โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ส่องกลยุทธ์ลงทุน-หุ้นเด่น รับมือดีลภาษีทรัมป์ 5 เวอร์ชั่น

PostToday

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดสำหรับอัตราภาษีที่สหรัฐฯ จะเก็บกับไทย หลังจากเมื่อช่วงต้นเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมา ทีมไทยแลนด์ นำโดย นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินทางไปเจรจาการค้าที่สหรัฐฯ แต่ยังไม่ได้ผลสรุป และได้ทำข้อเสนอเพิ่มเติมส่งไปยังสหรัฐฯ แล้ว รวมทั้งยังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการขยายเส้นตายการพิจารณาออกไปจนถึงวันที่ 1 ส.ค.2568 หรือไม่ จากเดิมวันที่ 9 ก.ค.2568

โดยข้อเสนอเพิ่มเติม ประกอบด้วย การเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม, พลังงาน, เครื่องบิน BOEING จากสหรัฐฯ เพื่อที่จะลดดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ จาก 46 พันล้านดอลลาร์ ลง 70% ภายใน 5 ปี และตั้งเป้าให้ ดุลการค้าไทย-สหรัฐฯ เป็นศูนย์ภายใน 7-8 ปี (เร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งไว้ 10 ปี)

ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ประเด็นดังกล่าว ส่งผลน่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP GROWTH ไทยในปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่ง ธปท.ประเมินอัตราภาษีระดับต่างๆ จะส่งผลต่อ GDP GROWTH ดังนี้

  • TARIFF สูงกว่า 36% ส่งผลต่อ GDP อาจต่ำกว่า 1.3%YoY
  • TARIFFเท่ากับ 36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 1.3%YoY
  • TARIFF18-36% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.0%YoY
  • TARIFF เท่ากับ 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือราว 2.3%YoY
  • TARIFF ต่ำกว่า 18% ส่งผลต่อ GDP เหลือสูงกว่า 2.3%YoY

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเตรียมจัดสรรเม็ดเงินราว 1 หมื่นล้านบาท จากวงเงินงบประมาณ 1.15 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผลกระทบจาก TRADE TARIFF อีกทั้งสภาพัฒน์ เล็งปรับ GDP ใหม่ หาก TRUMP ลดภาษีสินค้าไทย ให้เหลือตามสมมติฐานที่ 18% (ล่าสุดประเมินไว้ที่ 1.3-2.3% ภายใต้ TARIFF 36%)

ดังนั้นในช่วงก่อนวันรู้ผล ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำ WAIT AND SEE หรือถือเงินสดไว้ในพอร์ตราว 5-10% แต่หากประสงค์อยากได้ CAPITAL GAIN ก็ถือเป็นจังหวะสะสมที่ดี เนื่องจากดัชนีที่ระดับดังกล่าว VALUATION เด่น พร้อมกับการเติบโตของ EPS GROWTH ในปีนี้

ประเด็น TARIFF อาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนอีกครั้ง แต่ SET INDEX น่าจะไม่ทำ LOW ใหม่ ที่ 1,056 จุด เนื่องจากเชื่อว่าความผันผวนและอำนาจต่อรองจากสหรัฐฯ ลดลง ดังนี้

1. การเจรจาการค้าสหรัฐเพิ่งสำเร็จแค่ 2 ประเทศ หากตั้งกำแพงภาษีกับประเทศอื่นแรงๆ สหรัฐฯ ต้องระวังการตอบโต้กลับจากหลายๆ ประเทศ เหมือนกับช่วงที่ผ่านมา

2. นโยบาย OBBBA ทำให้สหรัฐขาดดุลเพิ่มขึ้น 3.3-4 ล้านเหรียญใน 10 ปีข้างหน้า ทำให้รับความผันผวนของตลาดพันธบัตรเหมือนช่วงที่ผ่านมาได้น้อย เนื่องจากต่างชาติถือครองพัธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สูงถึง 9 ล้านล้านเหรียญ หากมีแรงขายออกมา อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ROLLOVER ได้

3. ไทยยังมีโอกาสได้อัตราภาษี +-20% เพราะหากประเทศต่างๆ ต้องเสียภาษีสูงกว่าเวียดนามที่ 20% มากๆ อาจทำให้เกิด SUPPLY SHOCK อีกทั้งสหรัฐฯ ยังได้ประโยชน์น้อยถ้ามีการให้ประเทศอื่นส่งออกแทน

4. ระยะถัดไปไทยต้องระวังสิ่งที่สหรัฐฯ ต่อรองเพิ่มเติม เหมือนญี่ปุ่นที่มีการเจรา 8 ครั้ง ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากมีการต่อรองเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ การนำเข้าข้าวและน้ำมันเพิ่ม รวมทั้งเพิ่มงบทางการทหารให้กองทัพสหรัฐฯ

ดังนั้นเชื่อว่า SET INDEX น่าจะไม่ทำ LOW ใหม่ ที่ 1,056 จุด ส่วนช่วงสั้นหลบความผันผวน แนะนำหลบเข้าหุ้น DOMESTIC อิงปัจจัย 4 ได้แก่ CPALL, CPAXT, M, LH, AP, SIRI, BDMS, BCH

ด้าน บล.กรุงศรี ระบุว่า ข้อสรุปภาษีที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ระยะสั้นตลาดมีโอกาสให้น้ำหนักด้านความเสี่ยง และลดน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อรอติดตามสถานการณ์

ปัจจุบันประเมินกลยุทธ์ลงทุนภาษีการค้าไทย เชิงเปรียบเทียบกับเวียดนามที่ได้รับข้อเสนอแล้ว ด้วย 5 ฉากทัศน์ โดยคงให้น้ำหนัก 65% ว่าท้ายที่สุดยังน่าจะได้รับข้อเสนอกรอบฉากทัศน์ที่ 1-3 (ใกล้เคียง/ดีกว่าเวียดนาม) อิงแนวทางหลักที่ให้สหรัฐฯ ให้น้ำหนัก คือ การจำกัดการสวมสิทธิ์ส่งออก (Transshipping) ที่เวียดนามมีประเด็นสหรัฐฯ ให้ความกังวลมากกว่าไทย

1) ไทยได้ดีลภาษี 10-15% (ดีลดีกว่าเวียดนาม) คาด SET จะตอบรับทางบวก Bullish +3–5%

  • เน้นนิคมฯ : WHA, AMATA
  • รับ FDI China plus 1 Export Tech : DELTA, KCE, HANA
  • ส่งออก : TU, ITC, AAI, CPF, STA
  • กลุ่มนำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) : COM7, ADVICE, SYNEX, BE8, BBIK, GULF, GPSC
  • กลุ่ม Infra และ Import Technology Play : ADVANC, TRUE

2) ไทยได้ดีลภาษี 15–18% (ดีกว่าเวียดนามเล็กน้อย) คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,130-1,180 จุด

  • หุ้นเด่นเน้น Selective Export : KCE, HANA
  • นิคมฯ : WHA, AMATA (ยังสะสมได้)
  • นำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) : ADVANC, COM7, ADVICE, INSET
  • นำเข้าก๊าซ : PTTGC, GPSC, BGRIM

3) ไทยได้ดีลภาษี 19-21%(เท่าเวียดนาม) ประเมินเป็นกลางถึงบวกแคบต่อ SET

  • หุ้นเด่นเน้นกลุ่ม Domestic Defensive : BDMS, CPALL
  • โรงไฟฟ้า : GULF, GPSC
  • เปิดเมือง-ท่องเที่ยว : MINT, CENTEL
  • กลุ่มเช่าซื้อ : KTC, MTC

4) ไทยได้ดีลภาษี 22–25% (แย่กว่าเวียดนาม) SET มีโอกาสแกว่งต่ำกว่า 1,100 จุด

  • เน้นหุ้นพลังงาน : PTTEP, BANPU
  • โรงพยาบาล : BDMS
  • Domestic Laggards : ADVANC, GULF
  • เช่าซื้อ : KTC, MTC, SAWAD

5) ไทยถูกเก็บภาษีมากกว่า 25% (Worst Case) SET ปรับฐานและมีโอกาสปรับลงทดสอบ low เก่า บริเวณ 1,053 จุด

  • เน้นหุ้นดอกเบี้ยลด : KTC, MTC
  • High Yield : ADVANC, AP
  • หนี้สูง : TRUE, MINT, CPALL
  • กลุ่ม Energy Defensive : GULF, BCPG
  • กลุ่ม Healthcare : BDMS, BCH, CHG
  • ท่องเที่ยว : CENTEL, ERW
ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

ตลาดการ์ดเกมโตแรง ผู้เล่นแตะหลักล้าน มูลค่าแตะพันล้านบาท

58 นาทีที่แล้ว

หุ้นไทยรีบาวด์ 3 จุด รอเคลียร์ภาษีทรัมป์! เคาะเป้าดัชนีสิ้นปีเหลือ 1,290 จุด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เอไอเอส ผนึก “วัน ชีจรรย์” ปั้นแลนด์มาร์กใหม่พัทยา ดัน 5G หนุนเศรษฐกิจอีเวนต์ระดับโลก

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักท่องเที่ยวกระป๋าหนัก พยุงรายได้ทดแทนจีน ดันเศรษฐกิจ 1.74 ล้านล้านบาท

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ธุรกิจ-เศรษฐกิจ อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...