ที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าจะแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ประเทศมหาอำนาจจะไม่ใช่แค่สหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย เป็นระบบ 3 มหาอำนาจ (Multilateral System)

2. Globalization สู่ Regionalization การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่

ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากนโยบายการตั้งกำแพงภาษี (Tariff) ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้ประเทศขนาดเล็กต้องรวมกลุ่มกันเพื่อความอยู่รอดในการสร้างอำนาจต่อรองกับมหาอำนาจ เช่น กรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน หรือ "DEFA" (Digital Economy Framework Agreement) ที่เป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มกันในระดับภูมิภาค (Regionalization) และเมื่อโลกเกิด Regionalization มากขึ้น จะส่งผลให้การค้าแตกเป็นส่วนแยกย่อยมากขึ้น

3. อินเดียจะขึ้นแท่นโรงงานแห่งใหม่ของโลก

ประเทศอินเดียและทวีปแอฟริกา เป็นไม่กี่พื้นที่ในโลกซึ่งไม่ได้มีปัญหาตราการเกิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ฐานการผลิตสินค้าที่เน้นจำนวนเยอะและต้นทุนต่ำจะค่อย ๆ ย้ายไปอยู่ที่อินเดียและทวีปแอฟริกา ซึ่งจากเดิมที่จีนเป็นฐานการผลิตที่เน้นปริมาณมากจะผันตัวสู่การเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรม (Leader in Innovation) ในขณะเดียวกันก็สามารถคงอัตราการผลิตทั้งในด้านปริมาณและต้นทุนไว้ได้เหมือนเดิม

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตำแหน่งศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทาน (Centralized Supply Chains) หลุดไปเช่นเดียวกัน และสะท้อนให้เห็นได้จากอัตราการค้าระดับโลก (Global Trade) ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงอัตราการค้าโดยตรง (Direct Trade) ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา แต่ทั้งสองประเทศยังคงพึ่งพากันผ่านการค้าทางอ้อม (Indirect Trade) ผ่านประเทศตัวกลาง และจีนเลือกที่จะลงทุนในแถบลาตินอเมริกาและอาเซียนมากขึ้น

สองผลกระทบที่เกิดจากการไม่ไว้วางใจกันของจีนและสหรัฐอเมริกา จะส่งผลให้หลายประเทศเพิ่มจำนวนคู่ค้ามากขึ้น ไม่ได้ตั้งโรงงานหรือฐานการผลิตแค่เฉพาะประเทศจีนหรือสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป เพื่อกระจายความเสี่ยง และอาเซียนจะได้รับความสนใจจากหลายประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ เส้นทางการค้าเริ่มมีการแตกกระจายเป็นห่วงโซ่อุปทานเล็ก ๆ ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะนำไปสู่ Regionalization ในที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีของประเทศมหาอำนาจ

4. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution)

ท๊อป จิรายุส มองว่า ตัวแปรสำคัญในการเร่งให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือ การมาของ AI และหุ่นยนต์ (Robotics) ซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน โครงสร้างทางธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ได้ในระดับมหภาค นำไปสู่การเป็น Smart Manufacturing หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ในกระบวนการผลิตและการทำงาน

ในส่วนของด้านแรงงานทั่วโลกจะเกิดภาวะ Reshoring หรือภาวะที่แต่ละประเทศเรียกแรงงานและฐานการผลิตกลับมาสู่ประเทศของตนเอง อันเนื่องมาจากการไม่ไว้วางใจกันระหว่างประเทศ ทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะฝีมือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ทำให้ต้องหันมาพึ่งแรงงานจากประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอินเดียที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวและมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสูง อินเดียจึงอาจกลายเป็นข้อต่อสำคัญของเกือบทุกประเทศในอนาคต แล้วเมื่อทุกประเทศหันมาผลิตเองก็จะไม่สามารถคุมต้นทุนจาก Economy of Scales ได้ ทำให้ต้นทุนจะต้องสูงขึ้น และจะเกิดการเพิ่มเงินเดือนเพื่อดึงตัวแรงงานที่มีความสามารถ (Talent) อีกด้วย

5. นโยบาย AI Plus ของจีน ติดปีกการแข่งขัน

ในเวทีการประชุมผู้นำโลกครั้งนี้ หลี่ เฉียง (Li Qiang) นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ออกมาประกาศถึงนโยบายสำคัญที่จะนำ AI มาใช้งานแบบครบทั้ง 3 มิติ ในชื่อว่า “AI Plus” ดังนี้

  • Open Source AI โดยมี DeepSeek เปิดให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศสามารถใช้งานได้
  • AI Could จาก Huawei ที่เป็นบริษัทภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน รับหน้าที่ในการสร้าง Cloud
  • Data ที่รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้งานได้

ถ้าหากทั้ง 3 มิตินี้ สามารถใช้งานร่วมกันได้ จะทำให้ทุกอุตสาหกรรมในจีนขับเคลื่อนด้วย AI ส่งผลให้ Productivity ของจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ลดการใช้แรงงานของคนและหันมาใช้หุ่นยนต์แทนในที่สุด

ดังนั้น การมาของนโยบายนี้จะส่งผลให้ธุรกิจของจีนมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงมาก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐของไทยและผู้ประกอบการชาวไทยควรรีบปรับตัวนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์อย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ ท๊อป จิรายุส เชื่อว่า 5 ประเด็นสำคัญจาก Summer Davos 2025 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่คนไทยจำเป็นต้องรู้และเข้าใจ เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ การทำธุรกิจ และการลงทุนของภาคธุรกิจไทยในอนาคตืั้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและปรับตัวตามทิศทางโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะช่วยให้คนไทยไม่ตกขบวนและสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

กองทัพเร่งสอบเหตุ ทหารเหยียบระเบิด ชายแดนไทย-กัมพูชา

16 นาทีที่แล้ว

ด่วน! กัมพูชาแถลงโต้ข่าวสื่อไทย ปมทหารเหยียบกับระเบิดช่องบก

33 นาทีที่แล้ว

"สมศักดิ์" พบเอกชนพังงา ชู "เมืองหลวงเวลเนสอันดามัน" แหล่งรายได้ใหม่ โกยปีละ 6 หมื่นล้าน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์ใช้แล้วครึ่งปีหลัง 2568 หดตัว 28% รับมือความท้าทาย EV-เศรษฐกิจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

รวมสมาร์ตโฟนออกใหม่ ประจำเดือนกรกฎาคม 2025

Siamphone

OPPO และ Hasselblad ขยายความร่วมมือ: พัฒนาระบบถ่ายภาพใหม่สำหรับ Find X9

BT Beartai

วิศวกร AI ระดับสูงกลายเป็น "สมบัติ" ที่มีค่าที่สุดในการแข่งขัน AI l Editor's Pick

TNN ช่อง16

วิธีล็อกโปรไฟล์ Facebook กันสายส่อง ให้คนที่ไม่ใช่เพื่อนดูไม่ได้ แบบง่าย ๆ แค่ 5 วินาที

BT Beartai

“Microchip” ประกาศความร่วมมือ “Delta” พัฒนาโซลูชันซิลิคอนคาร์ไบด์

เดลินิวส์

รีวิว Redmi Pad 2 4G แท็บเล็ตภาพชัด เสียงจัดเต็ม ตัวจริงเรื่องความบันเทิง

Siamphone

เสียวหมี่ ประเทศไทย วางจำหน่าย Redmi Pad 2 4G อย่างเป็นทางการ ในราคาเริ่มต้น 5,499 บาท หน้าจอความละเอียดสูง แบตฯอึด ฟีเจอร์จัดเต็ม

BTimes

HONOR โชว์หลักฐาน Magic V5 บางกว่า Galaxy Z Fold7 จริง?

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

อัพเดท “ภาษีทรัมป์” ชาติเอเชีย ไทยเจอภาษีสูงสุดอันดับ 2

TNN ช่อง16

อเมริกากลับสู่ความร่ำรวย ? "ภาษีทรัมป์" เริ่มเห็นผล รัฐบาลโกยรายได้ทะลุแสนล้านเหรียญ

TNN ช่อง16

ทรัมป์เผยเจรจาการค้ากับอินเดียใกล้สำเร็จแล้ว

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...