ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศชี้ ช่องว่างสิทธิอำนาจทางการเมืองต่ำสุด
ในสี่มิติหลัก (ดัชนีย่อย) เป็นประจำทุกปี ได้แก่1.การมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ 2.การบรรลุผลทางการศึกษา 3.สุขภาพและการอยู่รอด และ4.การเสริมอำนาจทางการเมือง
“นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2549 ดัชนีนี้ถือเป็นดัชนีที่มีการติดตามความคืบหน้าของความพยายามของหลายประเทศในการปิดช่องว่างเรื่องการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม”
สำหรับผลคะแนนช่องว่างทางเพศโลกในปี 2025 สำหรับเศรษฐกิจทั้ง 148 แห่งที่รวมอยู่ในดัชนีฉบับนี้อยู่ที่ 68.8% ซึ่งถือว่าการปฎิบัติเพื่อความเท่าเทียมดีขึ้นอย่างมากหรือแทบจะปิดช่องว่าดังกล่าวลงได้
เมื่อพิจารณาชุดค่าคงที่ของ 145 เศรษฐกิจที่รวมอยู่ในฉบับปีนี้และปีที่แล้ว พบว่าความเท่าเทียมทางเพศดีขึ้นสัดส่วนถึง 0.3% ในปี 2025 จาก 68.4% ในปี 2024 เป็น 68.8% ในปี 2025 ส่วนการพิจารณาชุดค่าคงที่ของ 100 เศรษฐกิจที่ครอบคลุมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ฉบับปี 2006 พบว่าช่องว่างลดลง 0.4% จาก 68.6% ในปี 2024 เป็น 69.0% ในปี 2025
“อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากความเร็วโดยรวมของความก้าวหน้าของ 100 เศรษฐกิจเหล่านี้ จะต้องใช้เวลา 123 ปีจึงจะบรรลุความเท่าเทียมอย่างสมบูรณ์ทั่วโลก”
สำหรับดัชนี Gender Gap ระดับโลกประจำปี 2025 แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีเศรษฐกิจใดที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศอย่างสมบูรณ์ แม้แต่ไอซ์แลนด์ อยู่ที่ 92.6% ยังคงเป็นผู้นำในดัชนี Gender Gap ระดับโลก โดยครองตำแหน่งสูงสุดเป็นเวลา 16 ปีติดต่อกัน และยังคงเป็นเศรษฐกิจเดียวที่ปิดช่องว่างทางเพศได้มากกว่า 90% ตั้งแต่ปี 2022
รายงานฉบับนี้ ชี้อีกว่าเศรษฐกิจ 10 อันดับแรกแต่ละแห่งปิดช่องว่างทางเพศได้อย่างน้อย 80% ทั้งหมดอยู่ในยุโรป ได้แก่ไอซ์แลนด์ 92.6% อันดับที่ 1, ฟินแลนด์ 87.9% อันดับที่ 2, นอร์เวย์ 86.3% อันดับที่ 3 และสวีเดน 81.7% อันดับที่ 6 ต่างก็ติดอันดับ 10 อันดับแรกอย่างต่อเนื่องในทุกครั้งนับตั้งแต่ปี 2006
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 2024 สหราชอาณาจักร 83.8% อันดับที่ 4 และสาธารณรัฐมอลโดวา 81.3% อันดับที่ 7 ขยับอันดับขึ้นจากปีที่แล้วจนติดอันดับ 10 อันดับแรก เยอรมนี 80.3% อันดับที่ 9 และไอร์แลนด์ 80.1% อันดับที่ 10 ก็ติดอันดับ 10 อันดับแรกในปีนี้เช่นกัน โดยถือเป็นครั้งที่ 7 และ 18 ตามลำดับนิวซีแลนด์ 82.7% อันดับที่ 5 และนามิเบีย 81.1% อันดับที่ 8 รั้งตำแหน่ง 2 อันดับสุดท้ายใน 10 อันดับแรกตั้งแต่ปี 2021
“เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว เศรษฐกิจที่มีรายได้สูงได้ปิดช่องว่างทางเพศไปแล้ว 74.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่สังเกตได้ในกลุ่มรายได้ต่ำเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 69.6% ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงบน 66.0% ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงล่าง และ 66.4% ในกลุ่มเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำ”
ในส่วนค่าวัดด้านอื่นๆพบว่า จาก 148 เศรษฐกิจที่ครอบคลุมในดัชนีปี 2025 ช่องว่างด้านสุขภาพและการอยู่รอดทางเพศได้ปิดลง 96.2% ช่องว่างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาปิดลง 95.1%ช่องว่างการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจปิดลง 61.0% และช่องว่างการเสริมอำนาจทางการเมืองปิดลง 22.9% จนถึงปัจจุบัน
ในดัชนีทั้ง 19 ฉบับ การเสริมอำนาจทางการเมืองได้เห็นการปรับปรุงมากที่สุด โดยช่องว่างลดลง 9.0 เปอร์เซ็นต์ จาก 14.3% ในปี 2006 เป็น 23.4% ในปี 2025
ความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในด้านความเท่าเทียมทางเพศนั้นสังเกตได้ในด้านการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจรวมถึงการเสริมอำนาจทางการเมือง อย่างไรก็ตามช่องว่างทั้งสองมิตินี้ยังคงมีอยู่สูงมาก ก็เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำงานเพื่อลดช่องทางและสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้ได้มากที่สุด